กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเยี่ยมบ้านเพื่อส่งเสริมสุขภาพช่องปากแก่มารดาหลังคลอดและทารก ประจำปี 2560
รหัสโครงการ 2560-L6896-1-09
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ งานบริการการแพทย์ ศูนย์บริการสาธารณสุข 3 เทศบาลนครตรัง
วันที่อนุมัติ 27 กุมภาพันธ์ 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 6,300.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางจิราพร ขวัญทอง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.559,99.616place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 35 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 35 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สุขภาพช่องปากเป็นส่วนหนึ่งของการมีสุขภาพดี ช่วยเสริมคุณภาพชีวิต เพราะปัญหาสุขภาพช่องปาก จะส่งผลต่อระบบอื่นๆของร่างกาย ดังนั้น เราจึงจำเป็นต้องดูแลสุขภาพช่องปากให้สมบูรณ์ ซึ่งในปัจจุบันแนวคิดการดูแลช่องปาก มิใช่การกำจัดโรคอย่างเดียวเท่านั้น แต่จะต้องดูแลสุขภาพช่องปากให้ดีตั้งแต่แรกเริ่มและคงสภาพที่ดีไว้ นั่นคือ ให้ความสำคัญในการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคซึ่งดีกว่าการรักษาเพราะกระทำในสภาพปกติ ไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวด ไม่ต้องทนทุกข์ทรมานในการปวดฟัน ไม่ต้องยุ่งยาก ไม่เสียเวลาในการรักษา ไม่ต้องเสียเงินค่ารักษาและที่สำคัญคือไม่ต้องสูญเสียฟันโรคฟันผุในฟันน้ำนมยังเป็นปัญหาที่พบมากในเด็กไทย โดยเฉพาะในเขตชนบท เด็กอายุ 3 ปีที่เพิ่งมีฟันขึ้นครบ 20 ซี่มีฟันผุแล้วถึงร้อยละ61 และเมื่ออายุ 5 ปีผุแล้วร้อยละ80การรักษาฟันผุในเด็กเล็กทำได้ยากเนื่องจากเด็กมักไม่ค่อยให้ความร่วมมือในการรักษา การป้องกันฟันผุของเด็กปฐมวัยต้องดำเนินการในช่วงเด็กอายุ 0-2 ปีโรคฟันผุส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโต พัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กในระยะยาว ซึ่งสาเหตุที่เด็กเล็กมีสภาวะฟันน้ำนมผุสูงเกี่ยวข้องกับปัจจัยต่างๆได้แก่ พฤติกรรมการเลี้ยงดูเด็กที่ไม่ถูกต้อง เช่น การดูดนมขวดคาปากการปล่อยให้เด็กหลับคาขวดนมเป็นประจำ การไม่ดูดน้ำตามหลังดูดนม การทำความสะอาดช่องปากไม่สม่ำเสมอ นอกจากนี้ชนิดของนมมีผลต่อการเกิดฟันผุของเด็กวัยนี้เช่นกันสิ่งเหล่านี้นอกจากทำให้เด็กเกิดโรคฟันผุแล้วยังส่งผลทำให้เกิดสภาวะการเจ็บป่วยต่อระบบอื่นๆด้วยในร่างกาย ได้แก่ ภาวะโภชนาการ การเจริญเติบโต การพัฒนาการเรียนรู้และการพัฒนาบุคลิกภาพในเด็กเล็กฯลฯการเฝ้าระวังโดยการดูแลเด็กเป็นระยะอย่างต่อเนื่องจะช่วยให้พบปัญหาเริ่มแรกและสามารถให้การป้องกันก่อนที่จะเกิดฟันผุได้ มาตรการทางวิชาการที่จะช่วยป้องกันการก่อตัวของเชื้อโรค และยังอาจหยุดหรือชะลอการเกิดฟันผุในระยะเริ่มแรกได้ ได้แก่ การแปรงฟันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ การทำความสะอาดช่องปากสม่ำเสมอและลดการบริโภคน้ำตาล การพัฒนาระบบเฝ้าระวังฟันผุในชุมชนและสร้างการมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กให้กับผู้ปกครอง และชุมชน จะช่วยลดอัตราการเกิดฟันผุเด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพดังนั้นเพื่อลดปัญหาการเกิดโรคในช่องปากของเด็กเล็กตั้งแต่เนิ่นๆ จึงควรมีการส่งเสริมสุขภาพช่องปากแก่มารดาหลังคลอด ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็ก เพื่อมุ่งเน้นที่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอนามัย โดยเฉพาะพฤติกรรมการทำความสะอาดช่องปากและพฤติกรรมการบริโภค แก่เด็กเพื่อช่วยกันเสริมสร้างสุขภาพช่องปากที่ดีให้กับเด็กต่อไป งานบริการการแพทย์ ศูนย์บริการสาธารณสุข 3 เทศบาลนครตรังจึงจัดทำโครงการเยี่ยมบ้านเพื่อส่งเสริมสุขภาพช่องปากแก่มารดาหลังคลอดและทารกประจำปี 2560 ขึ้น เพื่อเป็นช่องทางหนึ่งที่สำคัญในการส่งเสริมป้องกันโรคในช่องปากแก่มารดาหลังคลอดและทารก ทำให้ลดภาระค่ารักษาทางทันตกรรม และเป็นโอกาสที่สามารถเข้าถึงผู้เลี้ยงดูเด็กโดยตรง ซึ่งจะทำให้ลดการเกิดโรคในช่องปากส่งผลให้กลุ่มเป้าหมาย มีสุขภาพช่องปากที่ดีต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้มารดาหลังคลอดที่ได้รับการเยี่ยมบ้านได้ตระหนักถึงความสำคัญการดูแลสุขภาพช่องปากและ ได้รับความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองและทารกได้อย่างถูกต้อง

มารดาหลังคลอดได้รับการเยี่ยมบ้าน และตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพช่องปากมากขึ้น

2 2.เพื่อให้มารดาหลังคลอดได้ฝึกทักษะการทำความสะอาดช่องปากของตนเองและทารกสามารถนำไปปฎิบัติในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกวิธี

มารดาหลังคลอดได้ฝึกทักษะการทำความสะอาดช่องปากของตนเองและทารก สามารถนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกวิธี

3 3.มารดาหลังคลอดมีความพึงพอใจกับการส่งเสริมทันตสุขภาพเพื่อการมีสุขภาพช่องปากที่ดีต่อไป

มารดาหลังคลอดมีความพึงพอใจกับการส่งเสริมทันตสุขภาพมากขึ้น

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
16 มี.ค. 60 - 30 ก.ย. 60 จัดซื้อชุดสาธิตการสอนเพื่อทำความสะอาดช่องปากแก่มารดาหลังคลอดและทารก 35 6,300.00 6,300.00
รวม 35 6,300.00 1 6,300.00
  1. ชี้แจงผู้เกี่ยวข้อง ให้ทราบวัตถุประสงค์ของการดำเนินงานตามโครงการฯ
    1. จัดทำสื่อเพื่อเผยแพร่ความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปากที่ดีให้แก่มารดาหลังคลอดและทารก
  2. ลงเยี่ยมบ้านเพื่อส่งเสริมสุขภาพช่องปากแก่มารดาหลังคลอดและทารก 4.มอบชุดสาธิตการทำความสะอาดช่องปากแก่มารดาหลังคลอดและทารกเพื่อนำไปใช้ในการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองและทารกได้อย่างถูกต้อง
  3. เก็บรวบรวมข้อมูล
  4. สรุปผลโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

7.1 มารดาหลังคลอดที่ได้รับการเยี่ยมบ้านมีความรู้ ความเข้าใจและสามารถนำทักษะที่ได้ฝึกมาปฏิบัติ ในการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองและทารกไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 7.2 มารดาหลังคลอดมีความพึงพอใจกับการส่งเสริมสุขภาพช่องปากของตนเองและทารก ยู่ในระดับมากคิดเป็นร้อยละ 90

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 มี.ค. 2560 13:46 น.