กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น
รหัสโครงการ 2560-ศ3351-02-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมทูบีนัมเบอร์วัน
วันที่อนุมัติ 4 พฤศจิกายน 2559
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 26 พฤษภาคม 2560 - 31 พฤษภาคม 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 6,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายวงศกรพงค์จันทรเสถียร
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโคกชะงาย อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.615,100.003place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเป็นเรื่องที่ป้องกันได้ แต่วัยรุ่นจำนวนมากยังเข้าไม่ถึงข้อมูลและบริการด้านเพศทำให้วัยรุ่นขาดความรู้และทักษะการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง ผลกระทบประการสำคัญที่เกิดจากพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของวัยรุ่น นอกจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และเอดส์ คือ การตั้งครรภ์ดังจะเห็นได้จากข้อมูลจากสำนักทะเบียนราษฎร์ กระทรวงมหาดไทย ที่พบว่า แม่คลอดบุตรอายุ ๑๐-๑๙ ปี เพิ่มจากร้อยละ ๑๓.๙ ในปี ๒๕๔๗ เป็น ร้อยละ ๑๖.๒ ในปี ๒๕๕๓และเมื่อเปรียบเทียบอัตราการตั้งครรภ์ของหญิงอายุ ๑๕-๑๙ ปี ประชากรหญิงอายุ ๑๕-๑๙ ปี ๑,๐๐๐ คน ก็พบแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นจาก อัตรา ๕๕.๐ ในปี ๒๕๔๘ เป็นอัตรา ๕๖.๑ ในปี ๒๕๕๓ (สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ ๒๕๕๔) จากการศึกษาของโรงพยาบาลรามาธิบดีชี้ให้เห็นว่า ร้อยละ ๘๐ ของการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเป็นการตั้งครรภ์แบบไม่ตั้งใจ และ เป็นการตั้งครรภ์นอกสมรสในกลุ่มที่มีการตั้งครรภ์นี้ร้อยละ ๓๐ จบลงด้วยการทำแท้ง ร้อยละ ๑๔ รายงานว่าเป็นการแท้งเอง ร้อยละ ๕๖ ได้มีการคลอดบุตร และร้อยละ ๒๕ มีการตั้งครรภ์ใน ๒ ปี (สุวรรณา เรืองกาญจนเศรษฐ์ ๒๕๕๓) ดังนั้นปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น จึงเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องได้รับการป้องกันและแก้ไขโดยทุกภาคส่วน ที่ต้องอาศัยความร่วมมืออย่างจริงจัง การให้ความรู้ที่ถูกต้องในเรื่องเพศศึกษา ในกลุ่มเป้าหมาย โดยเฉพาะนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ที่กำลังก้าวย่างสู่วันรุ่น ได้มีการเตรียมตัวเองให้พร้อมเพื่อลดปัญหาดังกล่าว ชมรมทูบีนัมเบอร์วัน ตำบลบ้านโคกชะงายจึงได้จัดทำโครงการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ปี ๒๕60เพื่อป้องกันปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องเพศศึกษา สามารถปฏิบัติตนเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อมในช่วงวัยรุ่น

เข้ารับการอบรมสามารถนำความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับปัญหาและผลกระทบที่เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร และรู้จักหน้าที่ความรับผิดชอบ

2 เพื่อให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ สามารถปฏิบัติตนเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อมในช่วงวัยรุ่น

ร้อยละของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ที่สามารถปฏิบัติตนเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อมในช่วงวัยรุ่น

3 . เพื่อสร้างความตระหนักและความภาคภูมิใจในตนเองของวัยรุ่น และมีทักษะในการปฏิเสธต่อพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการดำรงชีวิต

ผู้เข้ารับการอบรมสามารถสร้างความตระหนักและองค์ความรู้เรื่องบทบาทและคุณค่าของความเป็นชาย/หญิงในสังคมพัฒนาการทางเพศการจัดการอารมณ์สัมพันธภาพทางเพศพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของวัยรุ่นการเสริมสร้างสุขภาพวัยรุ่น

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. จัดทำโครงการ ประสานงานกับโรงเรียนเทศบาลวัดธาราสถิตย์ เพื่อกำหนดกลุ่มเป้าหมาย และระยะเวลาการอบรมนักเรียนชั้น ป.๖
  2. อบรมให้ความรู้เรื่องเพศศึกษาแก่กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 1 วัน
  3. จัดมุมความรู้เรื่องเพศศึกษาในโรงเรียน
  4. ประเมินผลและสรุปผลโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนมีความรู้เรื่องเพศศึกษาที่ถูกต้อง ปลอดภัย มีทัศนคติที่ดีในเรื่องเพศศึกษา สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปฏิบัติ หรือแนะนำบุคคลอื่นได้อย่างเหมาะสม 2.นักเรียนมีความภาคภูมิใจในตนเองของวัยรุ่น และมีทักษะในการปฏิเสธต่อพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการดำรงชีวิต
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 มี.ค. 2560 13:43 น.