กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการฝึกอบรมการคัดแยกขยะจากครัวเรือนโดยกิจกรรม ๓Rs
รหัสโครงการ 02/1/2562
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลลำภู
วันที่อนุมัติ 12 กุมภาพันธ์ 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2562 - 31 มีนาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2562
งบประมาณ 48,580.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ องค์การบริหารส่วนตำบลลำภู
พี่เลี้ยงโครงการ องค์การบริหารส่วนตำบลลำภู
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลลำภู อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.379,101.819place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การพัฒนาของประเทศไทยที่ผ่านมา ได้เน้นการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม และโครงสร้างพื้นฐานเป็นสำคัญ ซึ่งสภาพทางสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วแสดงให้เห็นถึงปัญหาทางสังคมต่าง ๆ มากมาย อาทิเช่น ผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาขยะมูลฝอยที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ  ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากการขาดระบบการจัดการที่ดี การขาดพื้นที่รองรับปริมาณขยะ รวมถึงการขาดจิตสำนึก  ทำให้พฤติกรรมการทิ้งขยะไม่มีการคัดแยกก่อนทิ้ง ไม่มีการนำขยะมาใช้ประโยชน์ใหม่ โดยปัจจุบันสถานการณ์ขยะมูลฝอยชุมชนตำบลลำภู มีอัตราเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีปริมาณขยะที่เกิดขึ้นประมาณ ๖ ตันต่อวัน คิดเป็นอัตราการเกิดขยะ ๐.๕ กิโลกรัมต่อคนต่อวัน และมีค่าใช้จ่ายในการกำจัดขยะต่อเดือนอยู่ที่ ๑๓๐,๐๐๐ บาท

โดยพบว่าเดิมพื้นที่ที่มีปริมาณขยะเป็นจำนวนมาก คือ พื้นที่หมู่ที่ ๘ ,๑๐ ,๑๑ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีลักษณะเป็นเขตชุมชนเมือง มีการขยายตัวของประชากรสูง มีบ้านเรือนอาศัยหนาแน่นและ มีความเจริญทางด้านเศรษฐกิจและสังคม องค์การบริหารส่วนตำบลลำภูจึงได้จัดทำโครงการฝึกอบรมการคัดแยกขยะจากครัวเรือนโดยกิจกรรม ๓Rs ในปีงบประมาณ 2561 เพื่อเป็นการนำร่องในการคัดแยกขยะต้นทางใน 3 หมู่บ้าน (หมู่ที่ 8 บ้านปลักปลา หมู่ที่ 10 บ้านทุเรียนนก และหมู่ที่ 11 บ้านบาโง) เพื่อสะท้อนปัญหา และชี้ให้คนในชุมชนได้เห็นว่าปัญหาขยะมูลฝอยในพื้นที่ดังกล่าวเป็นปัญหาที่เกิดและสั่งสมมาเป็นระยะเวลานานจนปัจจุบันยังก่อให้เกิดเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายที่ทำให้มีการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในอัตราที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องอีกด้วย และพบว่าหลังจากการดำเนินโครงการฯ เสร็จสิ้นไปแล้วนั้น ปริมาณขยะมูลฝอยที่องค์การบริหารส่วนตำบลลำภูได้ดำเนินการจัดเก็บโดยรถขยะ ในหมู่ที่ 8, 10, 11 มีปริมาณลดลง จึงเห็นว่าวิธีการที่จะแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยเพื่อให้เกิดความยั่งยืนมากที่สุดคือ การส่งเสริมการคัดแยกขยะมูลฝอยตั้งแต่ต้นทางจากครัวเรือน โดยมุ่งเน้นการใช้หลักการ ๓Rs นั่นคือ จะต้องดำเนินการ
๑.การลดปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้น (Reduce)
๒.การนำกลับมาใช้ซ้ำ (Reuse)
๓.การแปรรูปกลับมาใช้ใหม่ (Recycle)
โดยกระบวนการ ๓Rs จะไม่ประสบความสำเร็จหากไม่มีการคัดแยกมูลฝอยอย่างถูกต้อง และถูกวิธีภายใต้ระเบียบแบบแผนเดียวกันของทั้งชุมชน องค์การบริหารส่วนตำบลลำภูในฐานะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ทำหน้าที่ในการจัดบริการสาธารณะและมีหน้าที่โดยตรงในการกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลในพื้นที่ตลอดจนดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตาม พรบ. สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.๒๕๓๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๓ พ.ศ.๒๕๔๒) กอปรกับรัฐบาลได้กำหนดให้ปัญหาขยะมูลฝอยเป็นวาระแห่งชาติ และมีการกำหนดแผนในการบริหารจัดการขยะมูลฝอยและแผนปฏิบัติการ “ ประเทศไทย ไร้ขยะ” ตามแนวทาง “ประชารัฐ” เพื่อเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่การเป็นสังคมปลอดขยะ (Zero Waste Society) จึงได้ต่อยอดในการดำเนินกิจกรรมการให้ความรู้การคัดแยกขยะในหมู่ที่ ๑, ๒, ๔, และ ๙ ตามโครงการฝึกอบรมการคัดแยกขยะจากครัวเรือนโดยกิจกรรม ๓Rs โดยขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลลำภู

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้และเข้าใจการคัดแยกขยะมูลฝอยในครัวเรือนได้อย่างถูกวิธีและสามารถถ่ายทอดความรู้ให้คนในชุมชนได้

ประชาชนมีความรู้และเข้าใจการคัดแยกขยะมูลฝอยในครัวเรือนได้อย่างถูกวิธีและสามารถถ่ายทอดความรู้ให้คนในชุมชนได้

0.00
2 เพื่อลดปริมาณขยะมูลฝอยในพื้นที่

 

0.00
3 เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์พาหะนำโรคติดต่อมาสู่ชุมชนที่เกิดจากปัญหาขยะมูลฝอยตกค้าง

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นเตรียมการ

๑. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ลำภู

๒. จัดตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการการฝึกอบรมการคัดแยกขยะจากครัวเรือนโดยกิจกรรม ๓Rs ที่ประกอบด้วย ผู้บริหาร/พนักงาน อบต.ลำภู ,ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำตำบลลำภู, เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล, กำนัน - ผู้ใหญ่บ้าน, สมาชิกสภา อบต.ลำภู , ประธาน อสม., บัณฑิตประจำหมู่บ้าน ,และ อีหม่าม ในหมู่ที่ ๑, ๒, ๔ และหมู่ที่ 9 จำนวน 4๐ คน

๓. ประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการฯ เพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์ของโครงการ แนวทางการดำเนินงาน และมอบหมายงาน ครั้งที่ ๑ เดือน มีนาคม ๒๕๖2 ณ ห้องประชุมที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลลำภู

๔. เก็บข้อมูลชุมชนเพื่อทำการสำรวจและวิเคราะห์ข้อมูลการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือน

ขั้นดำเนินการ

๑. จัดกิจกรรมฝึกอบรมการคัดแยกขยะในครัวเรือนให้กับครัวเรือนนำร่อง 4 หมู่บ้าน 4 รุ่น ๆ ละ ๑ วัน  แยกเป็น หมู่ที่ 1 จำนวน 50 คน ณ ศาลาเอนกประสงค์ หมู่ที่ ๑ บ้านคลองไทร
หมู่ที่ 2 จำนวน 50 คน ณ อาคารชมรมผู้สูงอายุ วัดลำภู หมู่ที่ 4 จำนวน 50 คน ณ วัดโคกโก หมู่ที่ 9 จำนวน 50 คน ณ อาคารเอนกประสงค์ หมู่ที่ ๙ บ้านทุ่งงาย โดย นายนัศรุนดี เจะแน ผอ.กองสาธารณสุข อบต.โคกเคียน

๒. กิจกรรมสาธิตสิ่งประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้ เพื่อการหมุนเวียนของที่ยังใช้ประโยชน์ให้ได้กลับมาใช้ใหม่อีกครั้ง

๓. สาธิตการทำถังขยะอินทรีย์ในครัวเรือน ณ บ้านผู้นำชุมชน

๔. ประชาสัมพันธ์จุดทิ้งขยะอันตราย

๕. สร้างศูนย์การเรียนรู้การทำถังขยะอินทรีย์ในครัวเรือน

ขั้นสรุปผล
๑. ประชุมคณะทำงานเพื่อสรุปและประเมินผลการดำเนินโครงการหลังจากเสร็จสิ้นกระบวนการอบรมตามหลักสูตรโดยใช้แบบประเมินความรู้ความเข้าใจ ครั้งที่ ๒ เดือน มีนาคม 2562 ณ ห้องประชุมที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลลำภู

๒. เปรียบเทียบปริมาณขยะในพื้นที่หลังการเสร็จสิ้นโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑ ประชาชนในพื้นที่ตำบลลำภูมีความรู้ความเข้าใจในการคัดแยกขยะมูลฝอย และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการคัดแยกขยะมูลฝอยอย่างถูกต้อง

๒ สามารถลดปริมาณขยะมูลฝอยในระบบได้ ร้อยละ ๕ ในพื้นที่ตำบลลำภู

๓ ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงที่เป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออก และโรคชิคุนกุนยาในพื้นที่ตำบลลำภูได้

๔ ลดอัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก และโรคชิคุนกุนยาให้แก่ประชาชนในพื้นที่ตำบลลำภู

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 12 ก.พ. 2562 11:49 น.