กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอาสาสมัครเยาว์วัยใส่ใจผู้สูงอายุ
รหัสโครงการ 2560-L3351-02-09
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมผู้สูงอายุตำบลบ้านโคกชะงาย
วันที่อนุมัติ 4 พฤศจิกายน 2559
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 31 มีนาคม 2560 - 31 กรกฎาคม 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 12,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ชมรมผู้สูงอายุตำบลบ้านโคกชะงาย
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโคกชะงาย อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.615,100.003place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามที่สสส. มีวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ในการสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพตามพระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๔๔ และได้ส่งเสริมในพื้นที่ที่สนใจได้จัดทำโครงการอาสาสมัครเยาว์วัยใส่ใจผู้สูงอายุ (อผส.น้อย)ขึ้น เพื่อเป็นการส่งเสริมคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชน ผู้สูงอายุ ผู้ป่วย ผู้พิการและผู้ถูกทอดทิ้งให้ได้รับการดูแลด้านสุขภาพอย่างทั่วถึงนั้นและการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในชุมชน เช่น องค์การบริหารส่วนตำบล แกนนำในชุมชน โรงเรียน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้ามาร่วมดำเนินการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตชองกลุ่มเป้าหมายให้ได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องอีกทั้งยังส่งเสริมการสืบสานวัฒนธรรมอันดั้งเดิมแก่ เด็ก และเยาวชนสืบต่อ การสร้างความรัก ความเคารพ ความผูกพันระหว่างเด็ก เยาวชนและผู้สูงอายุในครอบครอบ
ชมรมฯจึงได้เล็งเห็นความสำคัญ ในเรื่องความเป็นอยู่ของประชาชน กลุ่มเป้าหมาย เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรังต่างๆ ผู้พิการ ตลอดจนผู้ที่ถูกทอดทิ้ง ให้ได้รับการดูแลจากบุตรหลาน หรือเยาวชนที่มีจิตอาสาหันมาใส่ใจ ในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตให้แก้กลุ่มเป้าหมาย มากเพิ่มขึ้นนอกจากนี้ ผู้สูงอายุทั้งที่เป็น อผส.และที่ได้รับการดูแลมีความสุข มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นจึงได้ศึกษารายละเอียดของกิจกรรมและเห็นว่า เป็นประโยชน์อย่างมากแก่ประชาชน จึงลงความเห็นกันว่า จัดทำโครงการอาสาสมัครเยาว์วัยใส่ใจผู้สูงอายุขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนที่สมัครใจเป็นอาสาสมัครมีความรู้ และทักษะที่ถูกต้องในการดูแล ผู้สูงอายุที่อยู่บ้านคนเดียวและที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้

อผส. และ อผส.น้อย ทุกคนมีความรู้ความเข้าใจมีทักษะในการปฏิบัติสามารถดูแลผู้สูงอายุผู้ป่วยโรคเรื้อรังผู้พิการได้อย่างเหมาะสมส่งผลให้สามารถดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพอยู่ร่วมกับสังคมได้ และเกิดความรักความผูกพันมีจิตใจอ่อนโยน มีเมตตาต่อเพื่อนมนุษย์มากยิ่งขึ้น

2 เพื่อปลูกฝังให้เด็กและเยาวชนมีจิตอาสาในการดูแลเอาใจใส่ผู้สูงอายุที่ขาดผู้ดูแล ซึ่งจะเป็นการ เสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้สูงอายุกับเด็กและเยาวชนให้สามารถใช้ชีวิตร่วมกันได้อย่างมีความสุข

1.อผส. และอผส.น้อยมีจิตอาสา สามารถบริการเวลาช่วยเหลือและทำประโยชน์ให้แก่สังคมไและเกิดความรักความผูกพันมีจิตใจอ่อนโยน มีเมตตาต่อเพื่อนมนุษย์มากยิ่งขึ้น 2.ภาคีเครือข่ายอื่น ๆ เข้ามามีบทบาทขับเคลื่อนการดำเนินงานและการมีส่วนร่วมของชุมชนส่งผลใหุ้มชนสามารถพึ่งตนเองได้และชุมชนมีความเข้มแข็งมากขึ้น

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑.จัดประชุมชี้แจงในระดับชุมชน เพื่อร่วมกันปรึกษาหารือ และรับทราบแนวนโยบายให้ไปในทิศทาง เดียวกัน ๒. อนุมัติโครงการจากกองทุน
๓. จัดประชุมการดำเนินงานแก่คณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง ๔. ดำเนินการอบรมตามหลักสูตร ฯและจัดทำแผนการเยี่ยมติดตามกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ ๕. ประสาน อสม.ในพื้นที่เพื่อเป็นพี่เลี้ยง ออกปฏิบัติงานตามแผน ๖. ดำเนินการอบรมตามหลักสูตร ฯและจัดทำแผนการเยี่ยมติดตามกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ ๗.ติดตาม ประเมินผลการดำเนินงาน 8. ประเมินผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.อผส.และ อผส. น้อยมีความรู้ความเข้าใจมีทักษะในการปฎิบัติสามารถดูแลผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้พิการได้อย่างเหมาะสมส่งผลให้สามารถดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพอยู่ร่วมสังคมได้ 2.อผส. อผส.น้อยมีจิตอาสาสามารถบริการเวลาช่วยเหลือและทำประโยชน์ให้แก่สังคมได้และเกิดความรักความผูกพันมีจิตใจอ่อนโยนมีเมตตาต่อเพื่อนมนุษย์มากยิ่งขึ้น 3.ภาคีเรือข่าย อื่น ๆ เข้ามามีบทบาทขับเคลื่อนการดำเนินงานและการมีส่วนร่วมของชุมชนส่งผลให้ชุมชนสามารถพึ่งตนเองได้และชุมชนมีความเข้มแข็งมากขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 มี.ค. 2560 13:49 น.