กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการร้านชำมาตรฐานผู้ประกอบการมีความรู้ สู่การบริโภคอย่างปลอดภัย
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม.รพ.สต.บ้านไร่
วันที่อนุมัติ 8 กุมภาพันธ์ 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 17,620.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางเกษร แซ่จู่
พี่เลี้ยงโครงการ นายณัฎฐเกียรติ ชำนิธุระการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ ๑ เป็นต้นมาได้มีการพัฒนานโยบายสาธารณสุขที่เน้นในการให้บริการรักษาพยาบาลโดยมีการขยายบริการให้ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศจนกระทั่งในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ ๙ ที่ผ่านมาที่มีนโยบายสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเพื่อให้ประชาชนได้รับบริการทางสุขภาพทั้งด้านการรักษาพยาบาลการ ฟื้นฟูสภาพ การส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคอย่างได้มาตรฐานเสมอภาคและเท่าเทียมกันโดยกำหนดยุทธศาสตร์นโยบายและแผนเพื่อให้มีการดูแลประชาชนอย่างทั่วถึงสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในการดูแลสุขภาพคนไทยตื่นตัวและเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพออกกำลังกายการใช้เครื่องอุปโภคบริโภคที่ปลอดภัยลดความเครียดเพื่อลดโรคที่สำคัญได้แก่ โรคหลอดเลือดและหัวใจ ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานและมะเร็ง เป็นต้น       ในปีงบประมาณ ๒๕๖๒ ชมรม อสม.รพ.สต.บ้านไร่ ได้ดำเนินงานด้านคุ้มครองผู้บริโภค พบว่าการใช้เครื่องอุปโภคบริโภคที่ไม่ได้มาตรฐานจากร้านชำในชุมชน ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องสำอางที่ไม่ได้คุณภาพ จำหน่ายให้กับประชาชนในชุมชน และยังจำหน่ายยาบางชนิดที่ไม่สามารถจำหน่ายได้ในร้านชำซึ่งผู้ประกอบการส่วนใหญ่ไม่มีความรู้ที่ชัดเจนเกี่ยวกับการเลือก ผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องสำอาง ที่มีคุณภาพความรู้เรื่องประเภทของยาแต่ละชนิดที่สามารถจำหน่ายได้ในร้านชำ และจำหน่ายให้กับประชาชนในชุมชนได้       ชมรม อสม.รพ.สต.บ้านไร่ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของงานคุ้มครองผู้บริโภคจึงได้จัดทำโครงการร้านชำมาตรฐานผู้ประกอบการมีความรู้สู่การบริโภคอย่างปลอดภัยเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบกิจการร้านขายของชำในด้านการค้าขายการประกอบอาหารให้ถูกสุขลักษณะและมีคุณภาพ ผู้ประกอบการร้านชำจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารเครื่องสำอาง และจำหน่ายยาเฉพาะยาสามัญประจำบ้านได้ถูกต้องตามเกณฑ์มาตรฐานและประชาชนในพื้นที่มีความปลอดภัยและมีสุขภาพดีถ้วนหน้า

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถเลือกผลิตภัณฑ์ อาหาร เครื่องสำอาง ที่มีคุณภาพ จำหน่ายให้กับ ประชาชนในชุมชนได้

 

0.00
2 เพื่อให้ผู้ประกอบการมีความรู้เรื่องประเภทของยา แต่ละชนิด และสามารถเลือกจำหน่ายเฉพาะยาสามัญประจำบ้านได้

 

0.00
3 เพื่อพัฒนาเครือข่ายงานคุ้มครองผู้บริโภค ที่สามารถให้ความรู้ และคำแนะนำในการเลือกใช้ ผลิตภัณฑ์สุขภาพแก่ประชาชน และผู้ประกอบการได้

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑. ประชุมผู้รับผิดชอบงานคุ้มครองผู้บริโภคพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่และภาคีเครือข่ายในการคุ้มครอง ๒. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ เรื่องอาหาร ยา เครื่องสำอางแก่ผู้ประกอบการ และเครือข่าย อสม. ในพื้นที่ ๓. ภาคีเครือข่ายในการคุ้มครองผู้บริโภค ออกประเมินเบื้องต้น ให้คำแนะนำและคัดเลือกร้านขายของชำมาตรฐานของแต่ละพื้นที่ ๔. ผู้รับผิดชอบงานคุ้มครองฯและกรรมการออกตรวจประเมิน สรุปผลการอบรมเพื่อวางแผนการดำเนินงานออกตรวจร้านขายของชำตามเกณฑ์มาตรฐาน โดยคัดเลือกร้านชำ หน่วยบริการละ ๒ ร้าน ๕. ดำเนินการสุ่มตรวจโดยใช้ชุดตรวจผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องสำอางร้านค้าในพื้นที่ ๖. ประชาสัมพันธ์และขอความร่วมมือในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ให้แก่ร้านขายของชำในเขตพื้นที่ต่างๆ อย่างเหมาะสมและมีมาตรฐาน ๗. สรุปผลการการประเมินผล และติดตามร้านขายของชำมาตรฐานผ่านเกณฑ์และคืนข้อมูลให้แก่ร้านขายของชำ ๘. ประกาศผล และมอบรางวัลให้แก่ร้านขายของชำที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานจากการประเมินของกรรมการและเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ผู้ประกอบการสามารถเลือกผลิตภัณฑ์ อาหาร เครื่องสำอาง ที่มีคุณภาพจำหน่ายให้กับประชาชนในชุมชนได้ ๒. ผู้ประกอบการมีความรู้เรื่องประเภทของยา แต่ละชนิดและสามารถเลือกจำหน่ายเฉพาะยาสามัญประจำบ้านได้ ๓. เครือข่ายงานคุ้มครองผู้บริโภค สามารถให้ความรู้และคำแนะนำในการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพแก่ประชาชน และผู้ประกอบการได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 ก.พ. 2562 11:03 น.