กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ส่งเสริมทันตสาธารณสุขในโรงเรียนบ้านกือยา
รหัสโครงการ 62-L3016-1-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปะกาฮะรัง
วันที่อนุมัติ 8 มกราคม 2019
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 28 พฤษภาคม 2019 - 25 สิงหาคม 2019
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2019
งบประมาณ 17,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวบุสริน มะมิง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปะกาฮะรัง อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.833,101.232place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 117 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สถานการณ์ฟันผุของเด็กไทยทั้งประเทศ จากข้อมูลรายงาน HDC ปี 2560 พบว่าเด็กกลุ่มอายุ 12 ปีของเด็กไทยมีฟันดีไม่มีผุร้อยละ 71.9 โดยเขตสุขภาพที่ 12 มีร้อยละฟันดีไม่มผุน้อยที่สุุด คือ ร้อยละ 45.4 ซึ่งหมายความว่าเขตสุขภาพที่ 12 มีปัญหาโรคฟันผุสูงสุดในเด็ก 12 ปี สถานการณ์ฟันผุของเขตสุขภาพที่ 12 ในเด็กอายุ 12 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ.2557 - 2559 พบว่าเด็กอายุ 12 ปีในจังหวัดปัตตานี มีสถานการณ์ฟันผุร้อยละ 59.9 ใน พ.ศ.2557 พบฟันผุร้อยละ 65.2 ในปี พ.ศ.2558 และพบฟันผุร้อยละ 67.9 ในปี พ.ศ.2559 และล่าสุดในปี 2560 พบฟันผุในเด็ก 12 ปีมากถึงร้อยละ 76.76 อ้างอิงข้อมูลจาก HDC วันที่ 10 มีนาคม 2560 และเห็นได้ว่าสถานการร์ฟันผุในเด็ก 12 ปี จังหวัดปัตตานีมีสถานการณ์ฟันผุที่เลวร้ายลงตามลำดับทุกปี   สถานการณ์ฟันผุในเด็ก ป.1-ป.6 ในโรงเรียนของตำบลปะกาฮะรัง จากการตรวจสุขภาพช่องปากปี 2560 จำนวน 424 คน พบฟันแท้ผุร้อยละ 58.96 พบเหลือกอักเสบร้อยละ 10.37 และพบว่านักเรียนโรงเรียนบ้านกือยามีร้อยละฟันผุและเหงือกอักเสบสูงสุดใน 3 โรงเรียน   วิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาฟันผุของเด็กในพื้นที่ตำบลปะกาฮะรัง พบว่าเด็กมีพฤติกรรมการรับประทานขนมหวาน น้ำอัดลม ลูกอม ขนมกรุบกรอบและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล ประกอบกับมีร้านค้าในชุมชนและในโรงเรียน ผู้ปกครองสนใจเรื่องปากท้องในครอบครัวมากกว่าปัญหาสุขภาพ การไม่ตระหนักถึงความสำคัญของการมีสุขภาพช่องปากที่ดี การไม่มีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการดูแลทันตสุขภาพในโรงเรียน การไม่ได้รับการส่งเสริมการดูแลสุขภาพช่องปากอย่างจริงจังในโรงเรียน ไม่มีการแปรงฟันหลังอาหารที่เป็นกิจวัตร การไม่มีที่เก็บแปรงสีฟันอย่างเป็นรูปธรรมชัดเจน อีกทั้งการแปรงฟันของเด็กในโรงเรียนไม่มีประสิทธิภาพ ซึ่งปัญหาเหล่านี้จะส่งผลโดยตรงต่อปัญหาด้านทันตสุขภาพและอาจจะส่งผลต่อคุณภาพชีวิต คุณภาพการเรียนรู้ของนักเรียน ซึ่งพบว่าการมีสุขภาพช่องปากที่ดีจะส่งผลต่อพัฒนาการการเรียนรู้ที่ดีอย่างมีนัยสำคัญ   ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปะกาฮะรัง ได้เล็งเห็นความสำคัญของการมีสุขภาวะช่องปากที่ดีในเด็กที่อยู่ในวัยเรียนรู้และเพื่อลดสถานการณ์ฟันผุที่จะเกิดในเด็กอายุ 12 ปี จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมทันตสาธารณสุขในเด็กชั้น ป.1- ป.6ขึ้น ซึ่งมีความคาดหวังเป็นอย่างยิ่งว่านักเรียนโรงเรียนบ้านกือยารุ่นใหม่จะมสุขภาพช่่องปากที่ดี ไร้ฟันผุ มีสถานที่เก็บแปรงสีฟันในห้องเรียนอย่างเป็นรูปธรรมและเด็ก 12 ปี มีสถานการณ์ฟันผุที่ดีขึ่น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่่อให้นักเรียนแปรงฟันหลังอาหารกลางวันอย่างเป็นกิจวัตร

ร้อยละ 100 ของนักเรียนมีการแปรงฟันหลังอาหารกลางวัน

0.00
2 เพื่อให้นักเรียนมีสถานที่เก็บแปรงฟันอย่างเหมาะสม

ร้อยละ 100 ของชั้นเรียนมีที่เก็บแปรงสีฟันของนักเรียนอย่า่งเป็นรูปธรรม

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.ประชุมวางแผนกับครูแจ้งกำหนดการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องสุขภาวะทันตของเด็กในโรงเรียน 2.ให้ความรู้ในการแปรงฟัน/ปัญหาสุขภาพช่องปากแก่นักเรียนในโรงเรียน 3.สาธิตและสอนการแปรงฟันให้นักเรียนทุกคน 4.ให้นักเรียนและคุณครูประจำชั้นทุกชั้นเรียนร่วมทำที่เก็บแปรงสีฟันอย่างเป็นธรรม 5.ให้บริการทันตกรรมแก่นักเรียนที่ต้องได้รับบริการทันตกรรมตามความเหมาะสม 6.แกนนำนักเรียนมีการตรวจการแปรงฟันและส่งแบบตรวจหลังการแปรงฟันให้เจ้าหน้าที่ทันตฯทุกเดือน 7.สรุป/ประเมินผลประสิทธิภาพการแปรงฟันของนักเรียนร่วมกับครูและแกนนำนักเรียน 8.สรุปผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.นักเรียนแปรงฟันหลังอาหารกลางวันทุกวันอย่างเป็นกิจวัตร 2.นักเรียนมีสภาพแวดล้อมที่เอื้่อต่อการดูแลทันตสุขภาพในโรงเรียน 3.นักเรียนมีสุขภาพช่องปากที่ดีขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 ก.พ. 2019 15:25 น.