กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการร่วมใจดูแลและสร้างเสริมสุขภาพแม่และเด็ก โดยภาคีเครือข่าย ปีงบประมาณ 2562
รหัสโครงการ 62-L3045-1-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปิยามุมัง
วันที่อนุมัติ 11 มีนาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2561 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 21,300.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสารอ มูหะมะสาเล็ม
พี่เลี้ยงโครงการ นางวรรณพร บัวสุวรรณ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปิยามุมัง อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.823,101.376place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 11 มี.ค. 2562 30 ก.ย. 2562 21,300.00
รวมงบประมาณ 21,300.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การตั้งครรภ์เป็นระยะพัฒนาการที่สำคัญของครอบครัว โดยเฉพาะการตั้งครรภ์ครั้งแรกการตั้งครรภ์ทำให้ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากทั้งในด้านกายวิภาค ชีวเคมี และสรีรวิทยา การเปลี่ยนแปลงนี้ดำเนินไปตลอดการตั้งครรภ์และร่างกายจะมีการปรับตัวอย่างมากมาย กับการเปลี่ยนแปลงของระบบต่างๆของร่างกายที่เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างสลับซับซ้อนสัมพันธ์กับปัจจัยต่างๆ เช่น สภาพแวดล้อม เพื่อเตรียมสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์และเตรียมความพร้อมสำหรับการคลอด นอกจากนี้หญิงตั้งครรภ์  ยังต้องปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงทางจิตสังคม เช่น บทบาทหน้าที่ ภาพลักษณ์ สัมพันธภาพกับครอบครัว เป็นต้น เป้าหมายสูงสุดของงานอนามัยแม่และเด็กที่สำคัญประการหนึ่ง คือ ลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย โดยมีกลวิธีที่จะบรรลุเป้าหมายดังกล่าว ได้แก่ การให้บริการตั้งแต่ก่อนการตั้งครรภ์และขณะตั้งครรภ์ การดูแลขณะเจ็บครรภ์คลอด การประเมินภาวะเสี่ยงของมารดาขณะตั้งครรภ์จะสามารถป้องกันและแก้ไขปัญหาทั้งที่จะเกิดแก่มารดาและทารกได้ ปัจจัยด้านอายุมารดาที่อายุน้อยและมารดาที่อายุมากมีผลต่อการตั้งครรภ์และการคลอดทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม เช่น การคลอดก่อนกำหนด วิธีการคลอด น้ำหนักทารกแรกเกิด และการตายของมารดาและทารกปริกำเนิด ปัญหาการตั้งครรภ์เหล่านี้เป็นผลมาจากการตั้งครรภ์ในช่วงอายุที่ไม่เหมาะสม ภาวะเสี่ยงต่างๆขณะตั้งครรภ์ของหญิงตั้งครรภ์ การดูแลสุขภาพตนเองขณะตั้งครรภ์ ทั้งในเรื่องการรับบริการฝากครรภ์ที่ครบตามเกณฑ์ ด้านโภชนาการ การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค การออกกำลังกาย และ การพักผ่อนเพื่อผ่อนคลาย รวมไปถึงการดูแลสุขภาพจิตใจและการปรับตัวเพื่อรับการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านด้านร่างกาย ด้านจิตใจ และด้านสังคมเพื่อรองรับบทบาทหน้าที่ และภาพลักษณ์ใหม่ที่จะเกิดขึ้น จากสถานการณ์ปีงบประมาณ 25๖๑ มีหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงตั้งครรภ์ที่ 4 ขึ้นไป อายุมากกว่า 35 ปี มีภาวะความดันโลหิตสูงในหญิงตั้งครรภ์ เบาหวานขณะตั้งครรภ์ หอบ ไทรอยด์ ภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์มีก้อนเนื้อในมดลูก 1 ราย จะเห็นได้ว่าแนวโน้มภาวะเสี่ยงของหญิงตั้งครรภ์เพิ่มมากขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 16,050.00 4 21,300.00
7 ม.ค. 62 กิจกรรมที่ 3 อบรมพ่อแม่ “โรงเรียนพ่อแม่” ให้แก่หญิงตั้งครรภ์และสามีหรือญาติ 0 4,500.00 4,500.00
18 ก.พ. 62 กิจกรรมที่ 1. อบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการทีมแกนนำอนามัยแม่และเด็กเรื่องการค้นหาหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ การดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงและหญิงหลังคลอด หมู่ละ ๑๐ คน ๕ หมู่บ้าน 0 4,950.00 4,950.00
18 ก.พ. 62 กิจกรรมที่ 2 focus group หญิงตั้งครรภ์รายใหม่ที่ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์และหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีดที่รพ.สต. 0 6,600.00 6,600.00
18 ก.พ. 62 กิจกรรมที่ 4. อบรมให้ความรู้หญิงตั้งครรภ์อายุครรภ์32 สัปดาห์ขึ้นไปและสามีหรือญาติ 0 0.00 5,250.00

3.1 จัดเวทีแลกเปลี่ยนจัดตั้งทีมเครือข่ายงานอนามัยแม่และเด็กหมู่บ้านหมู่ละ ๑๐ คนเพื่อร่วมกันค้นหาปัญหาเกี่ยวกับงานอนามัยแม่และเด็กในงบประมาณปีที่ผ่านมา 3.2 จัดอบรมให้ความรู้เรื่องงานอนามัยแม่และเด็กเรื่องภาวะเสี่ยงในหญิงตั้งครรภ์ ระยะคลอด หลังคลอดเพื่อพัฒนาศักยภาพให้แก่แกนนำอนามัยแม่และเด็ก
- ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ - เบาหวานขณะตั้งครรภ์ - ภาวะซีดขณะตั้งครรภ์ - โรคเรื้อรังอื่นๆ - ภาวะแทรกซ้อนหลังคลอด เช่นตกเลือดหลังคลอด ภาวะเครียดหลังคลอด
3.4 focus group หญิงตั้งครรภ์รายใหม่ที่ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์และหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีดที่รพ.สต. -การหาแนวทางแก้ปัญหาร่วมกันโดยให้ครอบครัวมีส่วนร่วม -สอนการรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็ก โดยสอนการทำปฏิทินกินยา(ป้องกันการลืม) -การเตรียมสามีหรือญาติเพื่อให้เลือดแก่หญิงตั้งครรภ์
3.4 อบรม “โรงเรียนพ่อแม่” ให้แก่หญิงตั้งครรภ์ ทุกวันอังคารที่ 3 ของเดือน (หญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์น้อยกว่า 28 สัปดาห์ เข้ารับการอบรมร้อยละ 90,สามีและญาติเข้ารับการอบรมอย่างน้อยร้อยละ 30) -ดูแลสุขภาพจิตใจและการปรับตัวเพื่อรับการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านร่างกาย ด้านจิตใจ และด้านสังคมเพื่อรองรับบทบาทหน้าที่ และภาพลักษณ์ใหม่ที่จะเกิดขึ้น     - ตรวจสุขภาพช่องปากและฟันแก่หญิงตั้งครรภ์ - การดูแลสุขภาพตนเองขณะตั้งครรภ์ ทั้งในเรื่องการรับบริการฝากครรภ์ที่ครบตามเกณฑ์ ด้านโภชนาการ การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค การออกกำลังกาย และ การพักผ่อนเพื่อผ่อนคลาย - สอนภาวะเสี่ยงต่างๆขณะตั้งครรภ์

3.5 อบรมให้ความรู้หญิงตั้งครรภ์ อายุครรภ์32 สัปดาห์ขึ้นไป (ร้อยละ100 หญิงตั้งครรภ์ต้องเจาะเลือด (lab 2),ร้อยละ60ของหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์,หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง ตามเกณฑ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ,ภาวะโลหิตจางของหญิงตั้งครรภ์ไม่เกินร้อยละ 10) - สอนการนับลูกดิ้นและการบันทึก - การสังเกตอาการผิดปกติที่ต้องพบแพทย์ - เจาะเลือดครั้งที่ 2
- สาธิตท่าให้นมบุตร(ให้นมแม่อย่างเดียว 6 เดือน,การเก็บนมของมารดาที่ทำงานนอกบ้าน) - การเตรียมการคลอด(หลักฐานต่างๆ อุปกรณ์แม่และเด็ก) - สอนการหายในและการนวดเพื่อบรรเทาอาการปวด - สอนการวางแผนครอบครัวในหญิงวัยเจริญพันธ์ที่เป็นโรคเรื้อรัง - สอนให้ความรู้ตรวจหลังคลอดคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและเต้านม 3.6 ติดตาม การดูแลหญิงตั้งครรภ์ ระยะคลอด ระยะหลังคลอดที่มีภาวะเสี่ยง เพื่อประเมินและให้ข้อแนะนำในการปฏิบัติตัวตามมาตรฐานทุกเดือน 3.7 ประเมินผลโครงการและสรุปรายงานผลการดำเนินงานให้กองทุนฯ และหน่วยที่เกี่ยวข้องทราบ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

7.1 เกิดการมีส่วนร่วมและได้รับความร่วมมือจากองค์กรชุมชนและองค์การบริหารส่วนตำบล
  ปิยามุมัง ในการดำเนินงานแก้ไขปัญหาและพัฒนางานอนามัยแม่และเด็ก 7.2 หญิงมีครรภ์ มีความรู้ ความเข้าใจ และมีพฤติกรรมในการดูแลตนเองที่ถูกต้องขณะตั้งครรภ์ เพื่อลดภาวะเสี่ยงระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด และหลังคลอด
7.3 ทีมงานแกนนำอนามัยแม่และเด็ก มีบทบาทในการส่งเสริมสุขภาพแม่และเด็ก สามารถถ่ายอดความรู้สู่ชุมชนได้ และชุมชนมีแผนงาน มีมาตรการทางสังคมเพื่อการพัฒนางานอนามัยแม่และเด็กโดยชุมชน 7.4 ลดอัตราการตายของมารดา ไม่เกิน 16.66 ต่อการเกิดมีชีพแสนคน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 ก.พ. 2562 16:20 น.