คัดแยกขยะในครัวเรือนของชุมชนต้นแบบตำบลสะอาดในการจัดการสุขภาพด้านสิ่งแวดล้อมโดยใช้ชุมชนเป็นฐานพัฒนา
ชื่อโครงการ | คัดแยกขยะในครัวเรือนของชุมชนต้นแบบตำบลสะอาดในการจัดการสุขภาพด้านสิ่งแวดล้อมโดยใช้ชุมชนเป็นฐานพัฒนา |
รหัสโครงการ | 60-L3027-02-03 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลเขาตูม |
วันที่อนุมัติ | 20 มีนาคม 2560 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 15 มีนาคม 2560 - 30 กันยายน 2560 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 108,500.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลเขาตูม อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.603,101.314place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มวัยทำงาน | 100 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
ปัจจุบันปัญหาเรื่องขยะนับว่า เป็นปัญหาสำคัญ คือ “ขยะล้นเมือง” ทั้งในระดับ ชุมชนและระดับประเทศ สาเหตุเนื่องมาจากประชากรในประเทศมีจำนวนมากขึ้น ชุมชนก็เพิ่มขึ้น สถานประกอบการต่างๆ มีมากขึ้น และสิ่งที่ตามมาอย่างเลี่ยงไม่ได้ก็คือขยะย่อมมีจำนวนมากขึ้นตามไปด้วยจนกระทั่ง การกำจัดขยะไม่สมดุลกับ การเพิ่มขึ้นของจำนวนขยะจึงมีขยะที่เหลือตกค้างรอการกำจัดอยู่เป็นจำนวนมากแม้จะมีพื้นที่ที่จัดไว้ เพื่อรองรับขยะแต่ก็ไม่เพียงพอกับ ปริมาณขยะที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว สร้างปัญหาเป็นอย่างมากต่อสภาพแวดล้อมเสื่อมโทรม เป็นมลพิษ ส่งกลิ่นเหม็น อันเกิดให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของบุคคล
จากการสำรวจของกรมควบคุมมลพิษพบว่า ทุกจังหวัดของไทยมีปัญหาวิกฤติเรื่องการจัดการขยะมูลฝอย โดย 20 อันดับแรกที่มีปัญหามากที่สุด ได้แก่ สงขลา สมุทรปราการ กาญจนบุรี นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี ราชบุรี เพชรบุรี แพร่ ปราจีนบุรี พระนครศรีอยุธยา ระนอง นครพนม ปัตตานี ฉะเชิงเทรา ร้อยเอ็ด ลพบุรี อ่างทอง ขอนแก่น บุรีรัมย์ และชุมพร ตามลำดับ ด้านอัตราการผลิตขยะต่อคนต่อวันพบว่า สูงขึ้นต่อเนื่องทุกปีจาก 1.03 กิโลกรัมต่อคนต่อวันในปี 2551 เป็น 1.15 กิโลกรัมต่อคนต่อวันในปี 2556 แต่หากคำนวณตามพื้นที่ที่เกิดขยะมูลฝอย พบว่า อัตราการเกิดขยะมูลฝอยกิโลกรัมต่อคนต่อวัน เป็นดังนี้ เทศบาลนคร เท่ากับ 1.89 เทศบาลเมือง 1.15 เทศบาลตำบล 1.02 เมืองพัทยา 3.90 และองค์กรบริหารส่วนตำบล 0.91
นโยบายผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี ได้ร่วมประชุมรับมอบนโยบายและแนวทางการขับเคลื่อนวาระปัตตานี 2560 ชี้แจงเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2560 ที่ผ่านมา ได้กำหนดประเด็นสำคัญในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์วาระปัตตานี 2560 จำนวน 12 วาระ ประกอบด้วย 1) ปัตตานีเมืองสะอาด2) สร้างวินัยจราจรและความปลอดภัยทางถนน3) ปัตตานีเมืองกีฬา4) การผลิตเกษตรอินทรีย์5) เพิ่มผลผลิตด้านการปศุสัตว์ 6)ฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ให้อ่าวปัตตานีและลุ่มน้ำสำคัญ7) พัฒนาเขตอุตสาหกรรมปัตตานี เพื่อรองรับยุทธศาสตร์เมืองต้นแบบ “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน”8) พัฒนาแหล่งน้ำและจัดระบบบริหารจัดการน้ำ 9) ช่วยเหลือผู้ยากไร้และด้อยโอกาส 10) พัฒนาประสิทธิภาพการบริการประชาชน 11) สร้างความเข้มแข็งของสังคมพหุวัฒนธรรม และ12)สร้างความเข้าใจร่วมกัน เพื่อให้เกิดสังคมสงบสุขจากนโยบายจะเห็นได้ว่า “ปัตตานีเมืองสะอาด” เป็นประเด็นแรกของประเด็นขับเคลื่อนยุทธศาสตร์วาระปัตตานี 2560 ได้
ตำบลเขาตูมก็ประสบปัญหาด้านขยะมูลฝอย โดยเฉพาะขยะจากบ้านเรือนหรือครัวเรือน อีกทั้งยังขาดการรณรงค์ในเรื่องของขยะน้อยมาก โดยเฉพาะหมู่ที่ 3 ชุมชนบ้านโสร่ง หลักจากมีมหาวิทยาลัยฟาฏอนีเกิดขึ้น ก็ส่งผลต่อการเกิดอาคาร บ้านเรือน ขึ้นมาใหม่จำนวนมาก สิ่งที่ตามมานั้นก็คือ ขยะมูลฝอยจำนวนมาก
ดังนั้น เพื่อเป็นการริเริ่มในการแก้ไขปัญหาเรื่องขยะของชุมชนขึ้น โดยจะริเริ่มจากขยะในบ้านเรือนหรือครัวเรือนโดยใช้ชุมชนเป็นฐานพัฒนาขึ้นมาก่อน โดยมีชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.)ตำบลเขาตูมทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงในการขับเคลื่อนงาน เพื่อให้เกิดการคัดแยกขยะในบ้านเรือนหรือครัวเรือนแล้วยังเป็นการจัดการกับสิ่งแวดล้อมในชุมชนอีกทางหนึ่งด้วย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อส่งเสริมให้เกิดการคัดแยกขยะในครัวเรือน ร้อยละ 80 จากกลุ่มเป้าหมายสามารถดำเนินการคัดแยกขยะอย่างมีประสิทธิภาพ |
||
2 | เพื่อส่งเสริมให้เกิดครัวเรือนคัดแยกขยะเป็นต้นแบบ ร้อยละ 10 จากกลุ่มเป้าหมายสามารถดำเนินการคัดแยกขยะครัวเรือนคัดแยกขยะเป็นต้นแบบ |
||
3 | เพื่อลดปริมาณขยะที่ไม่ได้รับการคัดแยกจากครัวเรือน“บ้านสะอาด” ร้อยละ 80 จากกลุ่มเป้าหมายสามารถลดปริมาณขยะที่ไม่ได้รับการคัดแยกจากครัวเรือน “บ้านสะอาด” |
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
- จัดประชุมเพื่อแต่งตั้งคณะกรรมดำเนินงานโครงการฯ และการวางแผนการดำเนินงาน
- จัดประชุมครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการเพื่อชี้แจง รูปแบบ แนวทาง การพัฒนาการคัดแยกขยะ
- ปฏิบัติการดำเนินงานการคัดแยกขยะในครัวเรือน โดยคณะกรรมการลงพื้นที่ตรวจ ติดตาม ประเมินผลการปฏิบัติการดำเนินงานการคัดแยกขยะในครัวเรือน
- เวทีแสดงผลงานการปฏิบัติการดำเนินงานการคัดแยกขยะในครัวเรือนและสรุปถอดบทเรียน
1) ทำให้เกิดบ้านเรือนหรือครอบครัวสะอาดเป็นระเบียบในกำจัดขยะในครัวเรือน
2) ช่วยลดประมาณขยะมูลฝอยในชุมชนสู่สภาพแวดล้อมที่ดี ไร้โรค
3) มีกลไกระดับชุมชนในรูปคณะกรรมดำเนินงานเรื่องการคัดแยกขยะของชุมชน
4) เกิดบ้านเรือนหรือครัวเรือนที่มีการคัดแยกขยะในบ้านเรือนหรือครัวเรือนเป็นแบบอย่างหรือต้นแบบ
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 มี.ค. 2560 10:03 น.