กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ อบรมแกนนำสุขภาพประจำชุมชนในเขตเทศบาลนครสงขลา
รหัสโครงการ 60-L7250-2-23
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรอสม. เทศบาลนครสงขลา
วันที่อนุมัติ 23 กุมภาพันธ์ 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 31,350.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสมจิตฟุ้งทศธรรมประธาน อสม. เทศบาลนครสงขลา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 52 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้วันที่ 20 มีนาคม ของทุกปีเป็นวันอาสาสมัครสาธารณสุขแห่งชาติ จากนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขในการเร่งพัฒนาขีดความสามารถของอาสาสมัครสาธารณสุขให้เป็น “นักจัดการสุขภาพชุมชน” ทำหน้าที่เป็นผู้นำ ผู้กำกับการด้านการจัดการสุขภาพของชุมชน ได้แก่ ทำแผนชุมชน การบริหารงบประมาณด้านสุขภาพ การจัดกิจกรรมในชุมชน และการประเมินผลการดำเนินงานด้านสุขภาพในชุมชน โดยใช้ทรัพยากรหลัก คือ คน ทุน และองค์ความรู้ที่มีอยู่ในชุมชน ตลอดระยะเวลากว่า 3 ทศวรรษ อสม.ได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเข้มแข็งมีผลงานโดดเด่นเป็นที่ประจักษ์และได้รับการยอมรับจากประชาชนว่าเป็นองค์กรอาสาสมัครที่ประสบความสำเร็จในการดูแลสุขภาพอนามัยเชิงรุก การเสริมสร้างสุขภาพและแก้ไขปัญหาสุขภาพชุมชนร่วมกับภาคีเครือข่ายต่างๆในชุมชน ชมรม อสม. เทศบาลนครสงขลาเป็นการรวมตัวกันของอาสาสมัครสาธารณสุขทั้ง 54 ชุมชนและมีคณะกรรมการบริหารชมรม 22 คน ที่ปรึกษาและรวมพี่เลี้ยงเป็น 30 คน ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการทำงานเป็นทีมที่ได้รวมกลุ่มกันมาเป็นเวลากว่า 20 ปีและเพื่อให้องค์กรได้ทำงานกับสมาชิกในแต่ละชุมชนไปในแนวทางเดียวกันจึงได้จัดให้มีการประชุมประจำเดือนทุก 2 เดือนครั้ง เพื่อวางแผนการทำงานด้านสุขภาพเชิงรุกในชุมชนทำกิจกรรมต่างในชุมชน จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพแกนนำสุขภาพประจำชุมชนขึ้นเพื่อช่วยกันพัฒนาและดูแลสุขภาพชุมชนตนเองและประชุมวางแผนการทำงานร่วมกันให้ แกนนำสุขภาพประจำชุมชนทำงานด้านสุขภาพกับประชาชนให้มีศักยภาพมีความก้าวหน้าต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อจัดประชุมคณะกรรมการแกนนำสุขภาพประจำชุมชน 54 ชุมชน ให้มีแนวทางการทำงานทีมีศักยภาพในชุมชน
  1. มีแผนสุขภาพประจำชุมชน
2 2. เพื่อการจัดทำแผนสุขภาพชุมชนทุกชุมชนเชิงรุกประจำชุมชน
  1. มีแกนนำทำงานในชุมชนอย่างต่อเนื่อง
3 3. เพื่อจัดกิจกรรมด้านสุขภาพในชุมชนและการประเมินผลการดำเนินงานด้านสุขภาพในชุมชน
  1. มีแกนนำสุขภาพประจำชุมชนอย่างน้อย 30 ชุมชน
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

5.วิธีการดำเนินการ 1. ดำเนินการเขียนโครงการเพื่ออนุมัติ 2. ประชุมคณะกรรมการชมรมเพื่อแจ้งให้สมาชิกรับทราบโครงการ 3. ติดต่อประสานงาน ขั้นดำเนินการ 1. จัดอบรมแกนนำสุขภาพประจำชุมชน 2 เดือนครั้ง 2. ประชุมทำแผนสุขภาพชุมชนมีการสำรวจข้อมูลชุมชน 3. ติดตามประเมินผลการดำเนินงานด้านสุขภาพในชุมชน การแก้ไขปัญหาสุขภาพชุมชน ขั้นสรุปและประเมินผล 1. ติดตามประเมินผลการจัดทำแผนการทำงานตามตัวชี้วัดความสำเร็จ 2. สรุปรายงานโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. มีแกนนำด้านสุขภาพประจำชุมชน
    1. คณะกรรมการบริหารชมรมได้จัดให้มีการประชุมวางแผนการทำงานในพื้นที่
    2. มีแผนสุขภาพชุมชนเพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพชุมชนและนำสู่การปฏิบัติ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 มี.ค. 2560 11:42 น.