กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองกันตัง


“ โครงการสร้างเสริมสุขภาพ เด็กก่อนวัยเรียนและเด็กวัยเรียนด้วยวัคซีนสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ปี 2562 ”

ห้องประชุมสภา เทศบาลเมืองกันตัง ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง

หัวหน้าโครงการ
นางสุพรรณนิกา ลีลาสำราญ

ชื่อโครงการ โครงการสร้างเสริมสุขภาพ เด็กก่อนวัยเรียนและเด็กวัยเรียนด้วยวัคซีนสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ปี 2562

ที่อยู่ ห้องประชุมสภา เทศบาลเมืองกันตัง ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง จังหวัด ตรัง

รหัสโครงการ 62-L6895-01-13 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 18 มกราคม 2562 ถึง 30 สิงหาคม 2562


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการสร้างเสริมสุขภาพ เด็กก่อนวัยเรียนและเด็กวัยเรียนด้วยวัคซีนสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ปี 2562 จังหวัดตรัง" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ห้องประชุมสภา เทศบาลเมืองกันตัง ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองกันตัง ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการสร้างเสริมสุขภาพ เด็กก่อนวัยเรียนและเด็กวัยเรียนด้วยวัคซีนสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ปี 2562



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการสร้างเสริมสุขภาพ เด็กก่อนวัยเรียนและเด็กวัยเรียนด้วยวัคซีนสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ปี 2562 " ดำเนินการในพื้นที่ ห้องประชุมสภา เทศบาลเมืองกันตัง ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง รหัสโครงการ 62-L6895-01-13 ระยะเวลาการดำเนินงาน 18 มกราคม 2562 - 30 สิงหาคม 2562 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 10,750.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองกันตัง เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

วัคซีนเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพและความคุ้มทุนมากที่สุดชนิดหนึ่ง ในการป้องกันควบคุมโรคติดต่อที่เป็นปัญหาต่อสุขภาพของประชาชนทั่วโลก ประเทศไทยใช้วัคซีนเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการป้องกันโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนอย่างเป็นระบบและกว้างขวางมาตั้งแต่ปี 2520 ด้วยการจัดตั้งแผนงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค มีวัตถุประสงค์เพื่อลดอัตราการป่วยและอัตราตายด้วยโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน โดยการใช้วัคซีนเป็นเครื่องมือในการป้องกันควบคุมโรค  แก่ประชากรกลุ่มเป้าหมายและผสมผสานเข้ากับงานบริการสาธารณสุขในระบบปกติ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา    ได้มีการพัฒนาและปรับปรุงการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง โดยมีการเพิ่มชนิดของวัคซีนให้มากขึ้น เพื่อป้องกันโรคที่สำคัญ  จนปัจจุบันมีวัคซีนทั้งหมดรวม 11 ชนิด รวมทั้งเพิ่มกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้ประชากรไทยมีภูมิคุ้มกันต่อโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนในระดับที่สูงอย่างต่อเนื่อง
โดยในปี 2560 กระทรวงสาธารณสุขได้ขยายพื้นที่การให้บริการวัคซีน HPV แก่เด็กนักเรียน หญิงชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และได้ให้วัคซีน BCG, HB, dT, OPV, IPV, MR และ LAJE เพื่อเก็บตกในเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับวัคซีนไม่ครบตามกำหนดปกติ วัคซีน dT แก่เด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยการดำเนินงานปี 2561 ที่ผ่านมาปัญหาคือผู้ปกครองจะไม่ยินยอมให้เด็กนักเรียนกลุ่มเป้าหมายรับวัคซีนขั้นพื้นฐานดังกล่าวประมาณ 3% ซึ่งทางเทศบาลเมืองกันตัง เห็นความสำคัญในการสร้างเสริมสุขภาพป้องกันควบคุมโรคติดต่อด้วยวัคซีนแก่เด็กวัยเรียน จึงจัดทำโครงการนี้ขึ้น  เพื่อให้โรงเรียนเป็นเครือข่ายในการสร้างความเข้าใจแก่ผู้ปกครองเด็กกลุ่มเป้าหมายในโรงเรียน เพื่อให้เด็กนักเรียนได้รับวัคซีนตามเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ 100    อันจะเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคให้เด็กไทยห่างไกลจากโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนมีคุณภาพชีวิตที่ดี และเป็นกำลังสำคัญที่จะร่วมกันพัฒนาประเทศไทยให้เข้มแข็งสืบไป

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อให้เด็กนักเรียนชั้น ป.1 ,ป.6 และนักเรียนหญิงชั้น ป.5 ของโรงเรียนในเขตรับผิดชอบ จำนวน 4 โรงเรียน ได้รับวัคซีนครบถ้วนตามเกณฑ์
  2. เพื่อให้ครูอนามัยโรงเรียน/ครูประจำชั้น/ผู้บริหารโรงเรียน/ตัวแทนครูของโรงเรียนในเขตรับผิดชอบ จำนวน 4 โรงและครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 3 ศูนย์ มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค และสามารถเป็นเครือข่ายในการสร้างความเข้าใจแก่ผู้ปกครองเด็กกลุ่มเป้าหมายในโรงเรียน เรื่องความจำเป็นการได้รับวัคซีนขั้นพื้นฐานตามเกณฑ์

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. กิจกรรมอบรมแก่ครูอนามัยโรงเรียน/ผู้บริหารหรือตัวแทน/ครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
  2. กิจกรรมการให้บริการวัคซีนป้องกันโรคตามเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุขในโรงเรียน

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 962
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ร้อยละ 100 ของนักเรียนชั้น ป.1 ,ป.6 และนักเรียนหญิงชั้น ป.5 ของโรงเรียนในเขตรับผิดชอบ
    จำนวน 4 โรง ได้รับวัคซีนตามเกณฑ์กระทรวงสาธารณสุข
  2. ครูอนามัยโรงเรียน/ ผู้บริหารหรือตัวแทนของโรงเรียนในเขตรับผิดชอบ/ ครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มี ความรู้ ความเข้าใจในเรื่องวัคซีน/การดูแลเด็กนักเรียนหลังการได้รับวัคซีน  และสามารถเป็นเครือข่ายในการสร้างความเข้าใจแก่ผู้ปกครองเด็กกลุ่มเป้าหมายในโรงเรียน เรื่องความจำเป็นการได้รับวัคซีนขั้นพื้นฐานตามเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุข

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. กิจกรรมอบรมแก่ครูอนามัยโรงเรียน/ผู้บริหารหรือตัวแทน/ครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

วันที่ 8 พฤษภาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

  • ลงทะเบียน/ชี้แจงแนวทางการดำเนินงานวัคซีนในโรงเรียน
  • บรรยายเรื่อง นโยบายกระทรวงสาธารณสุขเรื่องการให้วัคซีนในเด็กนักเรียน ปี 2562
  • บรรยายเรื่อง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับภูมิคุ้มกันของร่างกาย/วัคซีนพื้นฐานตามแผนงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในเด็กนักเรียน
  • พักรับประทานอาหารว่าง
  • บรรยายเรื่อง แนวทางการดำเนินงานวัคซีนในโรงเรียนและการเฝ้าระวังอาการภายหลังได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในเด็กนักเรียน
  • อภิปราบย/ตอบข้อซักถาม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. จัดอบรมแก่ผู้บริหารโรงเรียนหรือตัวแทน  ครูอนามัยโรงเรียนโรงเรียนในเขตเทศบาล จำนวน 6 โรงเรียน  หัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลเมืองกันตังจำนวน 3 ศูนย์ รวมผู้เข้ารับการอบรม 15 คน แต่มีผู้เข้าร่วมรับการอบรมรวม 18 คน  เมื่อวันที่  8  พฤษภาคม  2562  เวลา 13.00-16.30 น.  ณ ห้องประชุมสภา เทศบาลเมืองกันตัง  เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค และสามารถเป็นเครือข่ายในการสร้างความเข้าใจแก่ผู้ปกครองเด็กกลุ่มเป้าหมายในโรงเรียน เรื่องความจำเป็นการได้รับวัคซีนขั้นพื้นฐานตามเกณฑ์  โดยวิทยากรจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตรัง จำนวน 1 ท่าน
  2. ชี้แจงการดำเนินงานอนามัยโรงเรียนเรื่องการบริการวัคซีนของศูนย์บริการสาธารณสุข เทศบาลเมืองกันตัง แก่ผู้เข้ารับการอบรม  พร้อมมอบป้ายประชาสัมพันธ์(ไวนิล)แก่ตัวแทนโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก แห่งละ 1 ผืน เป็นจำนวน  9 ผืน

 

15 0

2. กิจกรรมการให้บริการวัคซีนป้องกันโรคตามเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุขในโรงเรียน

วันที่ 18 กรกฎาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

  1. จัดทำแผนปฏิบัติงานในการรณรงค์ให้วัคซีนป้องกันโรคในโรงเรียน/ประสานแจ้งแผนปฏิบัต งานบริการให้วัคซีนแก่โรงเรียน
  2. ดำเนินงานตามแผนปฏิบัติงานให้วัคซีนป้องกันโรคในโรงเรียน โดยครูอนามัยโรงเรียนประสาน ครูประจำชั้นที่เกี่ยวข้อง
  3. ติดตามเก็บตกให้กลุ่มเป้าหมายได้รับวัคซีนตามเกณฑ์
  4. ติดตามภาวะ AEFI พร้อมรายงานผู้เกี่ยวข้อง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

กิจกรรมการให้บริการวัคซีนป้องกันโรคตามเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุขในโรงเรียนแก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปี่ที่ 1 และ 6 ในโรงเรียนที่รับผิดชอบ 4 โรงเรียน โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่ เดือนกรกฎาคม 2562 เป็นต้นไปจนจบสิ้นเทอมการศึกษาที่ 1 ซึ่งมีผลการดำเนินงาน ดังนี้ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - ได้รับวัคซีน dT และ OPV  จำนวน 46 คน - ได้รับวัคซีน MMR  จำนวน 51 คน - ได้รับวัคซีน JE1  จำนวน 15 คน - ได้รับวัคซีน dT2  จำนวน 1 คน - ได้รับวัคซีน IPV จำนวน 1 คน - ได้รับวัคซีนครบถ้วนตามเกณฑ์(ไม่ต้องรับวัคซีน) จำนวน 312 คน - ต้องติดตามวัคซีนเมื่อเลื่อนชั้น ป.2 จำนวน 7 คน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 - ได้รับวัคซีน dT จำนวน  340 คน หมายเหตุ วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก (HPV) ของนักเรียนหญิงชั้น ป.5 ปี 2562 ไม่มีวัคซีนสนับสนุน

 

962 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

  1. จัดอบรมแก่ผู้บริหารโรงเรียนหรือตัวแทน ครูอนามัยโรงเรียนโรงเรียนในเขตเทศบาล จำนวน 6 โรงเรียน หัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลเมืองกันตังจำนวน 3 ศูนย์ รวมผู้เข้ารับการอบรม 15 คน แต่มีผู้เข้าร่วมรับการอบรมรวม 18 คน เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2562 เวลา 13.00-16.30 น. ณ ห้องประชุมสภา เทศบาลเมืองกันตัง เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค และสามารถเป็นเครือข่ายในการสร้างความเข้าใจแก่ผู้ปกครองเด็กกลุ่มเป้าหมายในโรงเรียน เรื่องความจำเป็นการได้รับวัคซีนขั้นพื้นฐานตามเกณฑ์ โดยวิทยากรจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตรัง จำนวน 1 ท่าน
  2. ชี้แจงการดำเนินงานอนามัยโรงเรียนเรื่องการบริการวัคซีนของศูนย์บริการสาธารณสุข เทศบาลเมืองกันตัง แก่ผู้เข้ารับการอบรม พร้อมมอบป้ายประชาสัมพันธ์(ไวนิล)แก่ตัวแทนโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก แห่งละ 1 ผืน เป็นจำนวน 9 ผืน
  3. กิจกรรมการให้บริการวัคซีนป้องกันโรคตามเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุขในโรงเรียนแก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปี่ที่ 1 และ 6 ในโรงเรียนที่รับผิดชอบ 4 โรงเรียน โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่ เดือนกรกฎาคม 2562 เป็นต้นไปจนจบสิ้นเทอมการศึกษาที่ 1 ซึ่งมีผลการดำเนินงาน ดังนี้ กิจกรรมการให้บริการวัคซีนป้องกันโรคตามเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุขในโรงเรียนแก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปี่ที่ 1 และ 6 ในโรงเรียนที่รับผิดชอบ 4 โรงเรียน โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่ เดือนกรกฎาคม 2562 เป็นต้นไปจนจบสิ้นเทอมการศึกษาที่ 1 ซึ่งมีผลการดำเนินงาน ดังนี้ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
    • ได้รับวัคซีน dT และ OPV  จำนวน 46 คน
    • ได้รับวัคซีน MMR  จำนวน 51 คน
    • ได้รับวัคซีน JE1  จำนวน 15 คน
    • ได้รับวัคซีน dT2  จำนวน 1 คน
    • ได้รับวัคซีน IPV จำนวน 1 คน
    • ได้รับวัคซีนครบถ้วนตามเกณฑ์(ไม่ต้องรับวัคซีน) จำนวน 312 คน
    • ต้องติดตามวัคซีนเมื่อเลื่อนชั้น ป.2 จำนวน 7 คน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
    • ได้รับวัคซีน dT จำนวน  340 คน หมายเหตุ วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก (HPV) ของนักเรียนหญิงชั้น ป.5 ปี 2562 ไม่มีวัคซีนสนับสนุน พบว่าความครอบคลุมการได้รับวัคซีนของนักเรียนชั้น ป.1 และ ป.6 ของโรงเรียนในเขตรับผิดชอบ จำนวน 4 โรง ได้รับวัคซีนป้องกันโรคตามเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุขคิดเป็นร้อยละ 100
  4. สรุปค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการดำเนินงาน จำนวน 10,750 บาท ดังนี้ 4.1 กิจกรรมอบรมตามโครงการดังกล่าว ในกิจกรรมอบรม เป็นเงิน จำนวน 6,994.- บาทรายละเอียดดังนี้   - ค่าสมนาคุณวิทยากร เป็นเงิน 1,800  บาท   - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม  เป็นเงิน  450  บาท   - ค่าเอกสารประกอบการอบรม เป็นเงิน  90  บาท   - ค่าป้ายโครงการ/ป้ายประชาสัมพันธ์/โฟมบอร์ด เป็นเงิน 3,450  บาท   - ค่ากระเป๋าใส่เอกสาร เป็นเงิน  750 บาท   - ค่าวัสดุอุปกรณ์/อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เป็นเงิน  454 บาท 4.2 กิจกรรมการให้บริการวัคซีนป้องกันโรคตามเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุขในโรงเรียน เป็นเงิน จำนวน 3,756.- บาทรายละเอียดดังนี้   - วัสดุยาและเวชภัณฑ์ที่ไม่ใช่ยา เป็นเงิน 3,100 บาท
      - ค่าถ่ายเอกสาร      เป็นเงิน  656 บาท

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อให้เด็กนักเรียนชั้น ป.1 ,ป.6 และนักเรียนหญิงชั้น ป.5 ของโรงเรียนในเขตรับผิดชอบ จำนวน 4 โรงเรียน ได้รับวัคซีนครบถ้วนตามเกณฑ์
ตัวชี้วัด : 1. ร้อยละ 100 ของนักเรียนชั้น ป.1 และ ป.6 ของโรงเรียนในเขตรับผิดชอบ จำนวน 4 โรง ได้รับวัคซีนป้องกันโรคตามเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุข 2. ร้อยละ 100 ของนักเรียนหญิงชั้น ป.5 ของโรงเรียนในเขตรับผิดชอบ จำนวน 4 โรง ได้รับวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก (HPV)
0.00

 

2 เพื่อให้ครูอนามัยโรงเรียน/ครูประจำชั้น/ผู้บริหารโรงเรียน/ตัวแทนครูของโรงเรียนในเขตรับผิดชอบ จำนวน 4 โรงและครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 3 ศูนย์ มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค และสามารถเป็นเครือข่ายในการสร้างความเข้าใจแก่ผู้ปกครองเด็กกลุ่มเป้าหมายในโรงเรียน เรื่องความจำเป็นการได้รับวัคซีนขั้นพื้นฐานตามเกณฑ์
ตัวชี้วัด :
0.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 962 454
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 962 454
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ 0
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้เด็กนักเรียนชั้น ป.1 ,ป.6 และนักเรียนหญิงชั้น ป.5 ของโรงเรียนในเขตรับผิดชอบ  จำนวน    4 โรงเรียน ได้รับวัคซีนครบถ้วนตามเกณฑ์ (2) เพื่อให้ครูอนามัยโรงเรียน/ครูประจำชั้น/ผู้บริหารโรงเรียน/ตัวแทนครูของโรงเรียนในเขตรับผิดชอบ จำนวน 4 โรงและครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 3 ศูนย์  มีความรู้  ความเข้าใจในเรื่องงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค และสามารถเป็นเครือข่ายในการสร้างความเข้าใจแก่ผู้ปกครองเด็กกลุ่มเป้าหมายในโรงเรียน เรื่องความจำเป็นการได้รับวัคซีนขั้นพื้นฐานตามเกณฑ์

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) กิจกรรมอบรมแก่ครูอนามัยโรงเรียน/ผู้บริหารหรือตัวแทน/ครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก (2) กิจกรรมการให้บริการวัคซีนป้องกันโรคตามเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุขในโรงเรียน

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการสร้างเสริมสุขภาพ เด็กก่อนวัยเรียนและเด็กวัยเรียนด้วยวัคซีนสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ปี 2562 จังหวัด ตรัง

รหัสโครงการ 62-L6895-01-13

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นางสุพรรณนิกา ลีลาสำราญ )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด