กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมทันตสุขภาพเด็กปฐมวัย (3-5 ปี) ด้วยวิธี smart technigue
รหัสโครงการ 62-L1487-1-3
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสุโสะ
วันที่อนุมัติ 28 ธันวาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2561 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 22,050.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางละออง ด้วงคง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสุโสะ อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.236,99.673place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาสุขภาพช่องปากของประชาชนไทยยังคงเป็นปัญหาสำคัญ โดยเฉพาะโรคฟันผุเป็นปัญหาที่เด่นชัด ซึ่งเมื่อไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที โรคจะลุกลามและสุญเสียฟันในที่สุด ส่งผลต่อพัฒนาการสุขภาพ การสบฟันตลอดจนการใช้ชีวิตประจำวัน ข้อมูลจากการสำรวจภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศ ครั้งที่ 7 ปี 2555 พบว่ากลุ่มเด็กอายุ 3 ปี มีฟันน้ำนมผุร้อยละ 51.7 ในขณะที่ภาคใต้พบว่าเด็ก 3 ปี มีอัตราการเกิดสูงสุดเมื่อเปรียบเทียบกับภาคอื่นๆ เป็นร้อยละ 61   สำหรับอำเภอปะเหลียนกลุ่มเด็ก 3 ปี มีฟันน้ำนมผุร้อยละ 59.69 และในเขตตำบลสุโสะกลุ่มเด็ก 3 ปี มีฟันน้ำนมผุร้อยละ 57.23 แม้ว่าภาวะปราศจากฟันผุจะลดลงอย่างต่อเนื่อง แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่ามีเด็กส่วนหนี่งที่เกิดภาวะฟันผุไปแล้วและรอการบูรณะก่อนที่จะลุกลามไปจนต้องสูญเสียฟันอยู่เป็นจำนวนมาก SMART หรือ Simplified Modified Atraumatic Restoration Technique เป็นเทคนิคการอุดฟันที่คิดค้นเพื่อใช้ในการบูรณะฟันในกรณีที่ไม่สามารถจัดบริการรักษาแบบปกติได้ และทันตบุคลากรไม่ต้องได้รับการฝึกฝนมากนัก เป็นการให้บริการทันตกรรมเชิงรุก สามารถดำเนินการในชุมชนได้โดยที่ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องมือที่ทันสมัย เทคนิคนี้ได้มีการพัฒนาวัสดุทางทันตกรรมที่ชื่อว่า กลาสไอโอโนเมอร์ ซีเมนต์ ที่มีคุณสมบัติที่ดีมีการปลดปล่อยฟลูออไรด์ในปริมาณที่สูง ซึ่งฟลูออไรด์ที่ปลดปล่อยออกมาก็มีคุณสมบัติในการต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย เพิ่มการคืนกลับของแร่ธาตุ มีความสำคัญต่อการควบคุมการเกิดฟันผุหรือป้องกันการเกิดฟันผุซ้ำจากการทบทวนของ Yip และ Smales   ดังนั้น เพื่อเป็นการแก้ปัญหาฟันผุเชิงรุกในกลุ่มเด็กปฐมวัย (3-5 ปี) และเป็นนโยบายของเครื่อข่ายบริการที่ 12 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสุโสะ จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมทันตสุขภาพเด็กปฐมวัย (3-5 ปี) ด้วยวิธี SMART TECHNIQUE ขึ้น เพื่อเป็นการเพิ่มการเข้าถึงบริการสุขภาพช่องปากและลดการสูญเสียฟันน้ำนมก่อนวัยอันควรของเด็กก่อนวัยเรียน และลดการสะสมเชื้อแบคทีเรียที่ส่งผลให้ฟันกรามถาวรผุในช่วงวัยเรียนได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มอัตราการเข้าถึงบริการสุขภาพช่องปากในกลุ่มเด็กปฐมวัย

เด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสามารถเข้าถึงบริการสุขภาพช่องปากมากขึ้น

100.00
2 เพื่อลดอัตราการสูญเสียฟันของเด็กปฐมวัยและลดปริมาณเชื้อแบคทีเรียในช่องปากที่ส่งผลให้เกิดฟันผุในฟันถาวรได้

เด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีอัตราการสูญเสียฟันจากการถอนฟันลดลง

100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 100 22,050.00 1 22,050.00
18 - 22 ก.ค. 62 กิจกรรมส่งเสริมทันตสุขภาพเด็กปฐมวัย (3-5ปี) ด้วยวิธี smart technigue 100 22,050.00 22,050.00
  1. จัดประชุมทีมงาน วางแผนงาน/โครงการ
  2. จัดทำโครงการเสนอเพื่อขออนุมัติดำเนินการ
  3. ประสานงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียน
  4. ตรวจสุขภาพช่องปากแก่เด็กในเด็กก่อนวัยเรียน
  5. จัดเตรียมสถานที่ในการทำโครงการ
  6. ให้บริการอุดฟันด้วยเทคนิคการอุดฟันโดยไม่ใช้เครื่องกรอฟัน (SMART) ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและ รร.อนุบาลในเขตรับผิดชอบของ รพ.สต.สุโสะ การประเมินผล 1.ประเมินผลจากการเข้ารับบริการอุดฟันด้วยเทคนิค (SMART) 2.ประเมินคุณภาพหลังการอุดฟันด้วยเทคนิค SMART
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสามารถเข้าถึงบริการสุขภาพช่องปากมากขึ้น
  2. เด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีอัตราการสูญเสียฟันจากการถอนฟันลดลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 ก.พ. 2562 10:49 น.