กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยในตำบลตะโละแมะนา
รหัสโครงการ 62-2986-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลตะโละแมะนา
วันที่อนุมัติ 21 กุมภาพันธ์ 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 7 มีนาคม 2562 - 8 เมษายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 1 เมษายน 2562
งบประมาณ 21,510.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายรอซะ แอดะสง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตะโละแมะนา อำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.604,101.401place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 7 มี.ค. 2562 7 มี.ค. 2562 16,950.00
2 14 มี.ค. 2562 8 เม.ย. 2562 4,560.00
รวมงบประมาณ 21,510.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ปริมาณขยะที่ครัวเรือนผลิตได้ต่อวัน (ก.ก.)
1,500.00
2 จำนวนประชาชนที่มีพฤติกรรมแยกขยะถูกต้อง(ครัวเรือน)
100.00
3 จำนวนหน่วยงาน/องค์กรที่มีนโยบายจัดการขยะที่ถูกต้อง(แห่ง)
3.00
4 จำนวนครัวเรือนต้นแบบด้านการจัดการขยะถูกต้อง(ครัวเรือน)
20.00
5 จำนวนหมู่บ้านที่มีนโยบายหรือมาตรการด้านการจัดการขยะที่ถูกต้อง(แห่ง)
2.00
6 จำนวนเงินที่ อปท.ใช้เพื่อการกำจัดขยะในชุมชน(บาท/ปี)
130,360.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันปัญหาขยะมูลฝอยจะทวีความรุนแรงมากขึ้นในประเทศไทย จากข้อมูลสถิติของการเกิดขยะมูลฝอยในประเทศไทย โดยเฉลี่ยแล้ว ประชากรหนึ่งคนจะผลิตขยะมูลฝอยประมาณหนึ่งกิโลกรัมโดยเฉลี่ย สืบเนื่องจากมนุษย์เราจะคุ้นเคยกับขยะมูลฝอยในชีวิตประจำวันแทบทุกขั้นตอน ทั้งนี้เพราะเราจะคุ้นเคยกับความสะดวกสบายเป็นหลัก  โดยไม่ได้คำนึงถึงเรื่องสิ่งแวดล้อมเท่าที่ควร ด้วยคิดว่าเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องไกลตัว ไม่ใช่เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับตัวเอง ดังนั้นเมื่อปฏิบัติภารกิจหรือทำกิจวัตรประจำวันซึ่งมีเหตุที่ต้องเกี่ยวข้องกับขยะมูลฝอย มักจะไม่ค่อยคำนึงถึงผลกระทบจากขยะมูลฝอยเหล่านั่นเท่าที่ควร ทั้ง ๆ ที่ปัญหาขยะมูลฝอยจะส่งผลกระทบต่อเรื่องสิ่งแวดล้อมและเรื่องสุขภาพของมนุษย์เป็นอย่างมาก สำหรับในตำบลตะโละแมะนา โดยเฉลี่ยแล้ว ปริมาณขยะจะมีประมาณ 1.5 ตันต่อวัน โดยประชาชนในพื้นที่ส่วนใหญ่จะใช้วิธีการกำจัดขยะด้วยการนำขยะมูลฝอยทิ้งในถังขยะของ อบต. และหรือเผาทำลาย เททิ้ง ซึ่งกองขยะมูลฝอยดังกล่าวนั้น เป็นแหล่งกำเนิดและอาหารของสัตว์ต่างๆที่เป็นพาหะนำโรคมาสู่คนเช่นแมลงวัน แมลงสาบ และหนูเป็นต้น ซึ่งจะเป็นบ่อเกิดของโรคทางเดินอาหารที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียและโรคอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น ด้วยเหตุนี้เอง องค์การบริหารส่วนตำบลตะโละแมะนา ได้ตระหนักถึงปัญหาขยะมูลฝอยและผลกระทบที่จะตามมากับขยะมูลฝอยในพื้นที่ที่นับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้น ประกอบกับพระราชบัญญัติสภาตำบล และองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ (รวมแก้ไขเพิ่มเติม ถึงปัจจุบัน) มาตรา ๖๗ (3) องค์การบริหารส่วนตำบลมีหน้าที่เกี่ยวกับการป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ จึงได้จัดทำโครงการ “ป้องกัน และแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยในตำบลตะโละแมะนา ประจำปีงบประมาณ 2562” ด้วยมีแนวคิดว่า หากทุกภาคส่วนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องขยะมูลฝอย ใส่ใจในเรื่องการบริหารจัดการกับขยะมูลฝอยอย่างถูกวิธี ด้วยการให้ความรู้แก่ประชาชนในพื้นที่ที่ตัวเองรับผิดชอบอย่างถูกต้อง ก็จะส่งผลดีต่อประชาชนในพื้นที่ที่รับผิดชอบ สามารถที่จะลดค่าใช้จ่ายที่อาจจะต้องนำไปใช้จ่ายในการรักษาโรคอีกต่างหาก นอกจากนี้แล้ว หากมีการบริหารจัดการขยะมูลฝอยอย่างถูกวิธีก็จะนำมูลค่าหรือรายได้สู่ประชาชนและชุมชนตามมาอีกด้วย  ทำให้ประชาชนในพื้นที่มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีสุขภาพกายที่แข็งแรงปราศจากโรคภัย ภายใต้การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในพื้นที่ด้วยการร่วมมือร่วมใจกันดำเนินการลดและคัดแยกขยะมูลฝอยตามหลักการ 3Rs นั่นคือ การใช้น้อย ใช้ซ้ำ และนำกลับมาใช้ใหม่

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดปริมาณขยะในครัวเรือน

ปริมาณขยะที่ครัวเรือนผลิตได้ต่อวัน (ก.ก.)

1500.00 800.00
2 เพื่อเพิ่มจำนวนครัวเรือนในการแยกขยะ

จำนวนประชาชนที่มีพฤติกรรมแยกขยะถูกต้อง(ครัวเรือน)

100.00 200.00
3 เพื่อเพิ่มจำนวนครัวเรือนต้นแบบในจัดการขยะ

จำนวนครัวเรือนต้นแบบด้านการจัดการขยะถูกต้อง(ครัวเรือน)

20.00 100.00
4 เพื่อเพิ่มจำนวนหน่วยงานที่มีนโยบายจัดการขยะ

จำนวนหน่วยงาน/องค์กรที่มีนโยบายจัดการขยะที่ถูกต้อง(แห่ง)

3.00 7.00
5 เพื่อเพิ่มจำนวนหมู่บ้านที่มีนโยบายจัดการขยะ

จำนวนหมู่บ้านที่มีนโยบายหรือมาตรการด้านการจัดการขยะที่ถูกต้อง(แห่ง)

2.00 4.00
6 เพื่อบริหารงบประมาณในการจัดการขยะ

จำนวนเงินที่ อปท.ใช้เพื่อการกำจัดขยะในชุมชน(บาท/ปี)

130360.00 9000.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 21,510.00 0 0.00
26 ก.พ. 62 กิจกรรมการจัดทำจุดเรียนรู้สาธิตการจัดการขยะอินทรีย์และขยะเปียก 0 4,560.00 -
7 มี.ค. 62 กิจกรรมฝึกอบรมให้ความรู้ 0 16,950.00 -
  1. เสนอโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ
  2. ติดต่อประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  3. ประชาสัมพันธ์โครงการให้กลุ่มเป้าหมายรับทราบอย่างทั่วถึง
  4. ดำเนินกิจกรรมตามโครงการ

- กิจกรรมฝึกอบรมให้ความรู้การบริหารจัดการขยะ การคัดแยกขยะ การนำขยะอินทรีย์มาใช้ประโยชน์
- กิจกรรมจัดทำจุดเรียนรู้สาธิตการจัดการขยะอินทรีย์และขยะเปียก บริเวณมัสยิด สถานศึกษาในพื้นที่
- กิจกรรมรณรงค์เดินเคาะประตูบ้าน ชี้แจงวิธีการคัดแยกขยะครัวเรือน การดูแลสุขอนามัยบริเวณบ้าน
5. สรุปผลและรายงานผลโครงการต่อหน่วยงานเจ้าของงบประมาณ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 ทำให้กลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับการบริหารจัดการขยะที่ถูกวิธีจะส่งผลดีต่อสุขภาพตามมา
2 ทำให้กลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับการบริหารจัดการขยะด้วยวิธีการลดและคัดแยกขยะมูลฝอย ตามหลักการ 3Rs
3. ทำให้ประชาชนในพื้นที่มีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงปราศจากโรคภัย

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 ก.พ. 2562 11:14 น.