โครงการลดละเลิกบุหรี่ สู่ชุมชนน่าอยู่ประจำปีงบประมาณ 2560
ชื่อโครงการ | โครงการลดละเลิกบุหรี่ สู่ชุมชนน่าอยู่ประจำปีงบประมาณ 2560 |
รหัสโครงการ | |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านน้ำตก |
วันที่อนุมัติ | 19 มกราคม 2560 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มกราคม 2560 - 30 กันยายน 2560 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 7,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางปพิชญาปัทมินทร์ |
พี่เลี้ยงโครงการ | ดานิช ดิงปาเนาะ |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลสุคิริน อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส |
ละติจูด-ลองจิจูด | 5.951,101.697place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
บุหรี่เป็นสาเหตุการตายที่สำคัญทางประชากรโลก องค์การอนามัยโลกรายงานว่าประชากรโลกเสียชีวิตจากการสูบบุหรี่ปีละ 4 ล้านคน บุหรี่เป็นสาเหตุ การตายของโรคมะเร็งปอด โรคหลอดเลือดและหัวใจ โรคถุงลมโป่งพอง และเส้นโลหิตในสมองแตกหรือตีบ ในประเทศไทยบุหรี่เป็นสาเหตุการตายของคนไทยปีละ 42,000 คน เฉลี่ยวันละ 115 คน (มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่,2544) บุหรี่นอกจากทำลายสุขภาพแล้ว ยังทำให้ประชาชนสูญเสียรายได้ จากการสำรวจ ของศูนย์วิจัยกสิกรไทย (2546) พบว่าค่าใช้จ่ายเฉลี่ยสำหรับค่าบุหรี่ของคนกรุงเทพฯ คิดเป็นเงินร้อยละ 15 ของรายได้ทั้งหมดในแต่ละเดือน และเมื่อเจ็บป่วย จากโรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่ ทำให้เสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลมากขึ้น แม้มีการรณรงค์เรื่องการเลิกสูบบุหรี่ ที่ทำให้คนไทยตื่นตัวเห็นถึง อันตรายของการสูบบุหรี่กับสุขภาพ แต่ก็พบว่า ยังมีผู้สูบบุหรี่อยู่ถึง 11 ล้านคน หรือ 21.91% ของประชากรไทย และมีผู้ได้รับควันบุหรี่และประชากรไทยร้อยละ 24.39 ของประชากร 65.18 ล้านคน มีโอกาสได้รับควันบุหรี่ในบ้าน ซึ่งในจำนวนนี้เป็นเด็ก 2.28 ล้านคน หรือร้อยละ 3.49 ของประชากรทั้งหมด (ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ, 2549)
ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลได้จัดทำโครงการลด ละ เลิกบุหรี่ เพื่อค้นหาผู้สูบบุหรี่เพื่อเข้าร่วมคลินิค โดยการการเตรียมความพร้อมให้กับผู้นำชุมชนผู้นำศาสนาและประชาชนทั่วไป ที่สมัครใจเข้าร่วมกิจกรรมในโครงการ ตระหนักและรู้เท่าทันอันตรายจากควันบุหรี่
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1.เพื่อค้นหาผู้สูบบุหรี่ 1.ความชุกผู้สูบบุหรี่ไม่เกินร้อยละ 15 |
||
2 | 2.เพื่อให้ผู้สูบบุหรี่เข้าร่วมคลินิกลด ละเลิก บุหรี่ 2.ผู้สูบบุหรี่เข้าร่วมคลินิกลด ละเลิก บุหรี่ |
||
3 | 3.เพื่อเกิดมาตรการกลไกทางสังคม ในการสร้างเครือข่ายผู้ลด ละ เลิกบุหรี่ 3.เกิดมาตรการกลไกทางสังคม ในการสร้างเครือข่ายผู้ลด ละ เลิกบุหรี่ |
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
๑.ค้นหาคัดกรองผู้สูบบุหรี่อายุ ๑๔ ปีขึ้นไป ๒.จัดตั้งคลินิกลด ละ เลิกบุหรี่ ๓.ใช้วิธีการทางศาสนา - ผู้นำโมเดล - ผู้นำศาสนาสอดแทรกเนื้อหาโทษของบุหรี่ ในวันละหมาดวันศุกร์ ๔.วิธีการรณรงค์ในที่สาธารณะ - ติดสติกเกอร์ ตามสถานที่สาธารณะ มัสยิด วัด โรงเรียน - ติดไวนิล ๕.อบรมให้ความรู้
๑.ผู้นำเป็นตัวอย่างแก่ชาวบ้านในการไม่สูบบุหรี่ ๒.ผู้สูบบุหรี่เข้าร่วมคลินิกลด ละเลิก บุหรี่ และสามารถเลิกสูบบุหรี่ได้สำเร็จ ๓.เกิดมาตรการกลไกทางสังคม ในการสร้างเครือข่ายผู้ลด ละ เลิกบุหรี่ในชุมชน
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 มี.ค. 2560 16:44 น.