กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมผู้สูงอายุ (Care giver)
รหัสโครงการ 62-L8300-3-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์กองทุนสวัสดิการผู้สูงอายุตำบลแว้ง
วันที่อนุมัติ 1 กุมภาพันธ์ 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2562 - 31 พฤษภาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 28 มิถุนายน 2562
งบประมาณ 34,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายกอเซ็ง บือราเฮง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลแว้ง อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 5.936,101.835place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรของไทยที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วทำให้ประเทศเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และผลสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ 4 ครั้งที่ผ่านมา พบว่าประเทศไทยมีจำนวนและสัดส่วนของผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่องภาวะสุขภาพโดยรวมจากการให้ผู้สูงอายุประเมินภาวะสุขภาพทั่วๆไปโดยรวมของตนเอง พบว่าร้อยละ 40.5 ของผู้สูงอายุประเมินว่าตนเองมีสุขภาพปานกลาง ร้อยละ 36.9 ประเมินว่าตนเองมีสุขภาพดีและร้อยละ 3.6 ประเมินว่าตนเองมีสุขภาพดีมาก ผู้สูงอายุที่ประเมินว่าตนเองมีสุขภาพไม่ดี มีร้อยละ 16.4 และมีเพียงร้อยละ 2.6 ที่ประเมินว่าตนเองมีสุขภาพไม่ดีมากๆ เมื่อพิจารณาตามกลุ่มช่วงวัย พบว่าผู้สูงอายุวัยต้นประเมินว่า ตนเองมีสุขภาพดีมากในสัดส่วนที่สูงกว่าผู้สูงอายุวัยกลางและวัยปลาย     ข้อมูลพื้นที่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลแว้ง มีผู้สูงอายุจำนวน 789 คน ติดบ้านจำนวน 21 คน ติดเตียง 10 คน รวมกลุ่มเป้าหมายที่ต้องได้รับการดูแลแล้ว 31 คน ซึ่งปัญหาผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านติดเตียง หรือผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง คือการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพด้วยความยากลำบาก และในการดำเนินชีวิตประจำวันต้องพึ่งพาผู้ดูแล ซึ่งบางคนขาดคนดูแลพักอาศัยอยู่โดยลำพัง ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม
    เพื่อให้เกิดความร่วมมือร่วมใจในการดูแลของชุมชนในการออกเยี่ยมดูแลสุขภาพทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคมโดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะที่ต้องได้รับการดูแล จึงต้องมีการพัฒนาระบบดำเนินงานดูแลระยะยาวสำหรับผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีสุขภาวะที่ดี หรือมีสุขภาพดีขึ้น สามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้ โดยพึ่งพาน้อยที่สุด ซึ่งจะทำให้ผู้สูงอายุหรือผู้ที่มาภาวะพึ่งพิงรู้สึกมีคุณค่า มีศักดิ์ศรี และมีความสุข       ดังนั้น กองทุนสวัสดิการผู้สูงอายุตำบลแว้งจำเป็นต้องมีการเตรียมการเพื่อรองรับสภาพปัญหาของผู้มีภาวะพึ่งพิงจึงเป็นประเด็นสำคัญของระบบการดำเนินงานดูแลระยะยาวสำหรับผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง องค์การบริหารส่วนตำบลแว้ง ตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนโดยเฉพาะกลุ่มที่มีภาวะพึ่งพิงจึงได้จัดทำโครงการพัฒนาระบบการดำเนินงานดูแลระยะยาวสำหรับผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง องค์การบริหารส่วนตำบลแว้ง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1. เพื่อช่วยให้ผู้สูงอายุติดเตียง ติดบ้าน มีสุขภาพกาย สุขภาพใจ ที่ดี

1.จำนวนผู้สูงอายุที่ติดเตียงติดบ้านมีสุขภาวะดีขึ้นร้อยละ 100 2.กลุ่มผู้มีภาวะพึงพิงได้รับบริการตามชุดสิทธิประโยชน์ร้อยละ 100 3.กลุ่มผู้มีภาวะพึ่งพิงได้รับการจัดการวางแผนการดูแล (Care Plan)ร้อยละ 100

0.00
2 ข้อที่ 2. เพื่อเสริมสร้างทักษะในการดูแลสุขภาพฟื้นฟูร่างกายของผู้ดูแลผู้สูงอายุ

1.จำนวน Care giver ผ่านการอบรม ร้อยละ 80 2.จำนวน Care giver เพียงพอการผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงในพื้นที่ ร้อยละ 100
3.กลุ่ม Care giver สามารถช่วยเหลือผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงได้อย่างเป็นระบบร้อยละ 90

0.00
3 ข้อที่ 3. เพื่อให้ญาติมีทักษะในการดูแลผู้ป่วยติดเตียง

1.ญาติประเมินแบบสอบถามความพึงพอใจร้อยละ 80 2.ผู้ดูแลผู้ป่วยมีทักษะในการฟื้นฟูสภาพผู้มีภาวะพึ่งพิง ร้อยละ 90 3.ผู้ดูแลผู้ป่วยมีทักษะในการดูแลร้อยละ 90

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.จัดประชุมทีมงานคณะทำงานการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว
2.วางแผนการทำงานแผนปฏิบัติการการดูแลระยะยาว 3. จัดระบบการให้บริการเยี่ยมบ้านในผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแล 4. พัฒนาศักยภาพเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ องค์การบริหารส่วนตำบลแว้ง อสม. ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุ 5.จัดอบรมผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุ จำนวน 20 คน จำนวน 70 ชม. 6. จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเครือข่ายหน่วยบริการสาธารณสุข 7.จัดทีมหมอครอบครัวออกเยี่ยมบ้าน และจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ การทำ Care Conference โดยมีทีมสหวิชาชีพและเครือข่าย 8.จัดประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถอดบทเรียนการทำงานการดูแลระยะยาวในพื้นที่ เพื่อการพัฒนาดำเนินงานการดูแลระยะยาวที่เหมาะสมกับบริบทพื้นที่

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ช่วยให้ผู้สูงอายุติดเตียง ติดบ้าน มีสุขภาพกาย สุขภาพใจ ที่ดี
  2. เสริมสร้างทักษะในการดูแลสุขภาพฟื้นฟูร่างกายของผู้ดูแลผู้สูงอายุ
  3. ญาติมีทักษะในการดูแลผู้ป่วยติดเตียง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 ก.พ. 2562 14:01 น.