กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ลานไทร ร่วมใจ ห่างไกล พิษสุนัขบ้า
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มหรือองค์กรประชาชนตั้งแต่ 5 คน
วันที่อนุมัติ 13 กุมภาพันธ์ 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ -
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 13,100.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสุกิจ แก้วชื่น
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งขมิ้น อำเภอนาหม่อม จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.916,100.547place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคพิษสุนัขบ้าเป็นโรคที่มีอันตรายร้านแรง เมื่อเป็นโรคแล้วไม่สามารถที่จะรักษาให้หายได้ ผู้ป่่วยที่เป็นโรคจะต้องเสียชีวิตทุกคน ซึ่งโรคนี้จะมีพาหะที่นำโรคคือสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น แมว หนู โค ลิง เป็นต้น เมื่อคนไปสัมผ้สสัตว์ที่เป็นโรคหรือถูกน้ำลายของสัตว์ที่เป็นโรคก็จะทำให้เชื้อโรคน้้นแพร่ติดต่อมาสู่คนได้ และสัตว์ที่เป็นโรคก็ยังสามารถที่ติดต่อเชื้อโรคไปยังสัตว์ปกติที่ไม่เป็นโรคได้ โรคพิษสุนัขบ้ามักจะพบในช่วงฤดูร้อน คือ ตั้งแต่เดือนมีนาคม-เดือนมิถุนายนของทุกปี โรคพิษสุนัขบ้าเป็นโรคที่สามารถควบคุมป้องกันได้แต่ไม่สามารถรักษาได้เมื่อมีอาการของโรค การป้องกันที่ดี คือการระวังไม่ให้ถูกสัตว์กัดหรือถูกน้ำลายของสัตว์ รวมทั้งการพาสัตว์เลี้ยง เช่น สุนัข แมว ลิง และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ไปรับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ถ้าถูกสัตว์กัดต้องรีบทำความสะอาดบาดแผลและไปพบแพทย์เพื่อทำการฉีดวัคซีนทันที
โดยสถานการร์ปี 2561 มีตัวอย่างส่งตรวจทั้งหมา 9,275 ตัวอย่าง พบผลบวกทั้งหมด 1,469 ตัวอย่าง คิดเป็น 15.83 % ใน 54 จังหวัด สูงสุด 10 จังหวัด ได้แก่ สุรินทร์ ร้อยเอ็ด สงขลา นครราชสีมา ยโสธร ชลบุรี ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ นครศรีธรรมราช และกาฬสินธุ์ ส่วนชนิดสัตว์ที่พบได้แก่ สุนัข 1,281 ตัว โค 117 ตัว แมว 51 ตัว กระบือ 15 ตัว แพะ 2 ตัว นอกจากนี้ยังมี ม้า กวาง และสุกร ชนิดละ 1 ตัว ส่วนสถานการณ์ โรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2561- 27 มกราคม 2562 มีรายงานพบโรคทั้งหมด 38 จังหสัด 173 จขัด ปัจจุบันยังคงประกาศเขตโรคระบาดสัตว์ 40 จุด ในพื้นที่ 21 จังหวัด คือ กรุงเทพมหานคร ฉะเชิงเทรา ชลบุรี บุรีรัมย์ ยโสธร สุรินทร์ อำนาจเจริญ อุบลราชธานี กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ร้อยเอ็ด เลย กำแพงเพชร พิจิตร เพชรบุรี สมุทรสาคร ตรัง นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี ภูเก็ต และสงขลา (สำนักควบคุมป้องกันและบำบัดโรคสัตว์ 2562 )ซึ่่งในหมู่ 2 บ้านลานไทร ตำบลทุ่งขมิ้น อำเภอนาหม่อม จังหวัดสงขลา มีการเกิดขึ้นของโรคพิษสุนัขบ้าโดยมีชาวบ้านโดนสุนัขซึ่งเป็นสัตว์เลี้ยงของตนเองกัด และภายหลังสุนัขต้วหนั้นตายลง ชาวบ้านคนดังกล่าวจึงนำสุนัขไปชันสูติ ซึ่งจากผลชันสูติโรคพบว่า สุนัขมีเชื้อพิษสุนัขบ้า ส่งผลให้เกิดความไม่สุขสบายของประชาชนในชุมชนและได้เห็นถึงความสำคัญของปัญหาที่เกิดขึ้น สำหรับสาเหตุของการระบาดของโรคพิษสุนัขบ้าที่เกิดขึ้นในชุมชนเมื่อวิเคราะห์ตามหลักวิทยาการระบาด ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดโรค 3 ประการ ได้แก่ สิ่งที่ทำให้เกิดโรค ปัจจัยของตัวมนุษย์ และปัจจัยของสิ่งแวดล้อม พบว่าสิ่งที่ทำให้เกิดโรคพิษสุนัขบ้าในชุมชนคือ สุนัขที่มีเชื้อไวรัส ส่วนปัจจัยทางด้านของมนุษย์คือ ไม่ได้รัยการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าและพฤติกรรมการคลุกคลีกับสัตว์เลี้ยง เป็นต้น และสุดท้ายปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม คือสภาพแวดล้อมของชุมชนมีลักษณะเป็นสวนยาง ทำให้เป็นพาหะนำโรค เช่น หนู และมีสุนัขจรจัดภายในชุมชนค่อนข้างมากส่งผลให้เกิดการระบาดของโรคพิษสุนัขบ้าหมู่ 2 บ้านลานไทร ตำบลทุ่งขมิ้น อำเภอนาหม่อม จังหวัดสงขลา
ในการนี้กลุ่มนักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์จึงร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งขมิ้นและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งโพธิ์ ตำบลทุ่งขมิ้น อำเภอนาหม่อม จังหวัดสงขลา จัดโครงการเรือง ชาวลานไทร ร่วมใจหางไกล โรคพิษสุนัขบ้า ในรูปแบบให้ความรู้แก่ประชาชนในชุมชน หมู่ 2 บ้านลานไทร เพือ่ให้ประชาชนในชุมชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้า การป้องกันและการปฎิบัติตนเมื่อโดนสัตว์เลี้ยงลุกด้วยนมกัด

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.วางแผนการทำโครงการ 2.ขั้นเตรียมการ 3.ขั้นดำเนินการ 4.การสะท้อนผลการทำโครงการ 5.การสรุปและรายงานผล

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้เกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้า วิธีการป้องกัน และการปฏิบัติตัวเมื่อสัมผัสสัตว์สงสัยเป็นพิษสุนัขบ้า 2.ประชาชนในชุมชนที่เข้าร่วมโครงการเกิดความตระหนักในเรื่องการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า่ 3.ไม่เกิดการระบาดของโรคพิษสุนัขบ้าในชุมชน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 ก.พ. 2562 14:57 น.