กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกปี 2560
รหัสโครงการ 2650-L3351-02-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม.รพ.สต.บ้านโคกชะงาย
วันที่อนุมัติ 4 พฤศจิกายน 2559
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 10 มีนาคม 2560 - 28 เมษายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 30,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอุไรพงค์จันทรเสถียร
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโคกชะงาย อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.615,100.003place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1000 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออก ยังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญระดับประเทศ ที่กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนด ให้เป็นโรคที่เป็นปัญหาเร่งด่วนที่สำคัญของประเทศ จากรายงานการเฝ้าระวังโรคปี ๒๕๕9 จังหวัดพัทลุงมีอัตราป่วยด้วยไข้เลือดออกสูงเป็นอันดับต้นๆของประเทศและของภาคใต้ อำเภอเมืองพัทลุงมีผู้ป่วยไข้เลือดออก เป็นอันดับต้นๆจังหวัดพัทลุง พื้นที่ตำบลโคกชะงาย ก็มีผู้ป่วยไข้เลือดออก มีอัตราป่วยสูงกว่าเกณฑ์ระดับประเทศ
สำหรับในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงาย พื้นที่หมู่ที่ ๒,๓,๔,๕,๖,๘ ตำบลโคกชะงาย มีรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก(รวมไข้เด็งกี่) จากรายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาในรอบ ๕ ปีที่ผ่านมา มีผู้ป่วยไข้เลือดออกในพื้นที่ -ปี ๒๕๕๕ จำนวน ๒ ราย อัตราป่วย๖๙.๘๓ต่อ แสนประชากร -ปี ๒๕๕๖ จำนวน ๑ ราย อัตราป่วย๓๔.๙๑ต่อ แสนประชากร -ปี ๒๕๕๗ จำนวน ๑ ราย อัตราป่วย๓๓.๓๓ต่อ แสนประชากร -ปี ๒๕๕๘ จำนวน ๑ ราย อัตราป่วย ๓๒.๙๑ ต่อ แสนประชากร -ปี ๒๕๕๙ จำนวน 14 ราย อัตราป่วย 341.63 ต่อ แสนประชากร แนวโน้มมีผู้ป่วยทุกปี ไม่มีผู้ป่วยเสียชีวิต พื้นที่เกิดโรคคือ ขณะนี้ยังมีผู้ป่วยรายใหม่ในพื้นที่ตำบลใกล้เคียง ซึ่งต้องมีการเฝ้าระวังควบคุมป้องกันโรคอย่างเข้มแข็งและต่อเนื่อง ไข้เลือดออก มีพาหะนำโรค คือ ยุงลาย ฉะนั้นหลักการควบคุมโรคที่สำคัญ การป้องกันล่วงหน้า โดยการทำลายหรือควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องทุกสัปดาห์ และครอบคลุมทุกพื้นที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในชุมชนหนาแน่น โรงเรียน และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก แหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายมักพบภายในบ้านหรือบริเวณบ้าน และเป็นภาชนะที่มีน้ำขังได้ เช่น อ่างน้ำ โอ่งน้ำ แจกัน ยางรถยนต์ จานรองขาตู้กับข้าวฯลฯ ซึ่งการควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ ต้องอาศัยความร่วมมือจากประชาชนทั่วไป องค์กรท้องถิ่น ส่วนราชการในท้องถิ่น ในการรณรงค์ให้มีการกำจัดลูกน้ำยุงลายทุกสัปดาห์ และให้มีการนำข้อมูลจากระบบเฝ้าระวังฯ เพื่อค้นหาพื้นที่เสี่ยงการเกิดโรค จัดทำแผนปฏิบัติการ ควบคุมกำกับและประเมินผลการดำเนินการควบคุมโรค ดังนั้น เพื่อให้การป้องกันโรคล่วงหน้าและการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคให้สงบโดยเร็ว ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงายจึงจัดทำโครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ปี ๒๕60เพื่อลดอุบัติการณ์และความรุนแรงจากปัญหาโรคไข้เลือดออกต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชน มีส่วนร่วมในการกำจัดลูกน้ำยุงลาย และแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายทั้งในบ้านเรือนและชุมชน

ชุมชนได้รับการสำรวจและควบคุมค่าความชุกของลูกน้ำยุงลาย (HI) ไม่เกิน 10

2 เพื่อเฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพการป้องกันโรคไข้เลือดออก/ไข้ปวดข้อยุงลาย

ชุมชน,สถานที่ราชการได้รับการควบคุมโรคไม่ให้เกิดโรคในระยะที่ 2 (Generation ที่ 2)

3 ลดอัตราป่วยหรือไม่มีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ไม่เกิน ๕๐ ต่อแสนประชากร

อัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลงไม่เกิน 50/แสนประชากร

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

วิธีดำเนินการ
๑.ประสานงาน ชี้แจงโครงการ ต่อผู้เกี่ยวข้อง ๒. สนับสนุนให้ทุกหมู่บ้านมีการสำรวจแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย เพื่อหาค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในชุมชน(HI) และโรงเรียน วัด โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อย่างต่อเนื่องทุกวันศุกร์ ๓. คัดเลือกกรรมการประกวดบ้านจากที่ประชุม
๔. การดำเนินการรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย
๔.๑ ระดับครัวเรือน โดย อสม. ชี้แจงให้กับผู้แทนครัวเรือนทราบถึงความสำคัญ วัตถุประสงค์ของโครงการ ตลอดจนวิธีการกำจัดลูกน้ำยุงลาย ให้แต่ละครัวเรือนดำเนินการกำจัดและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย ให้ครัวเรือนของตนเอง ๔.๒ ระดับหมู่บ้าน ประชุมชี้แจงให้แกนนำ ประชาชนในหมู่บ้าน เพื่อให้ชุมชนร่วมกันหาแนวทางให้หมู่บ้านของตนเองเป็นหมู่บ้านปลอดลูกน้ำยุงลาย ๕. การกำกับและตรวจสอบ ๕.๑ ระดับครัวเรือน อสม. เป็นผู้ติดตามกำกับ ให้ครัวเรือนดำเนินการกำจัดและทำลายแหล่ง
เพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายในครัวเรือน เมื่อ อสม. ตรวจสอบแล้วไม่พบลูกน้ำยุงลาย ก็รวบรวมแบบสำรวจ
ส่งให้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงาย ๕.๒ ระดับหมู่บ้าน คณะกรรมการดำเนินการสำรวจลูกน้ำยุงลายรายครัวเรือนที่ อสม.สำรวจ แล้วไม่พบลูกน้ำยุงลาย โดยไม่บอกล่วงหน้า เพื่อหาค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย(HI) ๖. การประกวด ของที่ระลึก และเกณฑ์การตัดสิน ๖.๑ ระดับครัวเรือน รวมทั้งบ้านของ อสม.ด้วยใช้เกณฑ์การตัดสิน ครัวเรือนที่กรรมการฯ สำรวจแล้วไม่พบลูกน้ำยุงลายมีสิทธิ์ได้รับของที่ระลึกหมู่บ้านละ ๕ ชิ้น ๖.๓ ระดับหมู่บ้าน เป็นรางวัลระดับหมู่บ้าน โดยนำผลสำรวจบ้านทุกหลังที่สำรวจของหมู่บ้าน มาหาค่าดัชนีความชุกของลูกน้ำยุงลายในบ้านเรือน(HI) ของหมู่บ้านนั้นๆน้อยกว่า ๑๐ จะได้รับรางวัล

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ประชาชนในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงายเกิดความตระหนักและมีส่วนร่วมในการกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย ทั้งในระดับครัวเรือนและชุมชน ๒. ความชุกของลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้านของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงาย ลดต่ำลงกว่าป้าหมายที่กำหนด ๓. อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก/ไข้ปวดข้อยุงลายในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงาย ลดลงต่ำกว่าเป้าหมายที่กำหนด

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 มี.ค. 2560 14:03 น.