กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการสุขภาพดีวิถีชุมชน ร่วมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง เบาหวาน

ปิงปองจราจร 7 สี พิชิตโรคเรื้อรังและสื่อประชาสัมพันธ์และให้ความรู้เรื่องโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง1 สิงหาคม 2019
1
สิงหาคม 2019รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลแว้ง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

การเตรียมการ 1. ประชุมคณะกรรมการดาเนินงานและผู้เกี่ยวข้อง เพื่อรับทราบสถานการณ์ ร่วมกันวิเคราะห์ปัญหา และวางแผนการดาเนินงาน ประกอบด้วย การจัดตั้งศูนย์เฝ้าระวังภัยโรคเรื้อรังในชุมชน การพัฒนาศักยภาพทีมรวมทั้งบทบาทของทีม การติดตามเยี่ยมผู้ป่วย การจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้โรคเรื้อรังประจาตาบลการสร้างคุณค่า/แรงจูงใจทีม 2. วิเคราะห์ข้อมูลแยกประเภทกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยตามแนวทางปิงปองจราจรชีวิต 7 สี 3. สรุปและประเมินผล การดาเนินงาน กิจกรรมที่ 1 ปิงปองจราจรชีวิต 7 สี และติดตามเยี่ยมในกลุ่มผู้ป่วยในเขตองค์การบริหารส่วนตาบลแว้ง 1. จัดกิจกรรมประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้สาหรับกลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ตามกลุ่มจราจรชีวิต 7 สี กลุ่มสีเหลือง สีส้ม และสีแดง รวมทั้ง อสม./กลุ่มประชาชนทั่วไป ภายใต้แนวคิด “ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต พิชิตโรคเรื้อรัง” 2. จัดกิจกรรมกลุ่มตามรูปแบบปิงปองจราจรชีวิต 7 สี ตามศูนย์เรียนรู้ในชุมชนทุกเดือน เช่น มัสยิด ,ศาลาอเนกประสงค์ 3. ติดเยี่ยมดูแลผู้ป่วยที่บ้านโดยทีมเยี่ยมบ้าน เฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยกลุ่มสีส้ม สีแดง และติดตามเยี่ยมผู้ป่วยกลุ่มสีดา/ ผู้ป่วยหลังจากนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล 4. ประเมินผลในกลุ่มเสี่ยงตามกลุ่มจราจรชีวิต 7 สี กลุ่มสีเหลือง สีส้ม และสีแดง นัดทุก 1 เดือน กิจกรรมที่ 2 จัดทาสื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ความรู้เรื่องโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 1. จัดทาป้ายไวนิลโครงการฯ , ป้ายไวนิลปิงปองจราจรชีวิต 7 สี และทาสื่อประชาสัมพันธ์พร้อมกับให้ความรู้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ และเรื่องการป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในชุมชน โดยใช้ปิงปองจราจรชีวิต 7 สี ภายใต้แนวคิด “ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต พิชิตโรคเรื้อรัง” พื้นที่ดาเนินการ หมู่ที่ 5 ชุมชนบ้านกูวา ,หมู่ที่ 6 ชุมชนบ้านบาลูกา ตาบลแว้ง อาเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

กิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยเน้นกิจกรรม 3 อ. อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์ 2 ส. งดสูบบุหรี่ งดดื่มสุราหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ งดการบริโภคอาหารหวาน มัน เค็ม รับประทานยาอย่างต่อเนื่อง พบแพทย์ตามนัด ทุก 1 เดือน หรือเมื่อมาีอาการผิดปกติ เฝ้าระวังอาการผิดปกติหรืออาการกำเริบของภาวะแทรกซ้อน และได้รับการเยี่ยมบ้านโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอย่างสม่ำเสมอและมีกิจกรรมการติดตามการปรับเปลี่ยนแปลงจาการที่ผู้เข้าร่วมโครงการได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เพื่อลดอัตราผู้ป่วยรายใหม่ จาก Pre-DM ลดอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน และผู้เข้าร่วมโครงการฯ สามรถนำความรู้ไปเผยแพร่ในชุมชน และชุมชนได้มีกิจกรรมการป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน หัวใจ ไต หลอดเลือดสมอง ฯลฯ ต่อไป