กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการภาคีเข้มแข็งชุมชนร่วมใจ ห่างไกลโรคติดต่อ/โรคอุบัติใหม่ ปี 2562
รหัสโครงการ 62-L8300-1-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลแว้ง
วันที่อนุมัติ 1 กุมภาพันธ์ 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2562 - 31 ธันวาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 31 มกราคม 2563
งบประมาณ 23,100.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางนูรอาซลีนา สาแลแม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลแว้ง อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 5.936,101.835place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสุรา , แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มวัยทำงาน 120 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้นกับพื้นที่ทั่วโลกส่งผลต่อการพัฒนาการและวิวัฒนาการของโรคต่างๆขึ้นมามากมาย โดยเฉพาะโรคติดต่อ / โรคอุบัติใหม่ที่เกิดขึ้นหรือโรคที่กลับมาเป็นใหม่ขึ้น ซึ่งโรคติดต่อเหล่านี้จะแพร่กระจายและระบาดทุกพื้นที่โดยใช้เวลาที่รวดเร็ว จากสถานการณ์การเกิดโรคติดต่อในพื้นที่ตำบลแว้งในปีงบประมาณ 2561 สรุป 10 อันดับโรคดังนี้

ลำดับที่      ชื่อ-โรค        จำนวนป่วย      อัตราป่วยต่อแสน                                             ประชากร 1.        อุจจาระร่วง          192            1377.73 2.        ปอดบวม          31              222.38 3.        ไข้หวัดใหญ่      20              143.47 4.        โรคตาแดง          20              143.47 5.        สุกใส          16              114.78 6.        ไข้หรือไข้ไม่ทราบสาเหตุ  11          78.91 7.        โรคมือเท้าปาก        6          43.04 8.        โรคเพศสัมพันธ์อื่นๆ    3          21.52 9.        ไข้เลือดออก        2          14.35 10.        ไข้เดงกี่            2          14.35

จากอัตราป่วย 10 อันดับโรคของตำบลแว้งปี 2561 พบว่า ผู้ป่วยโรคอุจจาระร่วงพบอัตราป่วยสูงที่สุด และยังคงเป็นโรคที่มีอัตราป่วยสูงสุดทุกปี ฉะนั้นในการควบคุมและป้องกันโรคติดต่อจะต้องได้รับการแก้ไขโดยเร่งด่วน ถูกหลักทางระบาดวิทยาของโรคติดต่อ และประชาชนในพื้นที่ต้องให้ความสำคัญและมีความตระหนักในการควบคุมและป้องกันโรคดังกล่าวขึ้น โดยสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์อำเภอแว้งในเรื่องของงานควบคุมโรค โรงพยาบาลแว้งร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลแว้ง จึงได้จัดทำโครงการภาคีเข้มแข็งชุมชนร่วมใจ ห่างไกลโรคติดต่อ/ โรคอุบัติใหม่ ปี2562

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1เพื่อเป็นการควบคุมการระบาดของโรคติดต่อในพื้นที่

1.อัตราป่วยด้วยโรคติดต่อและโรคอุบัติใหม่ที่เป็นปัญหาสาธารณสุขในพื้นที่ตำบลแว้งลดลงร้อยละ 80

0.00
2 ข้อที่ 2เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้และป้องกันตนเองไม่ให้ป่วยด้วยโรคติดต่อที่ป้องกันได้

1.ประชาชนมีความรู้ในการดูแลตนเองและสามารถป้องกันตนเองไม่ให้ป่วย ด้วยโรคติดต่อที่ป้องกันได้ร้อยละ 80

0.00
3 ข้อที่ 3เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อที่สำคัญอย่างสม่ำเสมอ ต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพ

1.ชุมชนที่มีการระบาดของโรคติดต่อที่เป็นปัญหาสาธารณสุขในพื้นที่ตำบลแว้งมีการดำเนินการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดต่อดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพร้อยละ 80

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 180 23,100.00 4 23,100.00
23 ก.ค. 62 กิจกรรมที่ 1 งานโรคอุจจาระ (ร้อนอาหารสะดวก บริโภคปลอดภัย) 0 2,100.00 2,100.00
6 ส.ค. 62 กิจกรรมที่ 2 งานป้องกันควบคุมโรคตามฤดูกาล (ไข้หวัดใหญ่ ตาแดง สุกใส) 60 6,500.00 6,500.00
7 ส.ค. 62 กิจกรรมที่ 3 งานเฝ้าระวังโรคติดต่อที่ป้องก่ันได้ด้วยวัคซีน 60 6,500.00 6,500.00
8 ส.ค. 62 กิจกรรมที่ 4 งานเฝ้าระวังโรคติดต่อที่ระบาดท่เป็นปัญหาในพื้นที่ 60 8,000.00 8,000.00

โครงการฯ 2. ประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงานและประสานกับหน่วยงานชุมชนทุกระดับที่เกี่ยวข้อง 3. จัดเตรียมพื้นที่ วัสดุ อุปกรณ์ ในการดำเนินโครงการฯ 4. จัดกิจกรรมรณรงค์ร้านอาหารสะอาด บริโภคปลอดภัย       5.  จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่แกนนำชุมชน อสม. ครูอนามัยโรงเรียนเกี่ยวกับการควบคุมป้องกันโรคตามฤดูกาล(ไข้หวัดใหญ่ ตาแดง สุกใส)       6.  จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนและติดตามฉีดวัคซีนเด็กอายุ 0-5 ปี ที่ได้รับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์เพื่อป้องกันโรคร่วมกับอสม.       7.  จัดกิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องโรคติดต่อที่ระบาดที่เป็นปัญหาในพื้นที่แก่อสม.คณะกรรมการชุมชน และประชาชนในพื้นที่       8.  สถานบริการสาธารณสุข ร่วมกับชุมชนในพื้นที่ รณรงค์และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเกิดความตระหนัก ร่วมมือในการดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคติดต่อ/โรคอุบัติใหม่ที่เกิดในพื้นที่ 9.  สถานบริการสาธารณสุขให้ความรู้โรคติดต่อ/โรคอุบัติใหม่ที่พบในพื้นที่แก่เยาวชน นักเรียน ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา อาสาสมัครสาธารณสุข และประชาชนในพื้นที่ 10. สถานบริการสาธารณสุขทุกแห่งดำเนินการสอบสวนโรคและดำเนินการควบคุม มีมาตรการป้องกันโรคติดต่อ/โรคอุบัติใหม่ที่พบในพื้นที่ทุกราย 11. สถานบริการสาธารณสุขให้ความรู้แก่อาสาสมัครสาธารณสุข ดำเนินการให้มีรายงานเฝ้าระวังโรคติดต่อ/โรคอุบัติใหม่ที่เป็นปัญหาในพื้นที่อย่างต่อเนื่องทุกเดือน
12. สถานบริการสาธารณสุขให้ความรู้โรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน และรณรงค์ร่วมกับอสม.ออกติดตามและฉีดวัคซีนในเด็กอายุ 0-5 ปี ที่ได้รับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์ 13. คณะกรรมการบริหารกองทุนฯโรงพยาบาลแว้ง และอสม.ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อัตราป่วยด้วยโรคติดต่อและโรคอุบัติใหม่ที่เป็นปัญหาสาธารณสุขในพื้นที่ตำบลแว้ง ลดลงตามเป้าหมายและตัวชี้วัด
      2. ประชาชนมีความรู้ในการดูแลตนเองและสามารถป้องกันตนเองไม่ให้ป่วยด้วยโรคติดต่อที่ป้องกันได้         3. ชุมชนที่มีการระบาดของโรคติดต่อที่เป็นปัญหาสาธารณสุขในพื้นที่ตำบลแว้งมีการดำเนินการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดต่อดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 ก.พ. 2562 13:32 น.