กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการสูบบุหรี่กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเขาเพดาน
รหัสโครงการ 62-L1523-1-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสูขภาพตำบลบ้านเขาเพดาน
วันที่อนุมัติ 14 กุมภาพันธ์ 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2562
งบประมาณ 10,368.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอิษยา ศรีชูชาติ
พี่เลี้ยงโครงการ นางอาทิตยา ชูชมชื่น
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาเมืองเพชร อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.559,99.465place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานยาสูบ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มี.ค. 2562 30 ก.ย. 2562 10,368.00
รวมงบประมาณ 10,368.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไม่ติดต่อเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตและเป็นภาระโรคอันดับหนึ่งของประเทศไทยจากรายงานภาวะโรคและการบาดเจ็บของประชากรไทย พ.ศ.2556 พบว่ามีคนไทยเสียชีวิตจากกลุ่มโรคไม่ติดต่อมากกว่า 3 แสนคนต่อปี ส่วนใหญ่เป็นการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร โดยเสียชีวิตจากกลุ่มโรคไม่ติดต่อถึงร้อยละ 75 ของการเสียชีวิตทั้งหมด ซึ่งพบว่าคนไทยเป็นโรคไม่ติดต่อโดยเฉพาะโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงมากถึงประมาณ 14 ล้านคน และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งโรคความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจวายเฉียบพลันเป็นสาเหตุการตายลำดับต้นๆในเขตสุขภาพที่ 12 ผลจากการดำเนินงานในจังหวัดตรังปี 2558-2560 พบว่าอุบัติการณ์ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่คิดเป็นร้อยละ 0.87,0.87 และ 1.50 ตามลำดับ อุบัติการณ์ผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ 523 คน คิดเป็นร้อยละ 0.34,0.35 และ 0.47 ตามลำดับ และจำนวนผู้ป่วยตายด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือด คิดเป็นร้อยละ 8.12,6.83 และ6.58 ตามลำดับ สาเหตุส่วนใหญ่มาจากพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสมได้แก่การกินหวาน มัน เค็ม กินผักผลไม้น้อย การมีกิจกรรมทางกายน้อย ภาวะเครียด การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ มีภาวะอ้วน ระดับน้ำตาลและไขมันในเลือดเพิ่มขึ้นระดับความดันโลหิตสูงกว่าปกติ โดยเฉพาะการสูบบุหรี่จะเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตมากที่สุดได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็งปอด และโรคถุงลมโป่งพอง จากการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยในปี2560-2561 โรคที่เกิดมาจากการสูบบุหรี่ อันได้แก่ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ พบว่ายังมีผู้ป่วยสูบบุหรี่คิดเป็นร้อยละ 25.3,17.9,16.6.14.1 และ 9.9 ตามลำดับ (วิชัย เกพลการ,2552) หากผู้ป่วยเหล่านี้ยังคงสูบบุหรี่ต่อไปอาจทำให้เกิดอาการทรุดลงและโรคแทรกซ้อนได้ง่าย โดยผู้ที่เป็นโรคเรื้อรังแต่ยังคงสูบบุหรี่ จะทำให้การพยากรณ์ของโรคเลวลงและมีรายงานว่า ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่กลับมาสูบบุหรี่ มีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตมากกว่าผู้ป่วยที่หยุดสูบได้ถึง 3 เท่า นอกจากนี้ผู้ป่วยเบาหวานที่สูบบุหรี่นานๆ จะมีภาวะHyperinsulinemia และภาวะดื้ออินซูลิน (insulin resistance) ทำให้หลอดเลือดแข็งตัว ระบบไหลเวียนเลือดไม่ดี จนเลือดไปเลี้ยงส่วนล่างไม่เพียงพอ เป็นสาเหตุที่ต้องตัดมือ ตัดเท้า ซึ่งส่วนมากผู้ป่วยไม่ทราบว่าการสูบบุหรี่ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงได้(วิชัย เอกพลการ,2559) จากสถานการณ์ดังกล่าว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเขาเพดาน ได้เล็งเห็นความสำคัญของการส่งเสริมให้ผู้บริโภคลดและเลิกใช้ยาสูบซึ่งเป็นหนึ่งในแปดกลยุทธศาสตร์ของแผนยุทธศาสตร์การควบคุมยาสูบแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2561 ซึ่งพบว่าเจ้าหน้าที่มีบทบาทสำคัญในการช่วยให้ผู้สูบบุหรี่เลิกสูบบุหรี่ได้สำเร็จ เนื่องจากการทำงานแต่ละวันนั้น เจ้าหน้าที่มีโอกาสที่จะพบผู้ป่วยที่สูบบุหรี่และครอบครัวในสถานที่ต่างๆ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเป็นสถานที่ที่ปลอดบุหรี่ตามกฎหมาย ผู้ป่วยได้เริ่มหยุดบุหรี่มาแล้วตั้งแต่เข้ามาในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จึงเป็นโอกาสอันดีที่ให้เจ้าหน้าที่ช่วยแนะนำ กระตุ้น ส่งเสริม และช่วยเหลือให้ผู้ป่วยเลิกสูบบุหรี่ต่อไปได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ประชาชนที่เป็นโรคเบาหวาน/โรคความดันโลหิตสูงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 2.เพื่อให้ประชาชนกลุ่มป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่ติดบุหรี่สามารถลด/เลิกบุหรี่ได้

1.กลุ่มผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เรื่อง การลด ละ เลิก บุหรี่ ร้อยละ 100
2.ผู้ป่วยเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงที่ติดบุหรี่ สามารถหยุดสูบบุหรี่อย่างน้อย 3 เดือน ร้อยละ 40

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 2,500.00 0 0.00
1 มี.ค. 62 - 30 ก.ย. 62 กิจกรรมที่ 1 ให้ความรู้และแนวทางการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ที่สูบบุหรี่ในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง รวมทั้งสอน สาธิต และให้ปฏิบัติตาม วิธีกดจุด เพื่อหยุดสูบบุหรี่ 0 0.00 -
1 มี.ค. 62 - 30 ก.ย. 62 กิจกรรมที่ 2 ประชุมผลสรุปการดำเนินงานหลังจากกิจกรรมที่1เป็นเวลา 3 เดือนและ 6 เดือน 0 2,500.00 -

กิจกรรมที่ 1 ให้ความรู้และแนวทางการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ที่สูบบุหรี่ในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง รวมทั้งสอน สาธิต และให้ปฏิบัติตาม วิธีกดจุด เพื่อหยุดสูบบุหรี่
1. ประชุมอาสาสมัครสาธารณสุขและเจ้าหน้าที่เพื่อแจ้งการดำเนินกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ที่สูบบุหรี่ในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง ให้ลด ละ เลิก การสูบบุหรี่
2. อบรมให้ความรู้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ที่สูบบุหรี่ในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงให้เลิกบุหรี่ จำนวน 50 คนโดยมีรูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมคือ การให้ความรู้โทษพิษภัยของบุหรี่ ,ให้คำแนะนำในการเลิกบุหรี่ที่เหมาะสม 3. สอน สาธิต และให้ปฏิบัติตาม วิธีกดจุด เพื่อหยุดสูบบุหรี่ แก่ผู้ที่สูบบุหรี่ในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง หลังจากอบรมให้ความรู้แล้ว ให้กลุ่มเป้าหมายกลับไปกดจุดฝ่าเท้าที่บ้านต่อเนื่อง กิจกรรมที่2 เจ้าหน้าที่จะติดตามผลการเลิกสูบบุหรี่ในกลุ่มเป้าหมายทุกเดือน และประชุมผลสรุปการดำเนินงานหลังจากกิจกรรมที่1เป็นเวลา 3 เดือนและ 6 เดือน แก่กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 50 คน เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน หาแนวทางร่วมกันที่จะช่วยเหลือผู้ที่ยังไม่สามารถเลิกสูบบุหรี่ได้ต่อไป ถอดบทเรียนหารูปแบบและแนวทางการดำเนินงานในการขยายผลไปทำกับกลุ่มเป้าหมายอื่นต่อไป

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ประชาชนที่เป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่สูบบุหรี่ สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสามารถเลิกสูบบุหรี่ได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 ก.พ. 2562 16:33 น.