กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์ประชาชนร่วมใจแยกขยะในครัวเรือน
รหัสโครงการ 62-L8300-2-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม.ตำบลแว้ง
วันที่อนุมัติ 1 กุมภาพันธ์ 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 25 กุมภาพันธ์ 2562 - 11 มีนาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 11 เมษายน 2562
งบประมาณ 33,300.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายมะสูยี มามะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลแว้ง อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 5.936,101.835place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 170 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ทุกวันนี้ ปัญหาเรื่องการจัดการขยะ ถือเป็นหนึ่งปัญหาระดับโลก เลยก็ว่าได้ ยิ่งมนุษย์มีพัฒนาการด้านความเจริญทางวัตถุมากขึ้น ขยะจากความเจริญ ก็มีมากขึ้น และที่สำคัญ ขยะที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม ก็มีมากขึ้นเช่นกันเรามักจะได้เห็นข่าว เกี่ยวกับปัญหาขยะต่อสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นทางทะเล ต่อสัตว์น้ำ หรือขยะอันตราย ปะปนลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ ก่อให้เกิดผลเสียมากมายคนจำนวนมากทราบถึงข้อมูลเหล่านี้อย่างผ่าน ๆ แต่ในชีวิตประจำวัน อาจจะนึกไม่ถึงว่า ตัวเราคนเดียว มีผลกระทบกับปัญหานี้อย่างไร หรือเราคนเดียว จะช่วยอะไรกับเรื่องนี้ได้บ้าง จึงเป็นธรรมดา ที่จะไม่ได้ให้ความสนใจกับมันมากนัก แล้วขยะ ที่เราทิ้ง ๆ กัน ปลายทางของมัน ทิ้งแล้ว ไปไหน?ประเทศไทยเรา เป็นประเทศที่มีการสร้างขยะเฉลี่ยอยู่ที่อันดับ 70-80 ของโลก โดยประชากรหนึ่งคน จะผลิตขยะเฉลี่ย 1.1-1.5 กิโลกรัม ต่อวันจากข้อมูลปี 59 พบว่าขยะตกค้างในไทย หากนำมากองรวมกัน จะมีขนาดเท่ากับตึกใบหยก 147 ตึกเลยทีเดียว! โดยขยะส่วนมาก 64% เป็นขยะอินทรีย์ เช่น กิ่งไม้ เศษอาหาร อีก 30% เป็นขยะรีไซเคิล 3% เป็นขยะทั่วไป และ 3% เป็นขยะของเสียอันตรายจากจำนวนขยะที่กล่าวมา มีการจัดการที่ถูกต้องตามกรรมวิธี เพียง 49% เท่านั้น ในขณะที่อีก 51% ของขยะทั้งหมด ไม่สามารถกำจัดได้! จึงเกิดการทับถมสะสมเป็นเวลานาน เป็นกองขยะขนาดมหึมา อยู่ตามพื้นที่ต่าง ๆ ของประเทศไทยซึ่งบางส่วนอาจถูกนำมาเผาในที่โล่ง ส่งผลให้เกิดมลภาวะทางอากาศที่เป็นอันตรายกับประชาชนเป็นอย่างมากผลกระทบจากกองขยะที่ไม่ถูกนำไปจัดการอย่างถูกต้อง นอกจากการนำไปเผาในที่โล่ง และของเหลวอันตรายที่ซึมออกมาแล้ว เมื่อเกิดการหมักยังทำให้เกิดก๊าซ ที่ส่งผลกระทบต่อมลภาวะทางอากาศ เช่น Methane, Carbondioxide และ Hydrogen Sulfide (ก๊าซไข่เน่า) อีกด้วยหากไม่มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงในการจัดการ ทั้งในระดับภาครัฐ และระดับท้องถิ่นเกิดขึ้น ขยะทับถมในประเทศจะมีกองขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ จนวันนึง มันก็จะ..ล้น...หนึ่งในตัวแปรสำคัญของปัญหาในการจัดการขยะคือ การที่ขยะ ปะปนกันจนไม่สามารถแยกได้อย่างมีประสิทธิภาพที่ปลายทาง ทำให้ไม่สามารถจัดการขยะมูลฝอยได้ตามที่ควรจะเป็น       ดังนั้นชมรม อสม.ตำบลแว้งจึงเห็นว่าในเมื่อทุกคนเป็นต้นตอของสาเหตุปัญหาขยะล้นเมือง เราจึงจำเป็นต้องสร้างความตระหนักให้เกิดการคัดแยกขยะระดับครัวเรือนก่อนจะเป็นปัญหาใหญ่กระทบด้านสิ่งแวดล้อมจนทำให้เป็นปัญหาต่อการใช้ชีวิตของประชาชนในพื้นที่ จึงเป็นสิ่งที่ต้องเริ่มต้นขึ้นในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลแว้งในการจัดโครงการรณรงค์ประชาชนร่วมใจแยกขยะในครัวเรือนเพื่อให้เกิดการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1. เพื่อรณรงค์สร้างจิตสานึกให้กับประชาชนในการคัดแยกขยะ

1.ผู้เข้ารับการอบรมจะนำความรู้ที่ได้รับนำกลับไปแยกขยะที่บ้านร้อยละ 90 2.ผู้เข้ารับการอบรมเกิดความตระหนักบอกต่อคนใกล้ชิดร้อยละ 80 3.ผู้เข้ารับการอบรมแยกขยะจากบ้านแล้วนำมาใส่ในกรงทั้ง ที่อบต.แว้ง รพ.สต.กรือซอ มัสยิด ฯลฯร้อยละ 80

0.00
2 ข้อที่ 2. เพื่อลดปริมาณขยะก่อนนำเข้าสู่กระบวนการกำจัดอย่างถูกวิธี

1.ผู้เข้ารับการอบรมจะลดปริมาณการใช้ถุงพลาสติกและจะพกถุงผ้าไปจ่ายตลาดทุกครั้งร้อยละ 90 2. แยกถังขยะเปียกที่บ้านร้อยละ 90 3. แยกขยะอันตรายรอให้รถอบต.แว้งมาเก็บเพื่อนำไปกำจัดอย่างถูกวิธีร้อยละ 80

0.00
3 ข้อที่ 3. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการขยะโดยชุมชน

1.เกิดความร่วมมือของชุมชนในการเริ่มต้นทำในมัสยิดร้อยละ 80 2.ผู้นำชุมชนเป็นตัวอย่างการดำเนินการแยกขยะที่ดีให้ประชาชนร้อยละ 90 3.มีการพูดคุยกันตามร้านน้ำชา มัสยิด หรือสถานทื่อื่นๆที่มีโอกาสพบปะเรื่องการคัดแยกขยะ ร้อยละ 75

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 27,800.00 6 33,300.00
25 ก.พ. 62 อบรมการคัดแยกขยะ ครั้งที่ 1 (หมู่ 3) 0 5,800.00 11,300.00
28 ก.พ. 62 อบรมการคัดแยกขยะ ครั้งที่ 2 (หมู่ 4) 0 4,800.00 4,800.00
6 มี.ค. 62 อบรมการคัดแยกขยะ ครั้งที่ 4 (หมู่ 6) 0 3,800.00 3,800.00
7 มี.ค. 62 อบรมการคัดแยกขยะ ครั้งที่ 5 (หมู่ 7) 0 3,800.00 3,800.00
11 มี.ค. 62 อบรมการคัดแยกขยะ ครั้งที่ 6 (หมู่ 1,2) 0 3,800.00 3,800.00
25 เม.ย. 62 อบรมการคัดแยกขยะ ครั้งที่ 3 (หมู่ 5) 0 5,800.00 5,800.00

1.กำหนดกลุ่มเป้าหมายหลักในการดำเนินการโครงการ ( อสม. แม่บ้าน ผู้นำชุมชน นร.รร.ผสอ. ผู้นำศาสนา ผู้นำธรรมชาติ ฯลฯ)
2.แต่งตั้งคณะทำงานเครือข่ายเพื่อสร้างความร่วมมือในการทำงานร่วมกัน 3. ทำแผนประชาสัมพันธ์โครงการ ตามมัสยิด แหล่งชุมชน อบต. รพสต. ศาลาประชาคม เพื่อดึงความร่วมมือจากประชาชน 4. จัดอบรมเรื่องการคัดแยกขยะ คืนข้อมูลให้ประชาชนในพื้นที่ช่วยกันตัดสินใจว่าถึงเวลาแล้วยังที่เราจะต้องช่วยกันคัดแยกขยะ 5.ทำแผนที่เดินดินเพื่อกำหนดจุดในชุมชนให้ชัดเจนว่ามีการดำเนินการที่บ้านไหนบ้างแล้วในชุมชนเพื่อขยายไปยังเป้าหมายบ้านหลังอื่นๆต่อไปในอนาคต 6.ติดตามความก้าวหน้าของบ้านแต่ละหลังที่เข้าร่วมโครงการ 7.ประเมินผล การดำเนินการ หลังจากคัดแยกขยะแล้ว ปริมาณขยะลดลงหรือไม่ สิ่งแวดดีขึ้นอย่างไร

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้เข้ารับการอบรมมีจิตสานึกในการคัดแยกขยะทั้งยังสามารถถ่ายทอดวิชาการให้คนใกล้ชิดด้วย
  2. ลดปริมาณขยะก่อนนำเข้าสู่กระบวนการกาจัดอย่างถูกวิธี
  3. สนับสนุนกิจกรรมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการขยะโดยชุมชน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 ก.พ. 2562 10:21 น.