กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเยาวชนรุ่นใหม่ ใส่ใจสุขภาพ
รหัสโครงการ 62-L8300-2-08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สภาเด็กและเยาวชนตำบลแว้ง
วันที่อนุมัติ 1 กุมภาพันธ์ 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 9 เมษายน 2562 - 11 เมษายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 10 พฤษภาคม 2562
งบประมาณ 43,750.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอาริฟ อูเซ็ง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลแว้ง อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 5.936,101.835place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 70 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

องค์การอนามัยโลกและประเทศไทยมีเป้าหมายในการพัฒนาระบบสุขภาพ เป้าหมายสูงสุดของการสร้างเสริมสุขภาพและ ป้องกันโรค คือ “การที่ประชาชนสามารถแสดงบทบาทในการดูแลสุขภาพของตนเอง ครอบครัว ชุมชน สภาพแวดล้อมและสังคมโดยรวมได้อย่างยั่งยืน ด้วยความตั้งใจ เต็มใจ มีจิตสำนึกที่ดีและมีศรัทธาในการพัฒนา”การเปลี่ยนแปลงภายใต้ยุคโลกาภิวัฒน์ ส่งผลต่อสภาพสังคมและชีวิตของคนไทยในปัจจุบันและอนาคตหลายประการ ในภาคสังคมวิถีชีวิตอุบัติใหม่ที่เป็นผลจากการพัฒนาที่ผ่านมา กำลังส่งผลกระทบต่อเนื่องถึงโครงสร้างประชากรที่เปลี่ยนไป ตั้งแต่ระดับครอบครัวจนถึงระดับสังคมใหญ่ที่มีความซับซ้อนมากขึ้น วิถีชีวิตอุบัติใหม่มีผลทำให้ครอบครัวในสังคมเมืองเปลี่ยนไปคนวัยทำงานมุ่งหาเงินสร้างฐานะมากกว่าการมีครอบครัว จึงแต่งงานช้าและมีบุตรน้อยลงทำให้ประชากรเด็กน้อยลงซึ่งจะส่งผลให้เกิดวิกฤติ 1:2:4 ในอนาคต (วิกฤติสังคม ที่คนรุ่นหลาน 1 คน ต้องดูแลคนรุ่นพ่อ แม่ 2 คนและต้องดูแลคนรุ่นปู่ ย่า ตา ยาย 4 คน ) อย่างไรก็ดี การที่จะทำให้ประชาชนลุกขึ้นมาทำด้วยตนเองเป็นเรื่องยาก ต้องอาศัยการศึกษาและการเสริมเติมเต็มพลังปัญญาแก่ประชาชน ซึ่งที่ผ่านมา ในหมู่บ้าน/ชุมชน มี ประชาชนที่มีจิตอาสาเข้ามาดูแลสุขภาพของครอบครัว ชุมชน คือ อสม.แต่ก็ยังมีปัญหา ข้อจำกัดหลายประการที่ทำให้ อสม.ไม่สามารถดูแลสุขภาพเพื่อนบ้านในชุมชน ได้อย่างทั่วถึงได้และเพื่อเป็นการสร้างคนรุ่นหลานให้สามารถแสดงบทบาทในการดูแลสุขภาพของตนเอง ครอบครัว ชุมชน สภาพแวดล้อมและสังคมโดยรวมได้อย่างยั่งยืนมีจิตสำนึกที่ดีและมีศรัทธาในการพัฒนา เป็นการสร้างคน เพื่อชุมชนที่เข้มแข็ง สามารถดูแลสุขภาพคนในครอบครัว/ชุมชน ต่อไปในอนาคตได้อย่างยั่งยืน ทางสภาเด็กและเยาวชนตำบลแว้ง จึงได้จัดทำ “โครงการเยาวชนรุ่นใหม่ ใส่ใจสุขภาพ” ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1. เพื่อส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนห่างไกลจากยาเสพติด

1.เยาวชนที่เข้ารับการอบรมจะไม่สูบบุหรี่หรือถ้าสูบแล้วจะเลือกร้อยละ 100 2.ผู้เข้ารับการอบรมจะบอกต่อให้คนในครอบครัว ลด ละ เลิก บุหรี่ ร้อยละ 80 3.เยาวชนตำบลแว้งจะเป็นแกนนำในการให้คำแนะนำเพื่อนๆเรื่องยาเสพติด ร้อยละ 80

0.00
2 ข้อที่ 2. เพื่อให้เยาวชนรู้จักการป้องการโรค

1.เยาวชนปลอดจากโรค ความดัน เบาหวานร้อยละ 90 2.ผู้เข้ารับการอบรมเห็นความสำคัญของการออกกำลังกายและการกินจืดเพื่อดูแลสุขภาพร้อยละ 90 3.เยาวชนหันมาออกกำลังกายร้อยละ 95

0.00
3 ข้อที่ 3. เพื่อส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนมีความรู้เกี่ยวกับท้องในวัยรุ่น

1.ลดการตั้งครรภ์ในวันรุ่นได้ร้อยละ 80 2.นักเรียนมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง และสามารถช่วยเหลือดูแลทางด้านสุขภาพ เบื้องต้นแก่ตนเอง เพื่อนักเรียน ครอบครัว และชุมชนได้ ร้อยละ 90 3.ลดพฤติกรรมเสี่ยงเรื่องเพศได้ร้อยละ 90

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 43,750.00 1 43,750.00
9 - 11 เม.ย. 62 อบรมให้ความรู้ในเรื่องสุขภาพ 0 43,750.00 43,750.00
  1. ประชุมคณะกรรมการสภาเด็กและเยาวชนตำบลแว้งเพื่อเขียนโครงการและเสนอโครงการต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลแว้งเพื่อพิจารณาอนุมัติ
  2. วางแผนกิจกรรมกำหนดเนื้อหาวิชาวิทยากรตาม วัน เวลา สถานที่ ในการจัดโครงการ
  3. ประชาสัมพันธ์โครงการให้เด็กและเยาวชนในพื้นที่ อบต.แว้ง เห็นความสำคัญของกิจกรรมดังกล่าวและเข้าร่วมกิจกรรม
  4. ติดต่อประสานงานเพื่อขอใช้สถานที่และติดต่อวิทยากร ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะสาขาวิชานั้นๆ
  5. ดำเนินโครงการตามวัน เวลา ที่กำหนด - กิจกรรมอบรมให้ความรู้การส่งเสริมสุขภาพให้เด็กและเยาวชน - กิจกรรมนันทนาการเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน 6.ติดตามการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเด็กและเยาวชนในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง มีการทำ Pre-test Post-test เพื่อประเมินผลก่อนและหลังการเข้ารับการอบรมว่ามีความเข้าใจมากน้อยแค่ไหน 7.สรุปและประเมินผลโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กและเยาวชนทำความดีไม่เกี่ยวข้องกับสิ่งเสพติด
  2. เด็กและเยาวชนมีความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพการป้องกันโรค และสามารถนำความรู้ไปปฏิบัติในชีวิตประจำวัน
  3. เด็กและเยาวชนมีทักษะในการป้องกันตนเองเรื่องท้องในวัยรุ่น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 ก.พ. 2562 10:48 น.