กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการโรงเรียนบ้านกาแลสะนอปลอดขยะ
รหัสโครงการ 62-L3028-2-1
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านกาแลสะนอ
วันที่อนุมัติ 24 มกราคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2562 - 31 สิงหาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 5,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอับดุลเลาะ เจะโมง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองใหม่ อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.735,101.262place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ , แผนงานความปลอดภัยทางถนน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องได้รับการดูแลแก้ไข โดยเฉพาะขยะที่มีปริมาณเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว โรงเรียนก็เจอกับปัญหาขยะ ทำให้สภาพสิ่งแวดล้อมไม่ดี ไม่สะอาด และอาจเป็นแหล่งเพาะพันธ์ยุง และเชื้อโรคต่างๆ เช่นโรคไข้เลือดออก โรคทางผิวหนัง โรคทางเดินอาหาร การหายใจจากการสูดดมกลิ่นขยะ ฝุ่นละออง สาเหตุและที่มาของขยะ เกิดจากความมักง่ายและขาดจิตสำนึก ถึงผลเสียที่จะเกิดขึ้น เป็นสาเหตุที่พบบ่อยมาก ซึ่งจะเห็นได้จากการทิ้งขยะลงตามพื้นหรือแหล่งน้ำโดยไม่ทิ้งลงในถังรองรับที่จัดไว้ให้ หรือแม้กระทั่งการซื้อของการใช้สิ่งของของนักเรียนเช่น ขนม กระดาษ แก้วน้ำ ขวดน้ำ โดยใส่ถุงพลาสติกหลายๆถุง ทำให้มีขยะเพิ่มในปริมาณมากสถานศึกษาเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญยิ่งในการปูพื้นฐาน และปลูกฝังให้นักเรียนมีจิตสำนึกมีจิตสาธารณะรักและหวงแหนธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมของตนเองรู้จักการคัดแยกขยะสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปเผยแพร่ต่อชุมชนเพื่อประสานความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนและชุมชนให้มีความเข้มแข็งและยั่งยืน ตามที่สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ร่วมมือกับกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดำเนินงานโครงการปลอดขยะ (Zero Waste School) เพื่อเผยแพร่แก่โรงเรียนและชุมชนให้เกิดโรงเรียนและชุมชนปลอดขยะ โรงเรียนบ้านกาแลสะนอได้รับคัดเลือกเป็นโรงเรียนปลอดขยะ เพื่อส่งเสริม สนับสนุนการสร้างเครือข่ายสถานศึกษา ที่ดำเนินกิจกรรม ลด คัดแยก และนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ การรวบรวมขยะเพื่อส่งไปกำจัดอย่างถูกต้อง ปลูกจิตสำนึกการลด คัดแยก และนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ในสถานศึกษา สร้างระบบการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมต่างๆ และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้เรียนในการจัดการขยะภายในสถานศึกษา ปลูกฝังลักษณะนิสัยรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมแก่ผู้เรียน เพื่อมุ่งสู่สถานศึกษาปลอดขยะอย่างแท้จริง และขยายผลต่อจนกลายเป็นสังคมรีไซเคิลต่อไป โรงเรียนบ้านกาแลสะนอ เล็งเห็นความสำคัญของการรักษาความสะอาด จึงดำเนินการโครงงานขยะอินทรีย์ จากเศษอาหาร ใบไม้ นำมาทำปุ๋ยชีวภาพ หรือทำปุ๋ยคอนโด ในโครงการโรงเรียนบ้านกาแลสะนอปลอดขยะ Zero Waste Kalaesanor School ขึ้น เพื่อเป็นการกระตุ้นและส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนตระหนักถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อเป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับการนำเศษอาหารมาทำปุ๋ยชีวภาพเพื่อลดปริมาณขยะอินทรีย์

 

0.00
2 2. เพื่อส่งเสริมการใช้ปุ๋ยหมักแทนการใช้ปุ๋ยเคมีเป็นการรักษาคุณภาพดินและสิ่งแวดล้อม

 

0.00
3 3. เพื่อลดปริมาณขยะที่ตกค้างทุกประเภทให้เหลือน้อยที่สุด

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 5,000.00 0 0.00
12 ก.พ. 62 6. สรุป/ประเมินผลการดำเนินงาน 0 0.00 -
1 มี.ค. 62 - 31 ส.ค. 62 1. จัดทำโครงการเสนอเพื่อขออนุมัติดำเนินการ 0 0.00 -
1 มี.ค. 62 - 31 ส.ค. 62 2. ประสานงานสาธารณสุขอำเภอถ่ายทอดความรู้อันตรายจากขยะพิษในสถานศึกษา ชุมชน และวิธีการคัดแยกขยะอันตรายให้ปลอดภัย 0 0.00 -
1 มี.ค. 62 - 31 ส.ค. 62 3. ประสานงานเกษตรอำเภอถ่ายทอดความรู้การให้การอบรมทำน้ำหมักชีวภาพ และปุ๋ยชีวภาพ 0 0.00 -
1 มี.ค. 62 - 31 ส.ค. 62 4. ประสานงานผู้นำชุมชนให้ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนผู้สนใจร่วมฝึกอบรมน้ำหมักชีวภาพ ปุ๋ยชีวภาพ และการคัดแยกขยะอันตราย 0 500.00 -
1 มี.ค. 62 - 31 ส.ค. 62 5. ดำเนินการทำปุ๋ยคอนโตและฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ 0 4,500.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนได้รับความรู้เกี่ยวกับการนำเศษอาหารมาทำปุ๋ยชีวภาพเพื่อลดปริมาณขยะอินทรีย์
    1. ส่งเสริมการใช้ปุ๋ยหมักแทนการใช้ปุ๋ยเคมีเป็นการรักษาคุณภาพดินและสิ่งแวดล้อม
    2. ลดปริมาณขยะที่ตกค้างทุกประเภทให้เหลือน้อยที่สุด
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 12 ก.พ. 2562 12:04 น.