กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชนไม่ทอดทิ้งกัน
รหัสโครงการ 60-l5224-1-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ คลินิกใกล้ใจ โรงพยาบาลระโนด
วันที่อนุมัติ 16 มิถุนายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 30,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ คลินิกใกล้ใจ โรงพยาบาลระโนด
พี่เลี้ยงโครงการ นายเดชธีรัตม์ พิกุลกาญจนธานี
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปากแตระ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.766,100.358place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันประเทศไทยมีข้อมูลประชากรผู้สูงอายุ ที่ชี้ให้เห็นว่ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยโครงสร้างทางอายุของประชากรนั้น เมื่อจำแนกประชากรออกเป็นกลุ่มอายุ 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ ประชากรวัยเด็ก (อายุน้อยกว่า 15 ปี) วัยแรงงาน (อายุ 15-59 ปี) และวัยสูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) พบว่า ในระหว่างปี พ.ศ.2553 - พ.ศ.2583 สัดส่วนของประชากรวัยเด็ก และวัยแรงงาน มีแนวโน้มลดลง ในขณะที่สัดส่วนของประชากรสูงอายุ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากร้อยละ 13.2 ในพ.ศ.2553 เป็นร้อยละ 32.1 ในพ.ศ.2583 การที่สังคมไทยมีโครงสร้างประชากรผู้สูงอายุเกินร้อยละ 10 ของประชากรทั้งหมด ถือได้ว่าสังคมไทยเข้าสู่ภาวะสังคมผู้สูงอายุอย่างแท้จริง
ซึ่งข้อมูลหมู่ที่ 1 และ หมู่ที่ 6 ของตำบลปากแตระ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา ก็มีแนวโน้มประชากรผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นกัน โดยในปี พ.ศ. 2557 มีผู้สูงอายุใน หมู่ที่ 1 จำนวน 176 คน และ หมู่ที่ 2จำนวน92 คนปี พ.ศ. 2558 มีผู้สูงอายุใน หมู่ที่ 1 จำนวน 185 คน และใน หมู่ที่ 6 จำนวน 98 คน และในปี พ.ศ. 2559มีผู้สูงอายุหมู่ที่ 1 จำนวน 193 คน และ ในหมู่ที่ 2 จำนวน 105 คน คิดเป็นร้อยละ 19.43 และร้อยละ 19.09 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับประชากรที่ขึ้นทะเบียนทั้งหมดของตำบลท่าบอน แสดงให้เห็นว่าตำบลท่าบอนได้ก้าวเข้าสู่ “สังคมผู้สูงอายุ” เช่นกัน การเพิ่มของผู้สูงอายุนั้นจะส่งผลกระทบต่อสภาพสังคม เศรษฐกิจ การจัดสรรทรัพยากรทางสุขภาพ เพราะมีผู้สูงอายุจำนวนไม่น้อยที่เจ็บป่วย ด้วยโรคเรื้อรังที่สำคัญคือ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงฯลฯ ยิ่งมีปัจจัยเสี่ยง เช่น ขาดการออกกำลังกาย อ้วน จะมีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคเรื้อรังอื่นเพิ่มมากขึ้น ทำให้เป็นภาระในการดูแลด้านต่างๆ มากขึ้น การเพิ่มของผู้สูงอายุนั้นจะส่งผลกระทบต่อสภาพสังคม เศรษฐกิจ การจัดสรรทรัพยากรทางสุขภาพ เพราะมีผู้สูงอายุจำนวนไม่น้อยที่เจ็บป่วย ด้วยโรคเรื้อรังที่สำคัญคือ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงฯลฯ ยิ่งมีปัจจัยเสี่ยง เช่น ขาดการออกกำลังกาย อ้วน จะมีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคเรื้อรังอื่น เพิ่มมากขึ้นทำให้เป็นภาระในการดูแลด้านต่างๆ มากขึ้น ซึ่งทางด้านเจ้าหน้าที่ สาธารณสุขเองได้ให้ความสำคัญและดูแลเรื่องผู้สูงอายุมาอย่างต่อเนื่อง โดยได้จัดให้มีชมรมผู้สูงอายุทุกหมู่บ้านและติดตามเยี่ยมถึงบ้านในกลุ่มผู้สูงอายุประเภทต่างๆ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นเตรียมการ 1. จัดทำโครงการเพื่อดำเนินงาน 2. แต่งตั้งคณะกรรมการพื้นที่หมู่ที่ 1,หมู่ที่6 ตำบลปากแตระ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา 3. จัดประชุมคณะกรรมการพื้นที่ตามโครงการ 4. รับสมัครจิตอาสาหมู่ละ 4 คน ดูแลผู้สูงอายุในชุมชน มีการติดตามเยี่ยม ขั้นดำเนินโครงการ 1. อบรมให้ความรู้จิตอาสา ผู้ดูแลผู้สูงอายุ (care giver)
2. ติดตามเยี่ยมผู้สูงอายุ ติดบ้านติดเตียง ร่วมกับภาคีเครือข่าย 3. ประชุมติดตามการดำเนินของจิตอาสา ผู้ดูแลผู้สูงอายุ (Care giver) และ conference caes จำนวน 4 ครั้ง 4. จัดกิจกรรม ชมรมผู้สูงอายุทุกหมู่บ้าน เดือนละครั้ง 5. จัดทำนวตกรรมแก้ปัญหาผู้สูงอายุปวดเข่า, เท้าชา 7. จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มผู้สูงอายุ ขั้นประเมินผล สรุปผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้สูงอายุ/ผู้ป่วยติดบ้าน/ผู้ป่วยติดเตียง มีคุณภาพชีวิตที่ดี
  2. เกิดภาคีเครือข่ายในการดูแลผู้สูงอายุ ทั้ง 2 หมู่บ้าน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 มี.ค. 2560 14:51 น.