กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ รู้เร็ว เข้าใจ ห่างไกลสมองเสื่อม
รหัสโครงการ 62-L5251-1-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศรีประชาเขต
วันที่อนุมัติ 21 กุมภาพันธ์ 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ - 31 พฤษภาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 31 พฤษภาคม 2562
งบประมาณ 10,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวกิ่งกนก พึ่งนุสนธิ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสำนักขาม อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.584,100.382place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ภาวะสมองเสื่อมคือกลุ่มอาการที่เกิดจากความผิดปกติต่างๆที่มีผลกระทบต่อสมอง และมีความเปลี่ยนแปลงทั้งความคิด พฤติกรรม ทำให้เกิดปัญหาต่างๆตามมาเช่น ผู้สูงอายุหลงลืมไม่สามารถทำสิ่งที่เคยทำได้ มีปัญหาในการใช้ภาษา เช่น พูดไม่รู้เรื่อง หรือการพูดให้ผู้อื่นเข้าใจได้ยาก การวางของผิดที่ผิดทาง ทำให้อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย บุคลิกภาพเปลี่ยนแปลงไป เช่น ซึมเศร้าหรืออาจจะมีบุคลิกที่กลับไปเป็นเด็กอีกครั้ง ในรายที่รุนแรงมากๆอาจไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ แม้กระทั่งอาบน้ำหรือทำกิจวัตรประจำวันอย่างอื่น ทำให้ผู้ดูแลจำเป็นต้อง ดูแลตลอดเวลา และผู้ดูแลเองอาจเกิดความเครียดขึ้นได้รวมถึงการขาดรายได้ในการทำงานอย่างอื่นอีกด้วย ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดสมองเสื่อมขึ้นเช่นความดันโลหิตสูง ไขมันในหลอดเลือดสูงและโรคเบาหวานเพราะเลือดแดงแข็งตัวไม่สามารถไปเลี้ยงสมองได้อย่างเพียงพอทำให้สมองฝ่อตัวลดลงและความสามารถถดถอยลงทั้งกระบวนการคิด ความจำและสติปัญญาเป็นต้น       ประเทศไทยได้เข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุตั้งแต่ปี ๒๕๔๘ โดยมีประชากรสูงอายุร้อยละ ๑๐.๔ หรือ ๗.๒ ล้านคน ในปี ๒๕๖๑ ปัจจุบันมีประชากรผู้สูงอายุร้อยละ ๑๗.๕ หรือประมาณ ๑๑.๖ ล้านคน และในปี ๒๕๖๒ จะเป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยมีประชากรผู้สูงอายุมากกว่าประชากรวัยเด็ก ในอนาคตอันใกล้ ประชากรผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้นอีกมากประเทศไทยจะกลายเป็นสังคมผู้สูงอายุแบบสมบูรณ์ในอีก ๓ ปีข้างหน้า คาดว่าในปี ๒๕๗๔ ประเทศจะกลายเป็นสังคมสูงวัยระดับสุดยอด คือมีประชากรผู้สูงอายุ ร้อยละ ๒๘ (นพ.สมศักด์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข) และจำนวนผู้สูงอายุในจังหวัดสงขลามีทั้งหมด๑๘๖,๙๗๖คนมีภาวะสมองเสื่อมจำนวน๑,๖๘๕คน คิดเป็นร้อยละ๐.๙(ที่มา:ระบบสารสนเทศด้านข้อมูลสุขภาพจังหวัดสงขลาSIS) จากการศึกษาสำรวจประชากรผู้สูงอายุใน อำเภอสะเดา ตำบลสำนักขามในปี พ.ศ.๒๕๖๑ มีจำนวนผู้สูงอายุทั้งหมด ๘๖๐ คน พบจำนวนผู้สูงอายุที่มีภาวะเสี่ยงต่อสมองเสื่อม ๑๓๑ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๕.๒๕ (ที่มา:สำนักงานกระทวงสาธารณสุข อำเภอสะเดา ตำบลสำนักขาม,๒๕๖๑)
      จะเห็นได้ว่ากลุ่มผู้สูงอายุมีแนวโน้มจำนวนเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นปัจจัยส่วนหนึ่งที่ทำให้อัตราการเกิดภาวะสมองเสื่อมเพิ่มมากขึ้น ผู้จัดทำโครงการจึงเห็นถึงความสำคัญในการป้องกันภาวะสมองเสื่อมในวัยสูงอายุโดยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศรีประชาเขตได้ดูแลผู้สูงอายุภายใต้ชมรมผู้สูงอายุจำนวน 50 คน ซึ่งหนึ่งในจำนวนนี้สามารถเป็นตัวแทนในการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับภาวะสมองเสื่อมได้ จึงเป็นเหตุให้ผู้จัดทำ จัดโครงการนี้ขึ้นเพื่อผู้สูงอายุได้รู้ถึงวิธีการป้องกันตนเองและสามารถเผยแพร่ข้อมูลในการเกิดภาวะสมองเสื่อมได้อย่างถูกต้องและยังสามารถพัฒนาโครงการนี้ต่อไปได้เรื่อยๆเช่นกัน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. ผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันภาวะสมองเสื่อม

1 ผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุสามารถบอกความหมายของภาวะสมองเสื่อมและการป้องกันภาวะสมองเสื่อมได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐

1.00
2 ๒. ผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุสามารถเผยแพร่และใช้ท่าบริหารสมองเสื่อมไปใช้เพื่อป้องกันภาวะสมองเสื่อม

๑. ผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐ และสามารถปฏิบัติท่าบริหารสมองเสื่อมได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐   ๒. จากการสอบถามผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุสามารถนำท่าบริหารสมองเสื่อมกลับไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐

1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 มี.ค. 62 ชี้แจงกิจกรรมและให้ความรู้ 50 9,150.00 9,150.00
1 มี.ค. 62 รณรงค์และประชาสัมพันธ์ 50 850.00 850.00
1 มี.ค. 62 กิจกรรมการบริหารสมองเสื่อม 50 500.00 500.00
รวม 150 10,500.00 3 10,500.00

วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด)     ๑. ขั้นเตรียมการ ๑.๑ จัดทำแผนงานโครงการ       ๑.๒ ประชาสัมพันธ์ให้เข้าร่วมโครงการ ๑.๓ ศึกษาข้อมูลเชิงสถิติเกี่ยวกับประชากรผู้สูงอายุและประชากรการคัดกรองภาวะสมองเสื่อม
๒. ขั้นดำเนินการ       โครงการนี้เป็นโครงการทางวิชาการ           ๒.๑ อบรมให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวการป้องกันภาวะสมองเสื่อมแก่ผู้สูงอายุ           ๒.๒ จัดกิจกรรมท่าบริหารสมองเกี่ยวกับการป้องกันภาวะสมองเสื่อมแก่ผู้สูงอายุ และเพิ่มเติมแนะนำท่าบริหารป้องกันข้อเข่าเสื่อมและการออกกำลังกายในผู้สูงอายุในแต่ละเดือน     ๓. ขั้นสรุป           ๓.๑ ติดตามเพื่อประเมินผลการปฏิบัติตัวในการใช้ท่าบริหารสมอง โดยการสุ่มจำนวนผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุประมาณ 5 คน ในแต่ละเดือน           ๓.๒ อธิบายสรุปโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันภาวะสมองเสื่อม   ๒. ผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุสามารถปฏิบัติท่าบริหารสมองเสื่อมเพื่อป้องกันภาวะสมองเสื่อม

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 ก.พ. 2562 13:03 น.