กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการบ้านไร้ควัน
รหัสโครงการ 62-ศ8300-2-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม.ตำบลแว้ง
วันที่อนุมัติ 1 กุมภาพันธ์ 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 21 สิงหาคม 2562 - 21 สิงหาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 20 มิถุนายน 2562
งบประมาณ 16,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายมะสูยี มามะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลแว้ง อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 5.936,101.835place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานยาสูบ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ทุกปีจะมีผู้เสียชีวิตจากบุหรี่ปีละ 40,000 คน หรืออาจจะมากกว่านั้นแต่ละปีรัฐบาลต้องเสียงบประมาณเป็นค่ารักษาโรคที่เกิดจากบุหรี่มากมาย โทษของบุหรี่สมัยนี้มีมากกว่าสมัยก่อนหลายเท่าเนื่องจากบุหรี่มีสารนิโคตินและ ทาร์ ต่ำทำให้คนสูดบุหรี่เข้าปอดให้ลึกๆผู้ที่อยู่กับผู้ที่สูบบุหรี่ก็ได้รับผลเช่นเดียวกันเราเรียกกลุ่มนี้ว่าสูบบุหรี่มือสอง ควันที่ออกจากผู้สูบบุหรี่จะมีสารที่มีขนาดเล็กสามารถเข้าปอดของผู้สูบบุหรี่มือสองผลเสียของการสูบบุหรี่ คือ หลอดเลือดสมอง ตีบ แตก ตัน มีโอกาสตาบอดถาวร โรคปอดและระบบทางเดินหายใจ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคระบบทางเดินอาหาร โรคระบบทางเดินปัสสาวะ เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ โรคเกี่ยวกับกระดูกและกล้ามเนื้อ หญิงตั้งครรภ์เสี่ยงแท้งลูกในครรภ์เสี่ยงตาย สารพัดโรคมะเร็งและอาการทางร่างกายอื่นๆ เช่น แก่เร็ว ปากเหม็น ฟันดำ ฯลฯ     “บ้านไร้ควัน” จะเกิดขึ้นได้หรือไม่? การสร้าง “บ้านไร้ควัน” คงเป็นสิ่งที่ยากจะจินตนาการว่าจะเป็นจริงได้หรือ? “ควัน” ในที่นี้หมายถึงควันจาก “บุหรี่” ซึ่งหน่วยงานด้านสาธารณสุขในต่างประเทศ เช่น องค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา หรือราชวิทยาลัย อายุรแพทย์ลอนดอนในอังกฤษ ได้ตรวจสอบพบและยืนยันว่าอันตรายของบุหรี่เกิดจากสารพิษที่อยู่ใน “ควัน” ผู้ที่ไม่สูบแต่ได้รับควันมีความเสี่ยง มีโอกาสเกิดโรคมะเร็งในปอด นอกจากนี้ มีข้อมูลที่น่าพรั่นพรึงก็คือการพบสารในควันบุหรี่ถึง 7,000 ชนิด แม้สารนิโคตินจะถูกหยิบยกขึ้นมาพูดถึงก่อนสารตัวอื่นๆอยู่เสมอ แต่ในความเป็นจริงแล้วไม่ใช่แค่นิโคตินที่ไม่ปลอดภัยต่อสุขภาพ ยังมีสารพิษอีกนับร้อยชนิดรวมอยู่ในควันบุหรี่ และสารเหล่านี้ก็คือสาเหตุหลักของการเกิดโรคภัยไข้เจ็บหลายโรคตลอดมาหน่วยงานรณรงค์เกี่ยวกับบุหรี่มีการเผยแพร่ว่า การสูบบุหรี่ไม่ได้ทำลายสุขภาพของผู้ที่สูบเท่านั้น แต่ควันที่มาจากการพ่นควันของผู้สูบ ควันที่ลอยขึ้นจากการจุดไฟที่ปลายมวนบุหรี่ รวมถึงควันที่หลงเหลืออยู่ในอากาศแม้บุหรี่จะถูกดับไปแล้ว ที่เรียกว่า “ควันบุหรี่ในสภาพแวดล้อม” หรือ “ควันบุหรี่มือสอง” ก็เป็นอันตรายต่อคนที่ไม่สูบบุหรี่ เพราะพวกเขาสามารถสูดควันที่มีสารพิษที่ลอยอยู่ในอากาศเข้าสู่ร่างกายได้และยังมีภัยมืดที่มองไม่เห็นคือ “ควันบุหรี่มือสาม” ยิ่งน่าตระหนกเนื่องจากสารพิษตกค้างจากควันบุหรี่จะติดฝังอยู่ตามเสื้อผ้า เส้นผม เฟอร์นิเจอร์ อุปกรณ์เครื่องใช้ พื้นผิวต่างๆในอาคารบ้านเรือน ในรถยนต์ ซึ่งจะทำให้ร่างกายมีโอกาสดูดซึมสารพิษตกค้างเหล่านี้เข้าไปได้ มีกรณีที่น่าสนใจคือ เมื่อปีที่ผ่านมามีรายงานในวารสารพลอสวัน (Plos One) ว่า นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียริเวอร์ไซด์ในสหรัฐอเมริกาที่ศึกษาเรื่อง “ควันบุหรี่มือ 3” ได้วิจัยกับหนูทดลองพบว่ามีการต่อต้านสารอินซูลิน ที่มีโอกาสนำไปสู่การเป็นโรคเบาหวานประเภทที่ 2 นั่นทำให้นักวิจัยเริ่มค้นคว้าต่อว่า “ควันบุหรี่มือ 3” จะส่งผลเสียต่ออวัยวะส่วนใดบ้างในคนที่ไม่สูบบุหรี่แน่นอนว่าสิ่งที่ต้องรณรงค์กันอย่างเข้มแข็งก็คือการสนับสนุนไม่ให้คนริเริ่มที่จะสูบบุหรี่โดยเฉพาะในเด็กและเยาวชน ส่วนคนที่ยังสูบบุหรี่อยู่หากสามารถเลิกได้ก็จะยิ่งดีที่สุด       ดังนั้นชมรม อสม.ตำบลแว้งจึงเห็นควรมีการจัดโครงการบ้านไร้ควัน สอดรับกับนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขโดยมีหนังสือขอให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)เชิญชวนผู้สูบบุหรี่เข้าร่วมโครงการ 3 ล้าน 3 ปี เลิกสูบบุหรี่ทั่วไทย เทิดไท้องค์ราชัน นส.ที่ สธ 0705.03/4820 ลว. 20 ธันวาคม 2561 โดย ขอให้ อสม.ที่สูบบุหรี่ทุกคนเข้าร่วมโครงการฯ ขอให้เชิญชวนผู้สูบบุหรี่เข้าร่วมโครงการฯให้ได้อย่างน้อย 3 คน ต่ออสม. 1 คน และสุดท้าย ขอให้ อสม.ช่วยรณรงค์การเลิกสูบบุหรี่ในชุมชน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ จะได้เกิดความตระหนักถึงโทษภัยของบุหรี่

1.ผู้เข้ารับการอบรมมีความต้องการเลิกสูบบุหรี่ร้อยละ 50 2.ผู้สูบบุหรี่มีการสูบในบ้านลดลงร้อยละ 90 3.ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้ร้อยละ100

0.00
2 ข้อที่ 2. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมกลุ่มเสี่ยงไม่เป็นผู้สูบหน้าใหม่

1.ลดนักสูบหน้าใหม่ได้ร้อยละ 90 2.ผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้รับบอกต่อไม่ให้มีนักสูบหน้าใหม่ได้ร้อยละ 80
3.สร้างความตระหนักให้นักสูบหน้าใหม่ร้อยละ 100

0.00
3 ข้อที่ 3. เพื่อสร้างแรงจูงใจ ส่งเสริมให้เกิดการ ลด ละ เลิก การสูบบุหรี่เพื่อสุขภาพที่ดีของตนเองและผู้อยู่ใกล้เคียง

1.ผู้สูบบุหรี่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการสูบไม่สูบในชุมชนร้อยละ 80 2.ผู้ผ่านการอบรมสามารถประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้คนสูบบุหรี่เลิกสูบได้ร้อยละ 80 3.มีกฎเกณฑ์การงดสูบบุหรี่ในที่ชุมชนร้อยละ 60

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 16,600.00 1 16,600.00
21 ส.ค. 62 1.การอบรมโทษของบุหรี่ วิธีการลด ละ เลิก บุหรี่ อันตรายที่จะเกิดขึ้นต่อคนใกล้ชิด มิติด้านศาสนา ผลวิจัยทางวิทยาศาสตร์ถึงโทษของบุหรี่ 2.สมุนไพรเลิกบุหรี่ 0 16,600.00 16,600.00

เตรียมการติดต่อเจ้าของสถานที่จัดงาน หรือหน่วยงานราชการ เพื่อขอพื้นใช้ที่จัดกิจกรรม “ต่อต้านพิษภัยควันบุหรี่” ในบริเวณถนนคนปาย     1.จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ “ต่อต้านพิษภัยควันบุหรี่”     2.เชิญชวนประชาชนและผู้ที่สนใจทั่วไป เข้าร่วมโครงการ     3.กิจกรรมเกมส์ตอบคำถามเกี่ยวกับพิษภัยของบุหรี่ เพื่อรับของรางวัล/ของที่ระลึก     4.กิจกรรมสันทนาการ       5.กิจกรรมประชาสัมพันธ์ เผยแพร่และแนะนำ การควบคุมการบริโภคยาสูบ และการรณรงค์ เพื่อการลด/ละ/เลิกการสูบบุหรี่ ให้กับเยาวชนและประชาชนทั่วไป 6.ทำรายงานสรุปกิจกรรม โครงการ “โครงการบ้านไร้ควัน”

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ โทษภัยของบุหรี่
  2. ผู้สูบหน้าใหม่ลดลง
  3. ผู้เข้ารับการอบรมมีแรงจูงใจในการ ลด ละ เลิก การสูบบุหรี่
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 ก.พ. 2562 10:40 น.