กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์ส่งเสริมความรู้การป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในสถานศึกษาสำหรับเด็กวัย 4-12 ปี
รหัสโครงการ 62-L5200-2-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนเทศบาลตำบลนาทวี
วันที่อนุมัติ 31 มกราคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 31 มกราคม 2562 - 31 สิงหาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 37,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางพวงน้อย หมะสมาน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาทวี อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.693,100.777place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 502 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคติดต่อเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อโรคเข้าไปเพิ่มจำนวนในร่างกาย อาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นเป็นจากตัวเชื้อโรคเอง หรือพิษที่เชื้อโรคนั้นปล่อยออกมา เชื้อโรคจะติดต่อถ่ายทอดจากผู้ป่วยโดยตรงหรือโดยอ้อมไปสู่คนปกติ บางครั้ง เรียกว่า โรคติดเชื้อแทนคำว่า โรคติดต่อ สำหรับในเขตร้อน อากาศอบอุ่นจนถึงร้อนจัดตลอดปี และมีฝนตกชุก มีความชื้นสูง เป็นผลให้เชื้อโรคต่างๆ ชุกชุม เมื่อมีการติดต่อถ่ายทอดไปยังผู้อื่น ก็จะทำให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคมากขึ้น จึงต้องมีมาตรการควบคุมที่เคร่งครัด ชัดเจน และมีมาตรฐาน ในแต่ละปีรัฐบาลต้องเสียค่าใช้จ่ายเพื่อเป็นค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วย ที่เข้ารับการรักษาเกี่ยวกับโรคต่างๆ เช่น โรคไข้เลือดออก ไข้มาลาเรีย ไข้หวัดนก โรคซาร์ส โรคไข้หวัดใหญ่ โรคมือ เท้า ปากและโรคอื่นที่อุบัติใหม่ ฯลฯ เป็นต้น ทำให้เกิดการสูญเสียชีวิต และทรัพย์สินเป็นจำนวนมาก การแพร่ระบาดของโรคติดต่อมักมีโอกาสที่จะแพร่กระจายได้ง่ายและรวดเร็ว ผลกระทบที่ร้ายแรงคือการทำให้อวัยวะทุกส่วนในร่างกายล้มเหลว อาจถึงแก่ชีวิตได้ จากข้อมูลสุขภาพของชุมชน พบว่า สถานการณ์โรคติดเชื้อในชุมชนยังคงมีโรคที่ระบาดอยู่เป็นประจำทุกปี แม้ไม่มีอัตราป่วยตายก็ตาม แต่ผู้ป่วยก็จะได้รับความทุกข์ทรมานจากการเป็นโรคและสูญเสียค่าใช้จ่ายจากการรักษาพยาบาลเพิ่มขึ้น โดยระยะเวลา 5 ปีย้อนหลัง (ปี 2556-2559 และปี 2560 เฉพาะ ม.ค.-ก.ย.2560) พบอัตราป่วยด้วยโรคอุจจาระร่วงเป็นอันดับหนึ่งและมีแนวโน้มแพร่ระบาดทุกปี ได้แก่ 1,024.98 , 1,102.36 , 1,700.57 , 1,514.25 และ 1,179.64 ต่อแสนประชากรตามลำดับ , โรคไข้เลือดออก อัตราป่วย 256.25 , 0 , 333.44 , 801.66 และ 134.82 ต่อแสนประชากรตามลำดับ , โรคตาแดง อัตราป่วย 160.15 , 503.94 , 300.10 , 59.38 และ 33.70 ต่อแสนประชากรตามลำดับ , โรคอาหารเป็นพิษ อัตราป่วย 128.12 , 220.47 , 300.10 , 29.69 และ 33.70ต่อแสนประชากรตามลำดับ , โรคสุกใส อัตราป่วย 32.03 , 125.98 , 33.34 , 89.07 และ 33.70 , โรควัณโรค อัตราป่วย 64.06 , 31.50 , 66.69 , 29.69 , 0 , 0 ต่อแสนประชากรตามลำดับ รวมถึงในปี 2560 เกิดโรคมือเท้าปากขึ้นในโรงเรียน อัตราป่วย 29.69 ต่อแสนประชากร ซึ่งจากการระบาดของโรคดังกล่าวข้างต้น จะทำให้มีโอกาสเกิดโรคระบาดซ้ำอยู่ในปีถัดไป ซึ่งอาจมีปัจจัยของภัยสุขภาพอื่นๆ เข้ามาเกี่ยวข้องได้แก่ ขยะ มูลสัตว์ น้ำโสโครกที่ทำให้เกิดโรค เช่น ถังขยะไม่มีการเก็บที่มิดชิด เป็นแหล่งเพาะพันธุ์แมลงวัน สุนัขหรือแมวกัดกินอาหารและขยะตามถังเก็บขยะ, น้ำขังเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย เป็นต้น ดังนั้นจากปัญหาดังกล่าวข้างต้นหากมีการแก้ไข เร่งสร้างความตระหนักในการป้องกันโรค และสนับสนุนการมีส่วนร่วมในการกำจัดโรคอย่างเหมาะสม จะทำให้อัตราป่วยด้วยโรคติดต่อและผลกระทบด้านสุขภาพต่อนักเรียนในสถานศึกษาลดลง จึงจัดทำโครงการรณรงค์ส่งเสริมความรู้การป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในสถานศึกษา เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคติดต่อและส่งผลกระทบต่อสุขภาพและการดำเนินชีวิตของเด็กนักเรียนพร้อมทั้งส่งเสริมผู้ปกครองให้มีความรู้และป้องกันตนเอง รวมทั้งบุตรหลานไม่ให้ป่วยด้วยโรคติดต่อที่ป้องกันได้ พร้อมทั้งเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อที่สำคัญอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ครูและผู้ปกครอง มีความรู้ ความเข้าใจในการเฝ้าระวังและดูแลสุขภาพของเด็กนักเรียน เกี่ยวกับโรคที่มักเกิดขึ้นกับเด็กนักเรียนในสถานศึกษา

ร้อยละของผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจในการเฝ้าระวังและดูแลสุขภาพของเด็กนักเรียน เกี่ยวกับโรคที่มักเกิดขึ้นกับเด็กนักเรียนในสถานศึกษา ร้อยละ 90

0.00
2 เพื่อให้เด็กมีความรู้และทักษะในการดูแลตัวเองเบื้องต้นให้ปลอดภัยจากโรค

ร้อยละของเด็กมีความรู้และทักษะในการดูแลตัวเองเบื้องต้นให้ปลอดภัยจากโรค ร้อยละ 70

0.00
3 เพื่อส่งเสริมให้เด็กนักเรียน มีพัฒนาการด้านต่างๆ และมีการพัฒนาทักษะการเรียนรู้รอบด้าน

ร้อยละของเด็กก่อนวัยเรียน มีพัฒนาการด้านต่างๆ และมีการพัฒนาทักษะการเรียนรู้รอบด้าน ร้อยละ 70

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ดำเนินกิจกรรมในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561
  2. ให้ความรู้กับผู้ปกครองในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในสถานศึกษาสำหรับเด็กวัย 4-12 ปี เกี่ยวกับโรคที่มักเกิดขึ้นกับเด็กนักเรียน การดูแล เฝ้าระวัง รักษาโรค สุขภาพร่างกาย สุขภาพจิต โดยเชิญวิทยากรจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมและพัฒนาเด็กนักเรียน
  3. ครูประจำชั้นตรวจคัดกรองเด็กทุกคนก่อนเข้าห้องเรียน
  4. จัดกิจกรรม เสริมทักษะการดูแลตนเองให้ปลอดโรค ได้แก่ ทักษะการล้างมือ ทักษะการแปรงฟัน การเลือกกินอาหารที่ถูกต้อง
  5. พัฒนาสิ่งแวดล้อม ภายในสถานศึกษา ให้ปลอดภัย ปลอดโรค เช่น การกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือแหล่งเพาะพันธ์พาหะนำโรค ปรับปรุงห้องนอน ปรับปรุงสนามเด็กเล่น ปรับปรุงโรงครัว/โรงอาหาร ให้เหมาะสม
  6. สรุปผลร่วมกับผู้ปกครอง
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ครูและผู้ปกครอง มีความรู้ ความเข้าใจในการเฝ้าระวังและดูแลสุขภาพของเด็กนักเรียน เกี่ยวกับโรคที่มักเกิดขึ้นกับเด็กนักเรียน
  2. เด็กมีความรู้และทักษะในการดูแลตัวเองเบื้องต้นให้ปลอดภัยจากโรค
  3. เด็กนักเรียน มีพัฒนาการด้านต่างๆ และมีการพัฒนาทักษะการเรียนรู้รอบด้าน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 ก.พ. 2562 14:10 น.