กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ป้องกันภาวะแทรกซ้อน ตำบลปิยามุมัง ปีงบประมาณ ๒๕๖๒
รหัสโครงการ 62-L3045-2-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลปิยามุมัง
วันที่อนุมัติ 11 มีนาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2561 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 16,550.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวแอเสาะ เหนื่องตีบ
พี่เลี้ยงโครงการ นางวรรณพร บัวสุวรรณ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปิยามุมัง อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.823,101.376place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 11 มี.ค. 2562 30 ก.ย. 2562 16,550.00
รวมงบประมาณ 16,550.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสภาพสังคมปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ และเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว ทำให้วิถีชีวิตความเป็นอยู่เปลี่ยนตามสภาพจากเดิม ทำให้พฤติกรรมของแต่ละคนเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ไม่ถูกต้อง เช่นพฤติกรรมการบริโภคอาหาร พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง อันนำไปสู่ ระบบการทำงานต่างๆของร่างกายเริ่มจะเสื่อมโทรมลง และมีโอกาสที่จะเจ็บป่วยได้ง่ายมากขึ้น โดยเฉพาะ อย่างยิ่งโรคเรื้อรัง Metabolic ได้แก่ โรคเบาหวาน, โรคความดันโลหิตสูง และโรคไขมันในเลือดผิดปกติ โรคหลอดเลือดหัวใจ ทำให้ผู้ป่วยเกิดภาวะทนทุกข์ทรมาน และทำให้เกิดความสูญเสียทั้งทรัพย์สิน และชีวิต ข้อมูลทางระบาดวิทยาพบว่าจำนวนผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในความรับผิดชอบ จำนวน ๒๔๗ คน ซึ่งเพิ่มจากปี ๒๕๖๑ คิดเป็นร้อยละ ๒๙.๙ การดูแลโรคไม่ติดต่อเรื้อรังนั้นไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะโดยแพทย์เท่านั้น แต่ขึ้นอยู่กับการดูแลตนเองของผู้ป่วย และการตรวจป้องกันภาวะแทรกซ้อน นอกจากยังมีการติดตามเยี่ยมผู้ป่วยที่บ้านเพื่อจะได้ทราบถึงปัญหาของการดูแลตนเอง และร่วมหารือ และแนะนำการแก้ไขปัญหาสุขภาพกับผู้ป่วยแต่ละราย ปัจจุบันผู้ป่วยที่มารับบริการดูแลรักษาโรคเรื้อรังดังกล่าวมีเป็นจำนวนมาก และมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่ผู้ป่วยส่วนใหญ่ก็ยังไม่ได้รับบริการดูแลภาวะแทรกซ้อนได้อย่างครบถ้วน และการรักษาส่วนใหญ่ยังเน้นโรงพยาบาลเป็นศูนย์กลาง(Hospital-based) ถึงแม้หลายๆ โรงพยาบาลจะได้รับการรับรองเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ(HPH) ก็ตาม ทำให้ไม่เกิดความยั่งยืนในระบบการดูแลสุขภาพ ผู้ป่วยและครอบครัวมีศักยภาพในการดูแลตนเองน้อย ทำให้ผู้ป่วยส่วนใหญ่ยังต้องพึ่งแพทย์ และทีมงานเป็นหลัก แต่ในความเป็นจริงการที่สามารถให้ประชาชน กลุ่มเสี่ยง ผู้ป่วย ได้ตระหนักในการดูแลตนเอง มีความรู้ สร้างทัศนคติ จะสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และปฏิบัติตัวให้ห่างจากการเกิดโรคและภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วย เพื่อลดงบประมาณในการรักษาผู้ป่วยได้เป็นจำนวนมาก   ดังนั้น ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปิยามุมัง  จึงได้จัดทำโครงการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ป้องกันภาวะแทรกซ้อน ตำบลปิยามุมัง ประจำปี 2562 ขึ้น เพื่อดูแล ส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันภาวะแทรกซ้อน ส่งเสริมสุขภาพจิต ในอันที่จะทำให้ผู้ป่วยมีสุขภาพที่ดี ไม่มีโรคแทรกซ้อนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 16,550.00 1 16,550.00
23 ก.ค. 62 ๑.กิจกรรมจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เชิงปฏิบัติการเรื่องการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนแก่แกนนำโรคเรื้อรัง ผู้ป่วยและผู้ดูแล 0 16,550.00 16,550.00

๓.๑ ขั้นเตรียมการ       ๑. ประชุมชี้แจง รายละเอียดโครงการ แก่ ผู้นำท้องถิ่น และอาสาสมัครสาธารณสุข       ๒. ร่วมกับผู้นำท้องถิ่น และอาสาสมัครสาธารณสุข สำรวจประชากรกลุ่มเป้าหมายและจัดทำเบียนประชากรกลุ่มเป้าหมาย   ๓.๒ ขั้นตอนดำเนินการ
๑. กิจกรรมจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เชิงปฏิบัติการให้ความรู้แกนนำในการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และผู้ดูแลเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน ๒. จัดอบรมให้ความรู้ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงในเขตรับผิดชอบ และผู้ดูแลเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน
๓. มอบกระเป๋าและริบบิ้นให้แก่ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง พร้อมทั้งสามารถประเมินปิงปอง 7 สีของตนเองได้ ๔. ติดตามเยี่ยมบ้านทุกเดือน ประเมินอาการและเสริมสร้างกำลังใจแก่ผู้มีภาวะแทรกซ้อน ๕. สรุปและประเมินผลโครงการ รายงานผลต่อกองทุนสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลปิยามุมัง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 อัตราการเกิดภาวะโรคแทรกซ้อนผู้ป่วยลดลง     2.ผู้ป่วยสามารถประเมินตนเองโดยใช้ปิงปอง 7 สีได้     3. ผู้ป่วย และผู้ดูแล มีความรู้ ความเข้าใจในการป้องกันภาวะแทรกซ้อนของโรคเรื้อรัง Metbolicได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 ก.พ. 2562 21:38 น.