กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ วัยใส ไม่ซีด โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลชุมพล อ.สทิงพระ จ.สงขลา
รหัสโครงการ 60-L5238-01-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.ชุมพล
วันที่อนุมัติ 17 มีนาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 11 มกราคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 6,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางวรรณฤดีพฤกษศรี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลชุมพล อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.603,100.385place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ธาตุเหล็ก (Iron) เป็นธาตุอาหารสำคัญที่ร่างกายสร้างเองไม่ได้ จึงจำเป็นที่จะต้องได้จากอาหารอย่างเพียงพออาหารที่มีธาตุเหล็กสูง เช่น เนื้อสัตว์ อาหารทะเล ปลา เป็ด ไก่ ตับ ม้าม ไข่แดง อาหารเช้าซีเรียล (Cereal) หรือนมที่เสริมอาหารด้วยธาตุเหล็ก ในพืช เช่น ผักที่มีใบเขียวเข้มทุกชนิด เช่น ใบตำลึง ผักโขม ถั่วแดง ถั่วดำ ข้าวโอตธาตุเหล็กจะถูกดูดซึมในส่วนของลำไส้เล็ก ซึ่งธาตุเหล็กจากแหล่งอาหารที่มาจากสัตว์จะถูกดูดซึมได้ดีกว่าจากแหล่งอาหารที่มาจากพืช นอกจากนี้ ธาตุเหล็กยังดูดซึมได้ดีในภาวะที่น้ำย่อยอาหารมีความเป็นกรด วิตามินซี และอาหารที่มีวิตามินซีสูง จะช่วยเพิ่มการดูดซึมธาตุเหล็กด้วย แต่สารที่ลดการดูดซึมธาตุเหล็ก ได้แก่ยาบางชนิด สาร Tannin ในชาและกาแฟ เมื่อบริโภคในปริมาณสูงอาหารที่มีใยอาหารสูง และอาหารที่มีแคลเซียมสูง เมื่อดูดซึมแล้ว ส่วนหนึ่งจะถูกนำไปใช้งาน บางส่วนร่างกายจะสะสมใน ตับ ม้าม และ ไขกระดูก ทั้งนี้ ในภาวะปกติ ร่างกายจะกำจัดธาตุเหล็กส่วนเกินออกทางตับ (ทางน้ำ ดี) และทางไต (กำจัดออกทางปัสสาวะ แต่ในปริมาณน้อยมาก) หน้าที่ของธาตุเหล็ก ที่สำคัญที่สุด คือ เป็นส่วนประกอบของเม็ดเลือดแดง ซึ่งเป็นตัวนำออกซิเจนจากปอดไปสู่เซลล์ต่างๆทั่วร่างกาย เพื่อการทำงาน การใช้พลังงานของเซลล์ทุกๆเซลล์ของร่างกาย ธาตุเหล็กจึงมีความสำคัญต่อไขกระดูกในการสร้างเม็ดเลือดแดงเป็นอย่างมาก ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันต้านโรค ช่วยการเจริญเติบโตของเซลล์สมองในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความเข้าใจและความจำ ช่วยการทำงานของกล้ามเนื้อต่างๆ และเป็นส่วนประกอบของเอนไซม์ต่างๆในการสันดาปพลังงาน/นำพลังงานต่างๆไปใช้ดังนั้น เมื่อขาดธาตุเหล็ก จะเป็นสาเหตุหลักให้เกิดภาวะซีด หรือภาวะโลหิตจาง (โลหิตจางจากขาดธาตุเหล็ก) โรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญปัญหาหนึ่งของประเทศที่กำลังพัฒนา กระทรวงสาธารณสุข ได้ระบุไว้ในแผนงานอาหารและโภชนาการแห่งชาติมาตั้งแต่ฉบับแรก โดยมีความพยายามที่จะดำเนินการควบคุมป้องกันมาตลอด ได้จัดตั้งระบบเฝ้าระวังภาวะโลหิตจางในหญิงวัยเจริญพันธุ์ หญิงตั้งครรภ์ เด็กวัยก่อนเรียนและเด็กวัยเรียน เนื่องจากหญิงวัยเจริญพันธ์เป็นกลุ่มวัยที่มีความสำคัญและส่งผลต่อทารกและเด็กซึ่งเป็นเยาวชนของชาติ ซึ่งสารอาหารที่ทำให้เกิดภาวะโลหิตจาง ในหญิงตั้งครรภ์และพบได้บ่อยคือ การขาดธาตุเหล็กเพราะธาตุเหล็กเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการสังเคราะห์ฮีโมโกลบินทำหน้าที่จับกับออกซิเจนและส่งให้ทุกเซลล์ในร่างกาย จากการสำรวจสถานการณ์ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุ เหล็กในหญิงตั้งครรภ์ในพื้นที่รับผิดชอบ ในปีงบประมาณ 2559พบว่าหญิงตั้งครรภ์มีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กสูงถึงร้อยละ 46.15 (เป้าหมายกรมอนามัยกำหนดให้ไม่เกินร้อยละ 10) จากปัญหาดังกล่าวรพ.สต.ชุมพล จึงได้จัดทำโครงการแก้ไขภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในหญิงวัยเจริญพันธุ์โดยมุ่งเน้นให้ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาชุมชนด้วยตนเองอันจะก่อให้เกิดความยั่งยืนของโครงการต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. ลดภาวะซีดในหญิงวัยเจริญพันธุ์/หญิงตั้งครรภ์

1.ลดภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ไม่เกินร้อยละ 10
2.หญิงวัยเจริญพันธุ์มีความรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการบริโภคอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง เล็งเห็นความสำคัญของการรับประทานยาเสริมธาตุเหล็ก ร้อยละ 80

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. สำรวจกลุ่มเป้าหมาย
  2. ชี้แจงเจ้าหน้าที่และ อสม. 3.ประเมินความรู้ก่อนการอบรม. 4.อบรมให้ความรู้เรื่องความสำคัญของธาตุเหล็ก
    5.ประเมินความรู้หลังการอบรม 6.ดำเนินการเจาะเลือดเพื่อประเมินค่าฮีมาโตคริต (Hct.) 7.จ่ายยาเสริมธาตุเหล็ก 8.ติดตามและประเมินค่า ค่าฮีมาโตคริต (Hct.)ซ้ำ 9.สรุปผลการดำเนินงานโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

หญิงวัยเจริญพันธุ์ มีความรู้เกี่ยวกับ การเตรียมตัวการตั้งครรภ์ เลือกรับประทานอาหาร เพื่อป้องกันตนเองการขาดธาตุเหล็ก ส่งผลให้ทารกในครรภ์มีสุขภาพดีต่อไป

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 มี.ค. 2560 13:42 น.