กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าสะบ้า
วันที่อนุมัติ 10 มกราคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2562 - 30 มีนาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 เมษายน 2562
งบประมาณ 24,300.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าสะบ้า
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าสะบ้า อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.69,99.523place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ก.พ. 2562 30 มี.ค. 2562 24,300.00
รวมงบประมาณ 24,300.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1500 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในประเทศไทย โรคมะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่พบเป็นอันดับหนึ่งในสตรีไทย มีผู้ป่วยรายใหม่ประมาณปีละ 6,300 ราย พบมากที่สุดระหว่างอายุ 45-50 ปี ระยะที่พบส่วนใหญ่อยู่ในระยะลุกลาม อัตราการอยู่รอด 5 ปี ประมาณร้อยละ 60 จึงมีผู้ป่วยสะสมจำนวนมาก คาดประมาณว่าจะมีผู้ป่วยรายใหม่และรายเก่าที่ต้องติดตามทำการดูแลรักษาอยู่ไม่น้อยกว่า 60,000 คนทั่วประเทศ แต่อัตราการอยู่รอด 5 ปี จะดีขึ้นถ้าพบในระยะเริ่มแรก     ความสำคัญของมะเร็งปากมดลูกนั้น มี 3 ประการดังนี้สาเหตุการตายในผู้หญิงอันดับหนึ่งในประเทศไทยสถานการณ์ของโรคมะเร็งปากมดลูกเป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุขของโลก โดยเฉพาะในประเทศที่กำลังพัฒนาอย่างประเทศไทย และโรคมะเร็งปากมดลูกเป็นโรคมะเร็งที่พบอันดับหนึ่งในสตรีไทย มีผู้ป่วยรายใหม่ประมาณ ปี 6300 ราย พบมากที่สุดระหว่างอายุ 45-50 ปี ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขเองก็ได้มีนโยบายการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก เพื่อค้นหาและสามารถรักษาอย่างถูกวิธี โดยเน้นให้ประชาชนเข้าถึงบริการข้อมูลข่าวสารการใช้บริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกทั้ง 2 วิธี ( การตรวจแบบ VIA และวิธี Pap Smear ) จากเหตุเบื้องต้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าสะบ้าได้กำหนดการดำเนินงานโดย มุ่งเน้นความตระหนัก เข้าถึงบริการสะดวกพัฒนาระบบการเฝ้าระวังพร้อมทั้งสร้างความเข็มแข็งของระบบการสนับสนุน ซึ่งการดำเนินงานการป้องกันมะเร็งปากมดลูกในปีที่ผ่านมาพบประเด็นที่ต้องพัฒนาคือ ผลการดำเนินงานไม่บรรลุเป้าหมาย ดังสถานการณ์ในเบื้องต้น สาเหตุเนื่องจากกลุ่มเป้าหมายมีความกลัว ไม่ยอมรับความจริงถ้ารู้ว่าเป็นมะเร็ง และไม่ตระหนักเรียนรู้ในอันตรายของโรค ความอับอายที่จะมาตรวจกับเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ของตนเอง ในรายของการตรวจเอกชน ไม่สามารถเก็บความครอบคลุมได้ทุกราย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ขั้นเตรียมการ 1.1 ประชุมเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เพื่อค้นหาและเลือวิธีการใหม่ๆ ในการชักชวนกลุ่มเป้าหมายเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและกลุ่มสำรวจเป้าหมายที่อาศัยอยู่จริงในพื้นที่รับผิดชอบ 1.2. จัดประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แก่ อสม. และแกนนำครอบครัวกลุ่มเป้าหมายกับผู้ป่วยที่ป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกที่กำลังได้รับการรักษษอยู่ในขณะนี้ 1.3 แบ่งพื้นที่กลุ่มเป้าหมายในพื้นที่แก่ อสม. และแกนนำครอบครัว  เพื่อติดตาม แนะนำและนำส่งกลุ่มเป้าหมายเข้าตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม 1.4 แจ้งแผนการดำเนินงานและการรณรงค์ แก่ อสม. และแกนนำครอบครัว 1.5 ประชาสัมพันธ์โดยใช้ป้ายโครงการจำนวน 3 จุดและจัดทำเอกสารความรู้เรื่องมะเร็งปากมดลูก และกำหนดวันตรวจมะเร็งปากมดลูกใน PCUส่งกลุ่มเป้าหมายทุกคน 2.ขั้นดำเนินการ 2.1จัดอบรมเชิงปฎิบัติการการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกให้ความรู้กับกลุ่มเป้าหมายก่อนการตรวจและชี้แจงกำหนดการตรวจ 2 ครั้งในสถานบริการ 2.2 ให้บริการเชิงรุกแก่กลุ่มเป้าหมายที่ไม่สามารถเดินทางเข้ารับการตรวจในสถานบริการ 2 ครั้งได้ 2.3 ส่งแผ่น Slide ไปตรวจและอ่านผล จากโรงพยาบาลตรัง 2.4รับผลการตรวจจากโรงพยาบาลตรัง 2.5 ส่งต่อพบแพทย์เพื่อรับการรักษาที่ถูกต้องในรายที่ผิดปกติ 2.6แจ้งผลการตรวจรายบุคคลจากกลุ่มเป้าหมายที่เข้ารับการตรวจผลปกติ แนะตรวจปีละ1 ครั้งอย่างต่อเนื่อง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 ก.พ. 2562 15:09 น.