กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชาวบ้านบางขุนทองร่วมใจ ขจัดภัยจากยุงลาย
รหัสโครงการ 62-L2484-2-09
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลบางขุนทอง
วันที่อนุมัติ 11 กุมภาพันธ์ 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 18,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางประนอม พรมเจียม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบางขุนทอง อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.234,101.967place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ม.ค. 2562 30 ก.ย. 2562 18,400.00
รวมงบประมาณ 18,400.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ปี 2560 ต่อแสนประชากร
173.71

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสถานการณ์โรคในเขตตำบลบางขุนทองในปี 2556 - 2561 พบผู้ป่วยด้วยกลุ่มโรคไข้เลือดออกจำนวน 7, 10, 1, 4, 9 และ 0 รายตามลำดับ คิดเป็นอัตรา 167.46, 236.41, 43.06, 173.71 และ 0 ต่อแสนประชากรตามลำดับ ตำบลบางขุนทองมีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปีงบประมาณ 2553 จนถึงปี 2559 แม้ในปัจจุบันปี 2561 จะไม่มีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่แต่พื้นที่ตำบลอื่นๆที่รายล้อมก็มีผู้ป่วยทุกปี และยังมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นและจากการเดินทางที่สะดวกสบายและรวดเร็วการที่ประชาชนไปมาหาสู่กันอย่างต่อเนื่อง ดรคไข้เลือดออกยังเป็นปัญหาหนึ่งของตำบลบางขุนทอง เพื่อการป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ได้ผลและมีประสิทธิภาพนั้นจำเป็นจะต้องร่วมมือกันทุกๆฝ่ายทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน โรงเรียน อาสาสมัครสาธารณสุขและประชาชนในพื้นที่ ร่วมบูรณาการกันป้องกันควบคุมและเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกตลอดเวลา เช้น การกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ลูกนำ้ยุงลาย สุ่มสำรวจลูกนำ้ความชุกลูกนำ้ยุงลาย ใส่ทรายฆ่าลูกนำ้ยุงลาย รณรงค์ให้ประชาชนเกิดความตื่นตัวในการกำจัดขยะ การป้องกันและควบคุมโรค สร้างแรงจูงใจในการดำเนินงานในพื้นที่ตำบลบางขุนทองต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยกลุ่มโรคไข้เลือดออก

อัตราป่วยด้วยกลุ่มโรคไข้เลือดออกไม่เกิน 50 ต่อประชากรแสนคน

0.00
2 เพื่อให้ประชาชนทราบวิธีการกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ลูกนำ้ยุงลาย

มีกิจกรรมสำรวจลูกนำ้ทุกบ้านอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง/หมู่

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อลดอัตราป่วยด้วยกลุ่มโรคไข้เลือดออก

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : เพื่อให้ประชาชนทราบวิธีการกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ลูกนำ้ยุงลาย

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

14 ก.พ. 62 กิจกรรมป้องกันและเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออก 18,400.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

วิธีการดำเนินงาน การดำเนินงานเฝ้าระวังโรค 1.จัดทำโครงการและเสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ 2.ประชุมชี้แจงโครงการแก่อาสาสมัครสาธารณสุข ผู้นำชุมชน 3.ประชาสัมพันธ์โครงการโดย อสม. ตามเขตรับผิดชอบ 4.ดำเนินกิจกรรมโครงการ - สำรวจลูกนำ้ยุงลายบริเวณบ้านโดยอาสามัครสาธารณสุขในเขตรับผิดชอบร่วมกับเจ้าของบ้านอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง/หมู่ - ประชาสัมพันธ์การทำลายแหล่งเพาะพันธ์ุลูกนำ้ยุงลายทุกวันศุกร์ของสัปดาห์ที่ 1 และ 2ของทุกเดือน -จัดกิจกรรมรณรงค์ป้องกันโรคในชุมชน ได้แก่ การสาธิตการคัดแยกขยะในชุมชน การให้ความรู้วิธีการคัดแยกขยะพ่นหมอกควันและพ่นสเปรย์กำจัดยุงลาย ทรายอะเบทให้แก่ครัวเรือนที่มีผู้ป่วยและครัวเรือนใกล้เคียงเพื่อควบคุมโรคเบื้องต้น -จัดกิจกรรมทำลายแหล่งเพาะพันธ์ุยุงลาย คัดแยกขยะและกำจัดขยะตามเขตรับผิดชอบของ อสม. แต่ละคน 2 เดือน/ครั้ง -จัดตั้งครอบครัวต้นแบบการจัดการขยะแบบครบวงจร (ภายใต้หลักเกณฑ์มีการคัดแยกขยะอย่างครบถ้วนวงจรไม่มีแหล่งเพาะพันธ์ุยุงในบ้านและบริเวณบ้านไม่พบลูกนำ้ทุกชนิดในบ้านและบริเวณบ้าน บ้านสะอาด 5. สรุปผลการดำเนินงาน การดำเนิงานขณะเกิดการระบาดของโรค 1.ใช้สารเคมีทำลายตัวแก่ลูกนำ้ (ทรายทีมีฟอส) และทำลายแหล่งเพาะพันธ์ุยุงในบ้านและบริเวณบ้านทุกหลังคาเรือนในละเเวกที่มีการระบาดของโรค 2.พ่นยากันยุงและสนับสนุนโลชั่นกันยุงพ่นหมอกควันหลังคาเรือนที่มีผู้ป่วยและหลังคาเรือนใกล้เคียงในระยะ 100 เมตร 3.สอบสวนโรคและเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรค 4.จัดตั้งครอบครัวต้นแบบการจัดการขยะแบบครบวงจรหมู่บ้านละ 2 หลัง 5.สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เกิดความร่วมมือระหว่างประชาชน องค์กรชุมชน ในการร่วมมือในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกและโรคติดต่อที่นำโดยแมลงอย่างต่อเนื่อง
  2. อัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ลดลง 3.ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับการกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายมากขึ้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 ก.พ. 2562 13:49 น.