กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ สูงวัยใส่ใจสุขภาพ
รหัสโครงการ 60L7250-2-19
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชุมชน เขต ศูนย์สุขภาพชุมชนชลาทัศน์
วันที่อนุมัติ 23 กุมภาพันธ์ 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 14,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางธมลวรรณ จันทร์วงศ์ ประธาน อสม. ชุมชนวชิราซิยคี่
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โดยภาพรวมของประเทศไทย กำลังก้าวเข้าสู่ภาวะสังคมผู้สูงอายุจากอัตราการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้สูงอายุสูงกว่าประชากรโดยรวม ในปี 2548 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 10.4 ของประชากรทั้งประเทศและคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 13.4 ในปี 2558 (สัมฤทธิ์ศรีธำรงสวัสดิ์และคณะ ,2550) เนื่องจากภาวการณ์ถดถอยของสมรรถนะร่างกาย จึงมีโอกาสอย่างยิ่งที่จะก่อให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพต่อตัวผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นแล้ว สถานการณ์สุขภาพผู้สูงอายุก็มีแนวโน้มที่เป็นปัญหา ข้อมูลจากการสำรวจสุขภาพประชากรไทยโดยการตรวจร่างกายพบว่า โรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ ได้แก่ หอบหืด เบาหวานความดันโลหิตสูง มะเร็ง โลหิตจาง ปอดอุกกั้นเรื้อรัง ไขมันในเลือดสูง ไตวาย อัมพฤกษ์หรืออัมพาต วัณโรค และข้อเสื่อม ฯลฯ นอกจากโรคเรื้อรังแล้ว สิ่งที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ คือ ความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ในชีวิตประจำวัน ทั้งนี้ส่วนใหญ่ผู้สูงอายุทั้งชายและหญิง กลุ่มผู้สูงอายุวัยตอนต้นและตอนกลาง จะมีความสามารถในการทำหน้าที่อยู่ในระดับปกติร้อยละ 90 และพบว่าลดลงเป็นร้อยละ 80 ในกลุ่มผู้สูงอายุตอนปลาย 80 ปีขึ้นไป สอดคล้องกับการสำรวจของสถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุกรมการแพทย์พบว่าความสามารถในกิจวัตรประจำวันมากกว่าร้อยละ 90 ผู้สูงอายุสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ดีเพียงร้อยละ 0.7 และ 2.8 ที่ผู้สูงอายุทำเองไม่ได้เลย(สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุกรมการแพทย์, 2549) นอกจากนี้เมื่อพิจารณาพบว่าผู้สูงอายุมีอารมณ์ซึมเศร้ามากที่สุด(ร้อยละ 87) โดยผู้สูงอายุในชุมชุมเมืองมีภาวะสมองเสื่อมที่มีแนวโน้มจะพบมากขึ้น จากการสำรวจโดยใช้แบบคัดกรองสมองเสื่อม TMSE สำหรับคนไทยพบว่ามีภาวะผิดปกติในกลุ่มอายุ 60-69 ปี ร้อยละ 20 และเพิ่มขึ้นตามอายุเป็นร้อยละ 60 ในเพศชายและร้อยละ 77 ในเพศหญิง จากแนวโน้มสัดส่วนผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้นรวมถึงสถานการณ์ผู้สูงอายุในชุมชนเขตรับผิดชอบศูนย์สุขภาพชุมชลาทัศน์เป็นสังคมเมืองมีความแออัดมีผู้สูงอายุอยู่เฝ้าบ้านคนเดียว ทางชุมชนจึงได้เตรียมระบบการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุขึ้น โดยจัดทำโครงการพัฒนาผู้สูงอายุ ชื่อโครงการ “สูงวัยใช่ไร้ค่า” ขึ้นในปีงบประมาณ 2560 เพื่อพัฒนารูปแบบการดำเนินงานและระบบบริการการดูแลส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้านและชุมชนของศูนย์สุขภาพชุมชนชลาทัศน์ในเขตเทศบาลนครสงขลาขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อส่งเสริมการจัดกิจกรรมการบริการส่งเสริมสุขภาพให้กับผู้สูงวัยในชุมชน
  1. ร้อยละ 95 ของผู้สูงอายุกลุ่มเป้าหมายได้รับการดูแลเอาใจใส่ในบริการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงวัยในชุมชน
2 2. เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุได้รับการพัฒนาด้านสุขภาพกาย จิตใจ และสังคม และภูมิปัญญา
  1. ร้อยละ 80 ของผู้สูงอายุกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ในการดูแลสุขภาพตนเองดี
3 3. เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ญาติดูแลผู้สูงวัยที่บ้าน ให้มีความรู้ทักษะมั่นใจในการดูแล และมีการวางแผนการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ

 

4 5. เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีให้เกิดขึ้นในครอบครัว ชุมชน

 

5

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. เขียนโครงการเสนอขออนุมัติ
  2. ประชุมชี้แจง อสม. ร่วมกับเจ้าหน้าที่ศูนย์สุขภาพชุมชลาทัศน์

  3. จัดกิจกรรมนันทนาการ ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชน

  4. ตรวจสุขภาพที่จำเป็นและเหมาะสมในวัยผู้สูงอายุ
  5. ติดตามและประเมินผล
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้สูงอายุได้รับการส่งเสริมและมีส่วนร่วมโดยชุมชน
  2. เกิดรูปแบบการดำเนินงานกิจกรรมนันทนาการผู้สูงอายุในชุมชน
  3. ผู้สูงอายุสามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างมีคุณภาพ
  4. มีภาคีเครือข่ายในการดูแลผู้สูงอายุทั้งในส่วนของชุมชนและเจ้าหน้าที่ศูนย์บริการสุขภาพชุมขนชลาทัศน์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นรูปธรรม
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 มี.ค. 2560 11:37 น.