กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ตลาดปลอดหนู เทศบาลเมืองตากใบ ประจำปี 2562
รหัสโครงการ 62L7487416
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
วันที่อนุมัติ 27 ธันวาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 26,750.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอรัณย์ อารอมะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สัตว์ประเภทต่างๆเป็นพาหะนำโรคสู่มนุษย์ได้หลายโรค เช่น หนู นำโรคพิษสุนัขบ้า โรคเลปโตสไปโรซีส โรคสคัปไทฟัส โรคหนอนพยาธิต่างๆ และโรคแบคทีเรีย แมลงสาบ นำโรคที่สำคัญ คือปล่อยสารก่อภูมิแพ้ทำให้เป็นโรคหอบหืด โรคจากเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา โปรโตชัว และไวรัส ส่วนแมลงวันนำโรคอหิวาตกโรค เชื้อบิด เชื้อไข้รากสาด เชื้อแบคทีเรีย เป็นต้น เทศบาลเมืองตากใบ เป็นชุมชนที่มีการอาศัยอยู่ของประชาชนค่อนข้างหนาแน่นปัญหาที่สำคัญ คือ ขยะมูลฝอยที่เกิดจากบ้านเรือน แหล่งชุมชนมีปริมาณค่อนข้างมากการจัดสร้างอาคารบ้านเรือนต่างๆ เพิ่มมากขึ้น ปัญหาจากการเกิดอุทกภัย และเหตุอื่นๆ ส่งผลกระทบต่อการเพิ่มปริมาณของสัตว์พาหะนำโรคที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของประชาชน ไม่เพียงแต่ในชุมชนที่พบว่ามีหนูค่อยข้างชุมชม แม้แต่ในตลาดซึ่งเป็นสถานที่จัดจำหน่ายสินค้า เป็นสถานที่ซึ่งผู้ซื้อและผู้ขายมาติดต่อซื้อขายสินค้าและบริการ พบว่า ความสะอาดของตลาดยังไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานของหลักสุขาภิบาล รวมถึงการจัดการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมยังไม่เหมาะสม ก่อให้เกิดแหล่งรังโรคของสัตว์พาหะหลายชนิด โดยเฉพาะหนู มาสู่ประชาชนที่ใช้ชีวิตประจำวันในบริเวณที่เสี่ยง หนูเป็นสัตว์ที่มีการแพร่พันธุ์ค่อนข้างรวดเร็ว สามารถเพิ่มปริมาณได้ในระยะเวลาอันสั้น และเคลื่อนที่ไปหาอาหารตามจุดต่างๆ การกำเนินการควบคุมการแพร่พันธุ์ จึงต้องมีความต่อเนื่อง และดำเนินการรณรงค์อย่างพร้อมเพรียง ในห้วงเวลาเดียวกัน จึงจะช่วยลดปริมาณหนูและลดการแพร่พันธุ์ รวมทั้งการสร้างจิตสำนึก เรื่องความสะอาดหลังการดำเนินการกำจัดหนู จะช่วยลดแหล่งอาหารแพร่พันธุ์ของหนูลงได้ จากการเฝ้าติดตามสถานการณ์ของโรคฉี่หนูและเหตุเดือดร้อนรำคาญจากหนู ที่ประชาชนได้รับผลกระทบมาอย่างต่อเนื่อง ศูนย์บริการสาธารณสุข กองสาธารณสุขเทศบาลเมืองตากใบ จึงจัดทำโครงการ “ตลาดปลอดหนู”ขึ้น เพื่อพัฒนาสุขภาพของประชาชนให้ปลอดจากโรค รวมทั้งเสริมสร้างภาพลักษณ์ของตลาดสดในเขตเทศบาลเมืองตากใบ และช่วยให้ประชาชนมีความมั่นใจในความสะอาด และปลอดภัยจากโรค ที่เกิดจากหนูเป็นพาหะ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อสร้างจิตสํานึกให้ประชาชนตระหนักถึงปัญหา ร่วมป้องกัน และกําจัดหนูที่เป็นพาหะนําโรค 2. เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ในการป้องกันหนูที่เป็นพาหะนําโรค 3. เพื่อรณรงค์กําจัดหนูที่เป็นพาหะนําโรค 4. เพื่อรณรงค์ในการลด การเกิดหนูเป็นพาหะนําโรคในแหล่งที่เป็นจุดเสี่ยง 5. เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคในการบริโภคอาหารจากตลาดในเขตเทศบาลเมืองตากใบ

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑. จัดทําแผนกิจกรรมดําเนินงาน ๒. จัดทําโครงการ และเสนอต่อผู้บริหาร ๓. ประชุมประธาน คณะกรรมการชุมชน อสม. และคณะกรรมการตลาด ทุกแห่งในเขตเมืองตากใบ  เพื่อกําหนดรูปแบบการจัดกิจกรรมรณรงค์กําจัดหนูโดยประชาชนมีส่วนร่วม ๔. กําหนดรูปแบบตามความประสงค์ของทุกภาคส่วน โดยให้ใช้รูปแบบตามที่ส่วนใหญ่เห็นด้วย ๕. รณรงค์กิจกรรมตามรูปแบบที่ได้กําหนดร่วมกัน กิจกรรมประกอบด้วย ๕.๑ กิจกรรมแจกแผ่นพับความรู้เรื่องโรคฉี่หนู ๕.๒ จัดกิจกรรมกําจัดหนูในตลาดสดภายในเขตเทศบาลเมืองตากใบ และชุมชนทั้ง 9 ชุมชน โดยมอบอุปกรณ์ในการดําเนินการกําจัดหนูให้ตัวแทนจากตลาด ตัวแทนคณะกรรมการชุมชน และอาสาสมัครสาธารณสุข ไปดําเนินการรณรงค์พร้อมกัน ดังนี้ - เหยื่อพิษกําจัดหนู - ถุงมือ - หน้ากากอนามัย ๕.๓ ร่วมกับฝ่ายบริการรักษาความสะอาด จัดล้าง ทําความสะอาดตลาด จัดเก็บขยะ และทําความสะอาดตลาด จัดเก็บขยะ และทําความสะอาดคูระบายน้ำที่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์หนู ๕.๔ ขอความร่วมมือผู้ประกอบการ พ่อค้า แม่ค้า และชุมชนในการดูแลความสะอาด จัดเก็บ ขยะให้เรียบร้อย เพื่อป้องกันการเกิดแหล่งเพาะพันธุ์หนู โดยดําเนินการอย่างต่อเนื่องกระตุ้นการดําเนินงานเป็น ระยะๆ ๕.๕ ประเมินผลและติดตามผลการดําเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. อัตราการเกิดโรคจากหนูเป็นพาหะนําโรคลดลงเปรียบเทียบก่อน และหลังดําเนินโครงการ ๒. ประชาชน และผู้ประกอบการเกิดความตระหนัก และสร้างความร่วมมือในชุมชน ตลอดจน    มีความรู้และพฤติกรรมในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และกําจัดสัตว์นําโรค ๓. ประชาชนไม่เดือดร้อนรําคาญจากการที่หนูเข้าไปสร้างความเดือดร้อนรําคาญในบ้าน ใน ร้านค้า และในตลาด

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 ก.พ. 2562 10:57 น.