กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการควบคุม ป้องกันโรคไข้เลือดออกกรณีระบาดปีงบประมาณ 2562
รหัสโครงการ 62-L1529-5-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อ.ส.ม. ตำบลท่างิ้ว
วันที่อนุมัติ 2 พฤศจิกายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 40,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสมฤทัย ล้อมเมือง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่างิ้ว อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.845,99.651place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มิ.ย. 2562 30 ก.ย. 2562 40,600.00
รวมงบประมาณ 40,600.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 425 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 500 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิต ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา ที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน ไม่ว่าจะเป็นด้านการควบคุมและป้องกันโรค ด้านการรักษาที่ถูกต้องและทันเวลา สำหรับบทบาทในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทำได้โดยอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย เช่น ผู้บริหาร สมาชิกสภาฯ โรงเรียน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เจ้าหน้าที่ อสม. ตลอดจนประชาชน และนอกจากความร่วมมือจากทุกฝ่ายแล้ว ความต่อเนื่องและสม่ำเสมอของการปฏิบัติงานก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญ ที่จะทำให้การควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกเกิดประสิทธิภาพมากที่สุด ดังนั้น ชมรม อ.ส.ม.สถานีอนามัยเกาะสาหร่าย จึงจัดทำโครงการอบรมและควบคุมโรคไข้เลือดออก ขึ้น เพื่อกำจัดลูกน้ำยุงลาย กำจัดตัวแก่ยุงลายพาหะนำโรคไข้เลือดออก เพื่อนำไปสู่การพัฒนาศักยภาพของคนในชุมชนตลอดจนถึงควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกได้อย่างมีประสิทธิภาพ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ความรู้กับประชาชน ในการป้องกันโรคไข้เลือดออก โดยการรณรงค์ประชาสัมพันธ์
  1. ประชาชนมีความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก
  2. ประชาชนปฏิบัติตัวได้ถูกต้องเมื่อป่วยเป็นโรคไข้เลือดออก
50.00
2 เพื่อรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในชุมชน
  1. ความร่วมมือของประชาชนกับภาคีเครือข่ายสุขภาพในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย
  2. ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในชุมชนไม่เกินเกณฑ์มาตรฐาน
50.00
3 เพื่อการควบคุมโรคให้ทันเวลาภายหลังการได้รับแจ้ง โดยการกำจัดยุงพาหะนำโรคอย่าง มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
  1. ความพร้อมใช้ของอุปกรณ์ในการควบคุมโรค
  2. ความทันเวลาในการพ่นเคมี
  3. ความสำเร็จในการควบคุมโรค
50.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 40,600.00 2 40,600.00
18 มิ.ย. 62 - 30 ก.ย. 62 กิจกรรมรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในชุมชน และกิจกรรมป้องกันโรคไข้เลือดออก 0 38,600.00 38,600.00
18 มิ.ย. 62 - 30 ก.ย. 62 1. กิจกรรมให้ความรู้และการประชาสัมพันธ์ 0 2,000.00 2,000.00

ขั้นเตรียมการ

• จัดทำโครงการเพี่อขออนุมัติงบประมาณ

• ประชุมชี้แจงคณะกรรมการบริหารระบบกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลท่างิ้วเพื่อแจ้งสถานการณ์โรคและชี้แจง รายละเอียดโครงการฯ

• ประชุมคณะทำงานกิจกรรมรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในเชิงรุก

• จัดหาสารเคมีกำจัดลูกน้ำยุงลายและน้ำยาพ่นหมอกควัน

• จัดเตรียมสื่อในการรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก

• จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์โรคไข้เลือดออก

• จัดทำสื่อและรถประชาสัมพันธ์ในการรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออก

• ประสานโรงเรียนขอความร่วมมือในการป้องกันโรคไข้เลือดออก

ขั้นดำเนินการ

• ให้ความรู้ประชาสัมพันธ์โดยใช้รถประชาสัมพันธ์

• ติดป้ายรณรงค์ประชาสัมพันธ์ ในหมู่บ้าน

• ดำเนินการรณรงค์สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย(Big Cleaning Day) ทุกหลังคาเรือนโดยประชาชน นักเรียน อสม. ผู้นำชุมชนและเจ้าหน้าที่ ในพื้นที่ วันศุกร์ของทุกสัปดาห์

• แจกใบปลิวรณรงค์ป้องกัน โรคไข้เลือดออกแก่ประชาชน

• เดินรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกโดย นักเรียน อสม.ผู้นำชุมชน สท.ผู้บริหารเทศบาล เจ้าหน้าที่สถานีอนามัย เจ้าหน้าที่เทศบาลและประชาชนทั่วไป

• เดินรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก

• พ่นหมอกควันป้องกันโรคไข้เลือดออกโดยทีมเคลื่อนที่เร็วบ้านผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกและรัศมีบ้านผู้ป่วย 100 เมตร

• พ่นหมอกควันป้องกันโรคไข้เลือดออกในโรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ประชาชนทุกระดับมีความรู้ความเข้าใจและร่วมมือในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างเข้มแข็ง ต่อเนื่องและยั่งยืน ไม่มีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก / อัตราป่วยโรคไข้เลือดออกลดน้อยลง ไม่มีผู้ป่วยตายด้วยโรคไข้เลือดออก สามารถควบคุมและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในชุมชน การดำเนินการสำรวจลูกน้ำยุงลายของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านสามารถทำได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 ก.พ. 2562 09:49 น.