กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลผุ้ป่วยจิตเภทตำบลแว้ง
รหัสโครงการ 62-L8300-1-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลแว้ง
วันที่อนุมัติ 1 กุมภาพันธ์ 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2562 - 31 สิงหาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 10,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางไซนะ มรรคาเขต
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลแว้ง อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 5.936,101.835place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานคนพิการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 75 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวชเป็นปัญหาสำคัญปัญหาหนึ่งของระบบสุขภาพประเทศไทย โดยประมาณการว่าประชากร 1 ใน 5 มีปัญหาสุขภาพจิตจากรายงานสถิติของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข โรคจิตเภทเป็นปัญหาสุขภาพจิตอย่างหนึ่งที่นับวันมีจำนวน มากขึ้น ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาสังคม และเศรษฐกิจ ซึ่งโรคจิตเภทก่อให้เกิดความผิดปกติทางด้านความคิด อารมณ์ การรับรู้และพฤติกรรม บกพร่องในการดูแลตนเอง ขาดทักษะพื้นฐานในการแก้ปัญหา การเจ็บป่วยซ้ำถี่มากขึ้น จำเป็นต้องได้รับการรักษาตลอดชีวิต ยิ่งกว่านั้นการเข้าถึงบริการของผู้ป่วยจิตเภทเพื่อรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพต่อเนื่องในระบบบริการสุขภาพยังต่ำกว่าที่ควรจะเป็น จากสถิติการเข้าถึงบริการผู้ป่วยโรคจิตเภทในประเทศไทยจากรายงาน HDC ในปี 2559 ทั้งหมด 41,566 ราย ปี 2560 ทั้งหมด 262,656 ราย และปี2561 ทั้งหมด 315,592 ราย        (ไม่รวมกรุงเทพมหานคร) พบว่ามีจำนวนผู้ป่วยจิตเภทเพิ่มมากขึ้น และจากข้อมูลจากสถิติผู้ป่วยจิตเภท ในจังหวัดนราธิวาส ใน ปี2559      ไม่มีการเก็บรวบรวมข้อมูล ปี 2560 ทั้งหมด 1,435 ราย และปี 2561 ทั้งหมด 2,843 ราย จากข้อมูลผู้ป่วยจิตเภทอำเภอแว้งใน 2559-2561 จำนวน 209, 250และ 275 ราย ตามลำดับ จะเห็นได้ว่าข้อมูลสถิติผู้ป่วยจิตเภทของอำเภอแว้งมีจำนวนเพิ่มขึ้น มีความสอดคล้องกันกับระดับจังหวัด และประเทศ อำเภอแว้งเป็นพื้นที่ติดชายแดนมาเลเซียอยู่ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ จากสถานการณ์ความไม่สงบ ปัญหายาเสพติด ประชาชนได้รับการศึกษาค่อนข้างต่ำ ว่างงาน จึงเป็นปัจจัยทำให้จำนวน และความรุนแรงของโรคจิตเภทเพิ่มมากขึ้น บางส่วนทำงานในประเทศมาเลเซีย ทำให้ขาดการรักษาต่อเนื่อง อาการกำเริบฉุกเฉินมากขึ้น พบว่าผู้ป่วยด้วยโรคทางจิตเภทที่ขาดการรักษาในโรงพยาบาลแว้งทั้งหมด ในปี 2559-2561 ขาดการรักษา ร้อยละ 31.04, 33.76 และ 30.90ตามลำดับ มีผู้ป่วยจิตเภทขาดนัดรับยาไม่ต่อเนื่อง ไม่ได้รับการรักษา ถูกกักขัง ล่ามโซ่ เกิดอาการกำเริบ รุนแรง ทำร้ายร่างกายผู้อื่น มีผลกระทบต่อครอบครัว ชุมชน และสังคม
ดังนั้นทางงานสุขภาพจิตและจิตเวช โรงพยาบาลแว้ง ได้เห็นความสำคัญโรคจิตเภท จึงได้จัดทำโครงการชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแล ตำบลแว้ง เพื่อให้หน่วยงานทุกภาคส่วนตลอดจนประชาชนเห็นความสำคัญและมีทักษะการดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1 เพื่อลดอัตราการขาดนัดของผู้ป่วยโรคจิตเภท
  1. อัตราผู้ป่วยโรคจิตเภทขาดนัด≤ ร้อยละ 50
0.00
2 ข้อที่ 2 เพื่อลดอัตราการกำเริบของผู้ป่วยโรคจิตเภท
  1. อัตราผู้ป่วยจิตเวชที่มีอาการกำเริบ/อาละวาด ≤10 ราย/ปี
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 75 10,000.00 1 10,000.00
5 มี.ค. 62 ประชาคมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ปัญหาโรคจิตเภทในพื้นที่ให้ความรู้เรื่องโรคจิตเภทเครื่อข่ายชุมชน 75 10,000.00 10,000.00

1.จัดทำโครงการเสนอและขออนุมัติโครงการ 2.เตรียมวัสดุ อุปกรณ์ และสิ่งสนับสนุนการดำเนินงาน 3.ประชาคมแลกเปลี่ยนคืนข้อมูลโรคจิตเภทแก่ผู้นำครอบครัว ผู้นำชุมชน และอาสาสมัครสาธารณสุข เพื่อให้ประชาชนเห็น ความสำคัญ ค้นหาปัญหาสุขภาพจิตในชุมชนและมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาโรคจิตเภทในชุมชนร่วมกัน       4.ให้ความรู้เรื่องโรคจิตเภทเครือข่ายชุมชนและการคัดกรองและประเมินผู้ป่วยจิตเภทที่มีภาวะฉุกเฉินและการกำจัดพฤติกรรมรุนแรง    พร้อมฝึกทักษะปฏิบัติ 5.มอบรางครอบครัวผู้ดูแลผู้ป่วยโรคจิตเภทได้ดี
6.สนับสนุนและส่งเสริมให้คณะกรรมการมีการขับเคลื่อน 7.สรุปติดตามประเมินผลเมื่อสิ้นสุดโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เพื่อให้เครือข่ายในชุมชนมีส่วนร่วม ในการค้นหา คัดกรองเบื้องต้นและดูแลผู้ป่วยโรคจิตเภทแบบยั่งยืน
  2. เพื่อให้ผู้ป่วยโรคจิตเภทและชุมชนมีความรู้ เกิดทักษะในการดูแลตนเองและครอบครัวได้       3. เพื่อให้เครือข่ายมีทักษะการคัดกรองและประเมินผู้ป่วยจิตเภทที่มีภาวะฉุกเฉินในการกำจัดพฤติกรรมรุนแรง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 ก.พ. 2562 14:06 น.