กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการผู้สูงอายุจิตแจ่มใส ร่างกายแข็งแรง
รหัสโครงการ 62-L8300-3-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนยกองทุนสวัสดิการผู้สูงอายุตำบลแว้ง
วันที่อนุมัติ 1 กุมภาพันธ์ 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 25 กันยายน 2562 - 25 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 25 ตุลาคม 2562
งบประมาณ 65,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายกอเซ็ง บือราเฮง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลแว้ง อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 5.936,101.835place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 600 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยกำลังจะก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ การเปลี่ยนแปลงและเตรียมพร้อมให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี และใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุขเป็นเรื่องสำคัญ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรของประเทศไทย ทำให้ประชากรในวัยผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นประกอบกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจและสังคม มีผลให้ลักษณะครอบครัวไทยเปลี่ยนจากครอบครัวขยาย (Extend Family) ไปสู่ครอบครัวเดี่ยว (Nuclear Family) ความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัวลดลง จำนวนผู้ที่จะทำหน้าที่ดูแลผู้สูงอายุในครอบครัวลดลง มีเวลาให้ผู้สูงอายุลดลง ขาดการให้ความรักและความอบอุ่น ผู้สูงอายุจึงถูกทอดทิ้งให้อยู่โดดเดี่ยวและดำเนินชีวิตเพียงลำพังสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้ผู้สูงอายุต้องเผชิญกับปัญหาในการปรับตัวเพื่อให้สอดคล้องกับสังคมปัจจุบัน ทั้งในด้านความคิด ความเข้าใจและค่านิยมต่างๆซึ่งก่อให้ผู้สูงอายุเกิดความน้อยใจ ความเครียด ความคับข้องใจ แยกตัวออกจากสังคม ขาดสัมพันธภาพกับสมาชิกในครอบครัว ท้อแท้และเบื่อหน่ายในชีวิต ประกอบกับวัยสูงอายุเป็นวัยที่ต้องเผชิญกับรูปแบบการดำเนินชีวิตแบบใหม่ ต้องออกจากงานมีรายได้ลดลง ภาวะสุขภาพเสื่อมลง มีโรคทางกายเพิ่มมากขึ้น มีสารชีวเคมีและฮอร์โมนลดลง การสูญเสียสิ่งสำคัญของชีวิต เช่น การสูญเสียคู่ชีวิต เพราะตายจากการสูญเสียบุตรเพราะแยกไปมีครอบครัว การสูญเสียตำแหน่งหน้าที่การงาน การสูญเสียสถานภาพ หรือบทบาททางสังคม ตลอดจนการสูญเสียการเป็นที่พึ่งของครอบครัว สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญ ที่ส่งผลกระทบต่อจิตใจของผู้สูงอายุ หากผู้สูงอายุไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่จากบุคคลใกล้ชิดด้วยแล้วจะยิ่งทำให้ผู้สูงอายุว้าเหว่ มีภาวะซึมเศร้าและความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองลดลงจนเกิดความรู้สึกสิ้นหวัง แยกตัวออกจากสังคม เป็นผลให้เกิดความผิดปกติทางจิตใจที่รุนแรงและอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้
        ผู้สูงอายุในกองทุนสวัสดิการผู้สูงอายุตำบลแว้ง มีจำนวน ๗๘๐ คน ส่วนใหญ่มีปัญหาสุขภาพกาย เช่นการเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อ โรคข้อเสื่อม โรคความดันโลหิตสูง  โรคเบาหวาน ซึ่งปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญได้แก่เรื่องออกกำลังกาย อาหาร อารมณ์ ส่งผลให้ร่างกายเจ็บป่วยง่าย การเจ็บป่วยด้านสุขภาพจิตในผู้สูงอายุอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์มีความเศร้าใจ กังวลใจ น้อยใจ เสียใจ และการอยู่ร่วมในสังคมของผู้สูงอายุ บุตรหลานมักปล่อยให้อยู่โดดเดี่ยวขาดความยอมรับและความเชื่อถือด้านการพัฒนาสังคม เพื่อให้การดำเนินการพัฒนาสุขภาพผู้สูงอายุ เป็นไปอย่างต่อเนื่องเป็นรูปธรรมและเกิดการร่วมใจกัน กองทุนสวัสดิการผู้สูงอายุตำบลแว้ง จึงได้จัดทำโครงการผู้สูงอายุจิตแจ่มใส ร่างกายแข็งแรง โดยจัดให้มีการประชุมสมาชิกผู้สูงอายุ เพื่อกำหนดแนวทางในการจัดกิจกรรมการมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุ โดยศึกษาถึงสภาพปัญหาและความต้องการ มีการรับสมัครเข้าเป็นสมาชิกกองทุนสวัสดิการผู้สูงอายุ มีการอบรมบรรยายในด้านการดำรงชีวิต ให้ความรู้เกี่ยวกับอาหาร ส่งเสริมการดูแลสุขภาพร่างกายและจิตใจโดยแนะนำให้ผู้สูงอายุได้มีการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับสภาพร่างกาย ในอันเป็นประโยชน์ต่อผู้สูงอายุต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1. เพื่อส่งเสริมการพัฒนาจิตใจผู้สูงอายุ ในด้านสุขภาพ สังคม ภูมิปัญญาและเศรษฐกิจ

1.ผู้สูงอายุมีพัฒนาการดีขึ้น ในเรื่องเศรษฐกิจ สังคม และสุขภาพ 2.ผู้สูงอายุนำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมไปบอกต่อเพื่อนๆ 3.ผู้สูงอายุสามารถดูแลตัวเองเบื้องต้นที่บ้านเองได้ก่อนเข้ารับการรักษาจากสถานพยาบาล

0.00
2 ข้อที่ 2. เพื่อเสริมสร้างทักษะในการดูแลสุขภาพร่างกายของผู้สูงอายุ

1.ผู้สูอายุได้รับอุบัติเหตุในบ้านลดลง เช่น ลื่นล้มในห้องน้ำ ทานยาผิดประเภทหรือผิดเวลา ฯลฯ 2.สามารถทำอาหารเองอย่างง่ายที่เหมาะกับผู้สูงอายุที่บ้านได้
3.ผู้สูงอายุมีสภาพจิตใจดี

0.00
3 ข้อที่ 3. เพื่อเสริมสร้างให้ผู้สูงอายุมีปฏิสัมพันธ์ และตระหนักถึงความสำคัญในการอยู่ร่วมกัน ภายใต้สังคมผู้สูงอายุและครอบครัว

1.ผู้สูงอายุมีความรู้เบื้องต้นในการดูแลตนเองและคนในครอบครัว 2.สร้างการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนที่เป็นผู้สูงอายุด้วยกัน 3.ผู้สูงอายุแสดงความรักและเอื้ออาทรต่อกันเมื่อมีความยากลำบาก

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 600 65,600.00 1 65,600.00
25 ก.ย. 62 บรรยายให้ความรู้เรื่องสุขภาพผู้สูงอายุ 600 65,600.00 65,600.00

1.จัดทำโครงการและนำเสนอเพื่อขออนุมัติโครงการ
2.แต่งตั้งคณะกรรมการ มอบหมายหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินกิจกรรม 3. ประชุมคณะทำงานเพื่อร่วมกันกำหนดกรอบกิจกรรมและเตรียมพร้อมรายละเอียดงาน ผู้สูงอายุสุขภาพดีชีวีมีสุข 4. ดำเนินการจัดทำโครงการอบรมให้ความรู้และตรวจคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุ 5.กิจกรรม เรื่องสุขภาพ วัดความดัน, ตรวจสายตา, คัดกรอง, ทันตกรรม, เรื่องสิทธิผู้สูงอายุ บริการเงินกู้ไม่มีดอกเบี้ย, ทำบัตรพิการ ฯลฯ 6.ประเมินความพึงพอใจของผู้สูงอายุ วิธีสังเกต รอยยิ้ม แบบสอบถาม 100 ชุด พร้อมข้อเสนอแนะ 7.สรุปและประเมินผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สามารถพัฒนาจิตใจผู้สูงอายุ ในด้านสุขภาพ สังคม ภูมิปัญญาและเศรษฐกิจ
  2. เสริมสร้างทักษะในการดูแลสุขภาพร่างกายของผู้สูงอายุ
  3. เสริมสร้างให้ผู้สูงอายุมีปฏิสัมพันธ์ และตระหนักถึงความสำคัญในการอยู่ร่วมกัน ภายใต้สังคมผู้สูงอายุและครอบครัว
  4. ครอบครัว ชุมชน องค์กรภาครัฐ ได้มีส่วนร่วมและให้ความสำคัญกับผู้สูงอายุ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 ก.พ. 2562 11:54 น.