กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมและป้องกันโรคในช่องปากกลุ่มผู้สูงอายุ
รหัสโครงการ 62-L2535-01-21
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกวาลอซีรา
วันที่อนุมัติ 14 มิถุนายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 มิถุนายน 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 17,540.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอาซูรา มาหามะ
พี่เลี้ยงโครงการ นาย อายิ หะมาดุลลาห์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปาเสมัส อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.054,101.975place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสุรา , แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกวาลอซีรา พ.ศ. 2561 พบว่า ผู้สูงอายุ 60- 74 ปี จำนวนทั้งหมด 571 คน มีฟันถาวรใช้งานอย่างน้อย 20 ซี่ จำนวน 253 คน ร้อยละ 44.31 มีฟันหลังสบกันอย่างน้อย 4 คู่สบ จำนวน 92 คน ร้อยละ 16.11 และลดลงในผู้สูงอายุตอนปลาย 80-85 ปี มีผู้สูงอายุทั้งหมด 52 คน ที่มีฟันถาวรใช้งานได้อย่างน้อย 20 ซี่ จำนวน 3 คน ร้อยละ 5.77 และมีฟันหลังสบกัน 4 คู่สบ จำนวน 8 คน เพียงร้อยละ 15.38 ทำให้ประสิทธิภาพการบดเคี้ยวลดลงชัดเจน แม้ว่ากลุ่มผู้สูงอายุตอนต้น จำนวนมากกว่าครึ่งที่มีฟันถาวรใช้งานได้ 20 ซี่ แต่ฟันถาวรที่เหลืออยู่นี้ ยังมีปัญหารอยโรคและความผิดปกติในช่องปากที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการลุกลามที่นำไปสู่ความเจ็บปวดและการสูญเสียฟัน ซึ่งปัญหาสำคัญ ได้แก่ การสูญเสียฟัน โดยเฉพาะการสูญเสียฟันทั้งปาก ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตด้านการบดเคี้ยวอย่างมาก นอกจากนี้ยังพบฟันผุที่ยังไม่ได้รับการรักษา จำนวน 251 คน ร้อยละ 43.95 รากฟันผุที่สัมพันธ์กับเหงือกร่นในวัยสูงอายุ จำนวน 112 คน ร้อยละ 19.61 โรคปริทันต์อักเสบที่มีการทำลายของเนื้อเยื่อและกระดูกรองรับรากฟันจำนวน 110 คน ร้อยละ 19.26 ซึ่งนอกจากจะเสี่ยงต่อการอักเสบ ปวดบวม ติดเชื้อ และสูญเสียฟันแล้ว ยังสัมพันธ์กับความรุนแรงของเบาหวานด้วย ดังนั้น ทางกลุ่มงานทันตกรรมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกวาลอซีรา จึงเล็งเห็นความสำคัญในการแก้ไขปัญหาโรคฟันผุ และการสูญเสียฟันในผู้สูงอายุ โดยการให้ความรู้และพัฒนาทักษะแก่ตัวบุคคล เพื่อขยายความรู้และพัฒนาทักษะให้แก่สมาชิกในชุมชนต่อไป นอกจากนี้คณะผู้ดำเนินงานได้ยึดแนวทางในการสร้างเสริมสุขภาพตามกฎบัตรออตตาวา ในการเพิ่มความสามารถของตนเองเพื่อแก้ไขปัญหาทันตสุขภาพของผู้สูงอายุ เพื่อกระตุ้นให้ผู้สูงอายุในชุมชนตระหนักถึงการดูแลทันตสุขภาพ พร้อมทั้งได้ปรับระบบบริการสุขภาพเชิงรุกเน้นการสร้างเสริมสุขภาพช่องปาก เพื่อลดปัญหาโรคสุขภาพช่องปากในผู้สูงอายุและทำให้ผู้สูงอายุมีทันตสุขภาพที่ดีต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้สูงอายุมีสภาวะช่องปากที่ดีขึ้น

ผู้สูงอายุมีสภาวะช่องปากที่ดีขึ้นร้อยละ 80

0.00
2 เพื่อให้ผู้สูงอายุได้เข้าถึงบริการทันตกรรมและได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก

ผู้สูงอายุได้เข้าถึงบริการทันตกรรมและได้รับการตรวจสุขภาพสุขภาพช่องปากร้อยละ 90

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อให้ผู้สูงอายุมีสภาวะช่องปากที่ดีขึ้น

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : เพื่อให้ผู้สูงอายุได้เข้าถึงบริการทันตกรรมและได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

18 ธ.ค. 62 2. กิจกรรมสาธิตและฝึกปฏิบัติการแปรงฟันจริงในผู้อายุและร่วมกันสร้างนวัตกรรมแปรงฟันด้ามโตสำหรับผู้สูงอายุ และตรวจฟันผู้สูงอายุพร้อมทาฟลูออไรด์วานิซในรายที่มีฟันแท้ใช้งาน 80.00 2,300.00 -
18 ธ.ค. 62 1.กิจกรรมการส่งเสริมและป้องกันโรคในช่องปากกลุ่มผู้สูงอายุ 0.00 15,240.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อัตราการเกิดโรคฟันผุในผู้สูงอายุลดลงทำให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพช่องปากที่ดีและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
  2. ผู้สูงอายุได้เข้าถึงบริการทันตกรรมและได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก
  3. เกิดการมีส่วนร่วมในการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากที่ดีภายในชุมชน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 ก.พ. 2562 00:00 น.