กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมคุณค่าผู้สูงอายุ สุขภาพจิตดี สุขภาพกายแข็งแรง
รหัสโครงการ 62-L1529-2-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาครอบครัวตำบลท่างิ้ว
วันที่อนุมัติ 5 กุมภาพันธ์ 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2562 - 31 สิงหาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 62,450.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสมหมาย แก้วละเอียด
พี่เลี้ยงโครงการ นายสันติสุข หวังสุข
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่างิ้ว อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.845,99.651place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 พ.ค. 2562 31 ส.ค. 2562 62,450.00
รวมงบประมาณ 62,450.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 10 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

ระบุ

กลุ่มผู้สูงอายุ 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนบุคคลในครอบครัวที่มีความรู้ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติต่อผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแล (คน)
40.00
2 จำนวนผู้สูงอายุที่ได้รับการคัดกรองแล้วมีภาวะซึมเศร้าและกังวล(คน)
40.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ครอบครัว เป็นหน่วยพื้นฐานที่เล็กและสำคัญที่สุด ทำหน้าที่หล่อหลอมและขัดเกลาความเป็นมนุษย์ให้แก่สมาชิกของครอบครัว ด้วยการอบรมเลี้ยงดู ให้ความรัก ความเอื้ออาทร ความช่วยเหลือเกื้อกูลกัน พร้อมทั้งปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และถ่ายทอดวัฒนธรรมของสังคมให้แก่สมาชิกในครอบครัว เพื่อให้เป็นบุคคลที่มีคุณภาพ มีความพร้อมที่จะทำงานอย่างเต็มที่และสร้างสรรค์ สังคมจะเข้มแข็ง หรืออ่อนแอล้วนขึ้นอยู่กับความเข้มแข็งของครอบครัว หากครอบครัวอ่อนแอ สังคมย่อมเคลื่อนไปได้อย่างลำบาก หากครอบครัวที่มีความเข้มแข็งย่อมส่งผลต่อพลังสร้างสรรค์เรื่องราวดี ๆ ของสมาชิกในครอบครัว เป็นพลังสำคัญในการพัฒนาสังคมและประเทศชาติต่อไป โดยในปัจจุบันครอบครัวไทยมีการเปลี่ยนแปลงจากลักษณะครอบครัวขยายมาเป็นครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า ครอบครัวขยายที่มีปู่ย่าตายายและเครือญาติอื่น ๆ อยู่ภายในครอบครัวลดลง ในขณะเดียวกันครอบครัวเดี่ยวที่มีพ่อ แม่ และลูก เพิ่มขึ้น จากการเปลี่ยนแปลงลักษณะของครอบครัวดังกล่าว ส่งผลให้ผู้สูงอายุต้องอยู่ตามลำพังคนเดียวหรืออยู่ตามลำพังกับคู่สมรสเพิ่มมากขึ้น ทำให้ผู้สูงอายุดังกล่าวไม่ได้รับการดูแลเท่าที่ควร โดยเฉพาะผู้สูงอายุในชนบทจำนวนมากที่ถูกทอดทิ้งให้รับภาระเลี้ยงดูหลาน เนื่องจากพ่อแม่ไปประกอบอาชีพต่างถิ่น ทำให้ผู้สูงอายุที่อยู่ในวัยควรจะได้พักผ่อน
ต้องรับผิดชอบดูแลเด็กที่ยังช่วยตนเองไม่ได้ ในขณะเดียวกันผู้สูงอายุเองก็ต้องได้รับการดูแลเช่นเดียวกัน ครอบครัวจึงมีความสำคัญอย่างมากสำหรับผู้สูงอายุ เป็นสิ่งที่ผู้สูงอายุต้องการมากที่สุด โดยที่ครอบครัวไม่ควรปล่อยให้ผู้สูงอายุต้องอยู่ตามลำพัง หรืออยู่ตามลำพังกับคู่สมรส แต่ควรดูแลผู้สูงอายุอย่างใกล้ชิด และเป็นครอบครัวเดียวกัน การเข้าค่ายครอบครัวเป็นกระบวนการเริ่มต้นสู่การเสริมสร้างพลังรักของครอบครัว
การเปิดพื้นที่สร้างสรรค์ที่สร้างโอกาสให้สมาชิกในครอบครัวได้พูดคุย รับฟังความคิดของกันและกัน
ได้ทำกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์ร่วมกัน และได้นำสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับบริบทของครอบครัว การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไม่ใช้ความรุนแรงในครอบครัว และการมีจิตสานึกที่ดีในการเป็นสมาชิกในชุมชน ศูนย์พัฒนาครอบครัวตำบลท่างิ้ว อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง จึงได้จัดทำโครงการ
“ส่งเสริมคุณค่าผู้สูงอายุ สุขภาพจิตดี สุขภาพกายแข็งแรง” ขึ้นเพื่อให้ผู้สูงอายุและสมาชิกในครอบครัว
มีความรู้ในการดูแลสุขภาพกายและสุขภาพใจของผู้สูงอายุ รู้วิธีป้องกันโรคและอาการของโรคที่มักเกิดกับผู้สูงอายุ รู้บทบาทหน้าที่ของสมาชิกครอบครัวที่มีต่อการดูแลผู้สูงอายุ รู้วิธีเฝ้าระวังและจัดพื้นที่ปลอดภัยให้กับผู้สูงอายุสมาชิกในครอบครัวมีการสื่อสารที่เหมาะสมระหว่างคนต่างวัย พร้อมทำกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์ร่วมกัน และมีการศึกษาดูงานการดำเนินงานศูนย์พัฒนาครอบครัวและโรงเรียนผู้สูงอายุที่เคยได้รับรางวัลดีเด่นระดับจังหวัด เพื่อนำความรู้มาปรับใช้และพัฒนาการดำเนินงานในพื้นที่ อันจะส่งผลให้ครอบครัวมีความอบอุ่นเข้มแข็ง เมื่อมีครอบครัวที่มีความสุขมากขึ้นก็จะส่งผลให้เกิดชุมชน สังคมที่เข้มแข็งและความสุขต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาผู้สูงอายุที่มีภาวะแทรกซ้อนจากโรคเรื้อรัง

จำนวนบุคคลในครอบครัวที่มีความรู้ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติต่อผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแล (คน)

40.00 40.00
2 เพื่อจัดบริการดูแลระยะยาวผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง

จำนวนบุคคลในครอบครัวที่มีความรู้ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติต่อผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแล (คน)

40.00 40.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 62,450.00 1 62,450.00
12 ก.พ. 62 อบรมให้ความรู้ 0 62,450.00 62,450.00

ขั้นเตรียมการ
1. ประชุมคณะกรรมการศูนย์พัฒนาครอบครัวตำบลท่างิ้ว 2. จัดทำแผนปฏิบัติการตามโครงการ 3. เสนอโครงการต่อคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเพื่อพิจารณาอนุมัติ

ขั้นดำเนินการ 1. จัดอบรมให้ความรู้กับผู้สูงอายุและครอบครัวที่เข้าร่วมโครงการ ในหัวข้อ - การดูแลผู้สูงอายุ (สุขภาพกายและสุขภาพใจ) - โรคและอาการของโรคที่มักเกิดกับผู้สูงอายุ
  - การเสริมสร้างการมีคุณค่าให้แก่ผู้สูงอายุ - บทบาทหน้าที่ของสมาชิกครอบครัวที่มีต่อการดูแลผู้สูงอายุ   - กิจกรรมเสริมสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัว - กฎหมายและสิทธิสวัสดิการที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ - การสำรวจและจัดพื้นที่ปลอดภัยให้กับผู้สูงอายุในครอบครัว - กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานด้านการส่งเสริมและพัฒนาสุขภาพผู้สูงอายุและ ครอบครัวของศูนย์พัฒนาครอบครัวและโรงเรียนผู้สูงอายุตำบลไสไทย ณ องค์การบริหารส่วน ตำบลไสไทย อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ 2. ถอดบทเรียน แบ่งปันความประทับใจ 3. จัดทำแบบประเมินความพึงพอใจ 4. สรุปผลการดำเนินงานและรายงานผล

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้สูงอายุมีสุขภาพดีจิตใจแจ่มใส ลดภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ
  2. เกิดความรักความเข้าใจมากขึ้นในครอบครัว ผู้สูงอายุได้รับการดูแลที่ดี ได้รับการเอาใจใส่
  3. ผู้สูงอายุสามารถนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวัน
  4. มีเวทีในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านครอบครัว คนในครอบครัวมีความรู้ความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของตนเองมากขึ้น
  5. เกิดความรัก ความสามัคคี มีการเอื้ออาทรในชุมชน
  6. คณะทำงาน ศพค. และแกนนำผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการได้นำความรู้ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากตำบลไสไทย มาพัฒนาการทำงานในพื้นที่
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 12 ก.พ. 2562 14:34 น.