กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพอนามัยแม่และเด็กปี 2560
รหัสโครงการ 2560-L3351-01-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านโคกชะงาย
วันที่อนุมัติ 4 พฤศจิกายน 2559
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 เมษายน 2560 - 31 กรกฎาคม 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 15,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางพัชรีเรืองศรี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโคกชะงาย อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.615,100.003place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 150 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ภาวะสุขภาพและการพัฒนาการเด็กเป็นสิ่งสำคัญที่สะท้อนให้เห็นศักยภาพของคนไทยทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา โดยเริ่มตั้งแต่ตั้งครรภ์ มารดาต้องมีความพร้อมและมีภาวะสุขภาพสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจเพื่อให้เด็กได้รับสารอาหารทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ เพราะภาวะการขาดสารอาหารของมารดาจะมีผลต่อพัฒนาการและสติ ปัญญาของเด็กแรกเกิด จากการศึกษาพบว่าระดับสติปัญญาเด็กไทยมีแนวโน้มลดลง ในปี พ.ศ.2540 เด็กไทยมีค่าเฉลี่ยระดับปัญญา 91 จุด และในปี 2545 เด็กไทยมีค่าเฉลี่ยระดับปัญญา 88 จุด ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ( ค่าปกติ 90-110) นมแม่มีความสำคัญต่อทารกเพราะนอกจากจะให้สารอาหารที่ครบถ้วน สร้างภูมิต้านทานสติปัญญาให้กับบุตรแล้ว ยังสร้างความรักความอบอุ่นให้กับบุตรด้วย ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในหญิงตั้งครรภ์ นอกจากทำให้มารดาและทารกแรกคลอดมีอัตราการตายและเกิดภาวะแทรกซ้อนสูงกว่าปกติ เช่นภาวการณ์คลอดก่อนกำหนด การแท้ง ทารกตายในครรภ์ ความดันโลหิตสูงในระยะตั้งครรภ์แล้ว ยังมีผลทำให้น้ำนมไม่เพียงพอต่อเด็กแรกคลอด จากข้อมูลงานอนามัยแม่และเด็กของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงาย ปี 255๙ หญิงตั้งครรภ์จำนวน๓๑ คนพบว่ามีภาวะความเข้มข้นของเลือดค่อนข้างต่ำ (ความเข้มข้นเลือดน้อยกว่า 3๕ มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์) จำนวน ๔ คน คิดเป็น ๑๒๙๐ % และมีภาวะความเข้มข้นของเลือดต่ำกว่าปกติ (ความเข้มข้นเลือดน้อยกว่า 33 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์) จำนวน ๒ คน คิดเป็น .%ทารกแรกคลอดจำนวน ๓๑ คน มีน้ำหนักน้อยกว่า ๒,๕๐๐ กรัม จำนวน ๑ คน คิดเป็น ๓.๒๒ % และมารดาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียว ๘๐.๖๐ %เนื่องจากมารดาและครอบครัวไม่มีความรู้ความเข้าใจและไม่เห็นความสำคัญของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มารดาหลังคลอดจึงเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในอัตราต่ำ ฉะนั้นนอกเหนือจากเจ้าหน้าที่ด้านสาธารณสุขแล้ว อสม.ในพื้นที่เป็นแกนนำที่สำคัญในการขับเคลื่อนเพื่อส่งเสริม หญิงตั้งครรภ์ มารดาหลังคลอด ครอบครัวและชุมชนให้มีความตระหนักและเห็นความสำคัญในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จากสถานการณ์ดังกล่าว และประกอบกับกระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายเร่งด่วนในการพัฒนาศักยภาพ อสม.ให้เป็นแกนนำ สายใยรักฯ กองทัพนมแม่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงาย จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพอนามัยแม่และเด็ก ปี ๒๕๖๐

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัยลูกมีภาวะสมบูรณ์แข็งแรงและมีพัฒนาการที่สมวัย
  1. อัตราเด็กเกิดไร้ชีพเป็น ๐
  2. น้ำหนักแรกคลอดไม่ต่ำกว่า ๒,๕๐๐ กรัม
2 เพื่อให้ชุมชนและทุกคนในครอบครัวมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลหญิงตั้งครรภ์เสริมสร้างสัมพันธภาพที่ดีเกิดสายใยรักครอบครัว

ร้อยละ ๘๐ ของคนในครอบครัวมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลหญิงตั้งครรภ์เสริมสร้างสัมพันธภาพที่ดีเกิดสายใยรักครอบครัว

3 เพื่อส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพื่อพัฒนางานอนามัยแม่และเด็กทั้งหน่วยงานและชุมชน

มารดาหลังคลอดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๖๐

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑.อบรมให้ความรู้แก่หญิงตั้งครรภ์และมารดาหลังคลอด ผู้ปกครองเด็ก ๐ – ๖ ปี และ อสม.จำนวน ๒ วัน ๒.ตรวจสุขภาพและ ตรวจประเมินพัฒนาการเด็ก ๐ – ๖ ปี ๓.ให้ความรู้แก่มารดาหลังคลอดและครอบครัว เดือนละ 1 ครั้ง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

เกิดรอด แม่ปลอดภัย มีภาวะสมบูรณ์แข็งแรงทั้งด้านร่างกายและจิตใจ เด็กมีสติปัญญา และ พัฒนาการที่สมวัย ๒. เพื่อให้ชุมชนและทุกคนในครอบครัวมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลหญิงตั้งครรภ์เห็นความสำคัญต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือนเพิ่มขึ้น ๓. กิจกรรมการอนามัยมารดาและทารกสามารถดำเนินการได้บรรลุตามเกณฑ์

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 มี.ค. 2560 14:13 น.