กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังควบคุมโรค มือ เท้า ปาก ในโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดเทศบาลเมืองทุ่งตำเสา
รหัสโครงการ 62-L5275-01-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เทศบาลเมืองทุ่งตำเสา
วันที่อนุมัติ 18 กุมภาพันธ์ 2019
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 26 กุมภาพันธ์ 2019 - 31 มีนาคม 2019
กำหนดวันส่งรายงาน 1 พฤษภาคม 2019
งบประมาณ 54,850.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอาลัชฎาวรรณ สุวรรณะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งตำเสา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.9,100.244place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสิ่งเสพติด , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 250 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรค มือเท้าปาก นับเป็นโรคที่ระบาดในเด็กโรคหนึ่งที่พบทุกปี โดยเฉพาะในช่วงที่เริ่มเข้าหน้าฝนเป็นช่วงที่มีอัตราการระบาดของโรคนี้สูงพบบ่อยในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี โดยในปี 2562 ตั้งแต่1ม.ค.- 14 ม.ค.พบเด็กป่วยด้วย โรคมือ เท้า ปากของเด็กนักเรียนสังกัดโรงเรียนอนุบาลเทศาลเมืองทุ่งตำเสา ป่วยด้วยโรคดังกล่าวแล้วจำนวน 4 คน  โดยปกติโรคนี้เป็นโรคที่ไม่น่ากลัวและหายเองได้โดยไม่มีปัญหา แต่ถ้าหากเกิดมีโรคแทรกซ้อนอาจทำให้ก้านสมองอักเสบ และส่งผลให้เกิดภาวะหายใจและระบบไหลเวียนของโลหิตล้มเหลว ถึงแก่ชีวิตได้อย่างรวดเร็ว โรคนี้ติดต่อกันได้ง่าย โดยการสัมผัสน้ำมูกน้ำลายหรืออุจจาระของผู้ป่วยโดยตรงหรือทางอ้อม โรค มือ เท้า ปาก ไม่มียารักษาจำเพาะ และยังไม่มีวัคซีนป้องกัน เด็กที่อยู่ร่วมกันเป็นจำนวนมากมีโอกาสติดโรคกันได้ง่ายโดยเฉพาะเด็กที่อยู่ในสถานรับเลี้ยงเด็ก หรือศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก       ดังนั้นเทศบาลเมืองทุ่งตำเสา โดยงานป้องกันและควบคุมโรค ฝ่ายบริหารงานสาธารณสุข กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม จึงจัดทำโครงการนี้ขึ้น เพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการป้องกันโรค มือ เท้า ปากที่ถูกต้อง อันเป็นการลดอัตราการเจ็บป่วยและป้องกันการระบาดของโรคในเด็กก่อนวัยเรียน ในโรงเรียนอนุบาลเทศบาลเมือง  ทุ่งตำเสา

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริม ความรู้ ความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพและป้องกัน โรคมือ เท้า ปากแก่ครูผู้ดูแลเด็กและผู้ปกครอง
  1. ครูผู้ดูแลเด็กและผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจ เรื่องการดูแลสุขภาพ และป้องกันโรคมือ เท้า ปาก เพิ่มขึ้น 60%
  2. มีมุมให้ความรู้เรื่องโรคมือ เท้า ปากและโรคติดต่อในโรงเรียนอนุบาลเทศบาลเมืองทุ่งตำเสา
0.00
2 เพื่อป้องกันและเฝ้าระวังไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดโรค มือ เท้า ปาก ในโรงเรียนอนุบาลเทศบาลเมือง ทุ่งตำเสา
  1. โรงเรียนอนุบาลเทศบาลเมืองทุ่งตำเสา สามารถควบคุมโรค มือ เท้า ปาก ไม่ให้เกิดการระบาดของโรคหรือเกิดโรคซ้ำภายใน 14 วัน
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. 1.จัดทำแผนงาน/โครงการ เสนอให้คณะอนุกรรมการกลั่นกรอง/คณะกรรมการกองทุนฯ พิจารณาเพื่อขออนุมัติงบประมาณ
    1. ประชุมครูผู้ดูแลเด็ก เพื่อชี้แจงและวางแผนการดำเนินกิจกรรม/โครงการ
    1. ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดกิจกรรมและสนับสนุนวิทยากรฝึกอบรม
    1. จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคมือ เท้า ปาก แก่ผู้ปกครอง และฝึกปฏิบัติทักษะการล้างมือที่ถูกต้องแก่ผู้ปกครองและเด็กเล็กพร้อมประเมินความรู้ผู้ปกครอง ก่อนและหลังการอบรม จำนวน 4 รุ่น
    1. จัดนิทรรศการให้ความรู้เรื่องโรคมือ เท้า ปาก และโรคติดต่อในเด็กก่อนวัยเรียน
    1. จัดกิจกรรมเสริมทักษะการดูแลตนเองของเด็กเล็กให้ปลอดโรค ได้แก่ ทักษะการล้างมือ โดยครูผู้ดูแลเด็ก
    1. กิจกรรมทำความสะอาดของเล่น/ของใช้ทุกวันศุกร์ของสัปดาห์ระยะเวลา 1 เดือนกรณีพบเด็กป่วย
    1. ครูและผู้ดูแลเด็กตรวจคัดกรอง และบันทึกอาการป่วยของเด็กตาม แบบคัดกรองอาการป่วยรายห้องเรียน
    1. กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองทุ่งตำเสา ร่วมกับ รพสต.ในพื้นที่ติดตามและสอบสวนกรณีพบเด็กป่วย
    1. สรุปและรายงานผลการดำเนินงานแก่คณะกรรมการกองทุนฯ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. 1.ครูผู้ดูแลเด็กและผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลส่งเสริมสุขภาพและป้องกันการเกิดโรคมือเท้าปากแก่เด็กนักเรียน อีกทั้งมีทักษะการล้างมือสามารถนำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง
  2. 2.อัตราป่วย/จำนวนเด็กป่วยด้วยโรคมือ เท้า ปาก ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเด็กลดลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 ก.พ. 2019 14:50 น.