กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการการดูแลสุขภาพผู้ป่วยติดเตียง
รหัสโครงการ 62-L8300-2-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม.ตำบลแว้ง
วันที่อนุมัติ 1 กุมภาพันธ์ 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 14 มีนาคม 2562 - 28 มีนาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 26 เมษายน 2562
งบประมาณ 6,950.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวเจ๊ะอามีเนาะ มะลี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลแว้ง อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 5.936,101.835place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานคนพิการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันประเทศไทยกำลังมีการเปลี่ยนแปลงทางการสาธารณสุข ปัญหาสุขภาพส่วนใหญ่พบว่า ผู้ป่วยติดเตียงเพิ่มขึ้นจากโรคเรื้อรัง ภาวะแทรกซ้อนของหลอดเลือด อุบัติเหตุและการเจ็บป่วยระยะท้ายของชีวิต ปี 2558 รัฐบาลมีนโยบายทีมหมอครอบครัวในการดูแลสุขภาพที่บ้าน โดยเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนให้เกิดการดูแลซึ่งกันและกัน จากการลงเยี่ยมบ้าน ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแว้ง พบว่า มีผู้ป่วยติดเตียงและติดบ้านทั้งสิ้น จำนวน 50 ราย จำแนกเป็นกลุ่มผู้ป่วยติดเตียง การขาดกำลังใจ ผู้ดูแลมีความเครียดเกิดปัญหาในครอบครัวตามมา ทั้งยังส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจในครอบครัว รายจ่ายเพิ่มมากขึ้น การดูแลสุขภาพที่บ้านยังเป็นบทบาทหลักของทีมสุขภาพ ขาดการมีส่วนร่วมในการดูแลของชุมชน ดังนั้นชมรม อสม. เล็งเห็นความสำคัญจึงได้ทำโครงการดูแลสุขภาพที่บ้าน สร้างเครือข่ายชุมชนดูแลผู้ป่วยติดเตียง ปี 2561 ขึ้น เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ care giver. จิตอาสา, ผู้นำชุมชน, อสม. ได้มีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยติดเตียง สามารถที่จะนำความรู้ที่ได้ไปดูแลญาติ คนใกล้ชิด หรือแนะนำผู้อื่นให้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงได้อย่างถูกต้อง เกิดเครือข่ายการดูแลผู้ป่วยติดเตียงเพิ่มมากขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่1.เพื่อพัฒนาด้านองค์ความรู้และทักษะของ อสม./จิตอาสา/ญาติผู้ป่วย ในการดูแล ผู้ป่วยติดเตียงต่อเนื่องที่บ้าน

1.ผู้ดูแลมีความรักต่อการเรียนรู้เพื่อสุขภาพในการดูแลผู้ป่วยติดเตียง 2.ผู้ดูแลบอกต่อเพื่อนบ้านหรือคนใกล้ชิดให้ได้รับความรู้เหมือนตัวเอง 3.ผู้ดูแลให้ความสนใจในการอบรมครั้งนี้และการค้นหาข้อมูลจากที่อื่นและไปปฏิบัติต่อผู้ป่วยติดเตียง

0.00
2 ข้อที่ 2. เพื่อเป็นการบริการเชิงรุกโดยให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยในชุมชน

1.ผู้ป่วยติดเตียงมีสุขภาพกายและสุขภาพใจดีขึ้นตามลำดับ 2.ผู้ป่วยติดเตียงกลับไปฝึกวิธีการออกกำลังสำหรับผู้ป่วยติดเตียงอย่างง่ายที่บ้าน.สร้างแรงจูงใจให้เพื่อนบ้านและคนรอบข้างในการทำตาม

0.00
3 ข้อที่ 3. เพื่อให้เกิดการดูแลสุขภาพผู้ป่วยติดเตียงอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

1.ผู้ดูแลมีการสร้างเครือข่ายเฝ้าระวังเรื่องสุขภาพ 2.เป็นหูเป็นตาให้เจ้าหน้าที่รัฐในการสอดส่องบ้านที่มีผู้ป่วยติดเตียง

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 6,950.00 1 6,950.00
14 มี.ค. 62 อบรมให้ความรู้ผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง 0 6,950.00 6,950.00
  1. อบรม ผู้ดูแลด้านสุขภาพในกลุ่มผู้ป่วยติดเตียง/ผู้ป่วยเรื้องรังและผู้สูงอายุในชุมชน
  2. ประสานงานทีมสุขภาพทุกระดับ
  3. จัดทำทะเบียนข้อมูลผู้ป่วยติดเตียงที่รับการดูแลอย่างต่อเนื่องจากโรงพยาบาล 4  ติดตามดูแลรักษาผู้ป่วยที่บ้าน
  4. สรุป/วิเคราะห์ประเมินผล
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ครอบครัวของผู้ป่วยติดเตียงจะมีเครือข่ายในการเฝ้าระวังดูแลมากขึ้น 2. ผู้ดูแลเข้าใจเรื่องสุขภาพมากขึ้น เช่น การกิน การออกกำลังกาย การบริหารอารมณ์ให้มีจิตใจดี 3. ผู้ป่วยติดเตียงจะไม่รู้สึกว่าตัวเองถูกทอดทิ้งและจะมีกำลังใจมากขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 ก.พ. 2562 14:52 น.