กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งปากมดลูกปี 2560
รหัสโครงการ 2560-L3351-01-19
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านโคกชะงาย
วันที่อนุมัติ 4 พฤศจิกายน 2559
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 27 เมษายน 2560 - 28 เมษายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 2,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางพัชรีเรืองศรี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโคกชะงาย อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.615,100.003place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

มะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดในเพศหญิง พบได้ในสตรีตั้งแต่วัยสาวจนถึงวัยชรา พบมากในช่วงอายุ ๓๐-๕๐ ปีในแต่ละปีผู้หญิงทั่วโลกป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกเพิ่มขึ้นปีละ ๔๖๖,๐๐๐ คน เสียชีวิตปีละ ๒๓๑,๐๐๐ คน ซึ่งประมาณร้อยละ ๘๐ ของผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูก อยู่ในประเทศกำลังพัฒนา สำหรับประเทศไทย โรคมะเร็งปากมดลูกเป็นสาเหตุการเสียชีวิตมากที่สุดของโรคมะเร็งทั้งหมด จากรายงานของสำนักงานวิจัยมะเร็งนานาชาติพบว่า ในปี พ.ศ.๒๕๔๔ ประเทศไทยมีผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกรายใหม่ปีละ ๖,๑๙๒ ราย เสียชีวิต ๓,๑๖๖ ราย หรือประมาณร้อยละ ๕๐ คิดคำนวณแล้วสตรีไทยเสียชีวิตจากมะเร็งปากมดลูกวันละเกือบ ๙ คนมะเร็งปากมดลูกพบมากที่สุดในภาคเหนือของประเทศไทย อย่างไรก็ตามในปัจจุบันอัตราตายด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกลดลง เนื่องจากมีการตรวจวินิจฉัยค้นหามะเร็งปากมดลูกโดยการทำ Pap Smear เพื่อให้การรักษาความผิดปกติเพิ่มมากขึ้น ทำให้มะเร็งปากมดลูกในระยะรุนแรงลดลง ซึ่งจากการศึกษาขององค์กรวิจัยโรคมะเร็งนานาชาติ(IARC) พบว่า การที่จะลดอัตราการเกิดโรคมะเร็งนั้น ถ้าสามารถตรวจให้ครอบคลุมประชากรได้จำนวนมากเท่าไร จะลดอัตราการตายได้ดีกว่าความถี่ของการที่สตรีไปรับการตรวจ กล่าวคือ ถ้าสามารถทำการตรวจค้นหามะเร็งปากมดลูกให้ได้ครอบคลุมจำนวนประชากรร้อยละ ๘๐ โดยการทำ Pap Smear ทุกปี จะลดอัตราการตายจากมะเร็งปากมดลูกได้ ๖๑% และหากทำการตรวจทุก ๓ ปี จะลดลงได้ ๖๑% หรือถ้าทำการตรวจทุก ๕ ปี จะสามารถลดลงได้ ๕๕%ซึ่งในทางกลับกันแม้ว่า จะทำการตรวจได้ครอบคลุมประชากร ๓๐%และสามารถตรวจให้สตรีได้ทุกๆปีก็ตาม กลับสามารถลดอัตราการตายจากโรคมะเร็งปากมดลูกได้เพียง ๑๕% เท่านั้น ดังนั้น การที่จะให้สตรีได้รับการทำ Pap Smear ได้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายให้มากที่สุด จึงเป็นการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเชิงรุกที่เหมาะสม เพื่อตอบสนองนโยบายกระทรวงสาธารณสุขที่กำหนดให้ทุกพื้นที่ดำเนินงานตามโครงการป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งปากมดลูกในสตรีอายุ ๓๐-๖๐ ปี เป้าหมายร้อยละ ๒๐ ต่อปี และครอบคลุมร้อยเปอร์เซ็นต์ในระยะเวลา ๕ ปี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงายจึงได้จัดทำโครงการป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งปากมดลูกขึ้นเพื่อให้ความรู้ สร้างความตระหนัก และเพื่อให้บริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายค้นหาโรคในระยะเริ่มแรก อย่างมีประสิทธิภาพสามารถมีโอกาสรักษาให้หายขาดได้ซึ่งจะช่วยลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งปากมดลูกได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้สตรีอายุ ๓๐-๖๐ ปี มีความรู้เรื่องมะเร็งปากมดลูกและตระหนักถึงการดูแลสุขภาพของตนเองด้วยการตรวจหามะเร็งปากมดลูกโดยการทำ Pap Smear

ร้อยละ ๘๐ ของผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เรื่องมะเร็งปากมดลูกและตระหนักถึงการดูแลสุขภาพของตนเองด้วยการตรวจหามะเร็งปากมดลูกโดยการทำ Pap Smear

2 เพื่อค้นหาผู้ป่วยโรคมะเร็งปากมดลูกระยะแรกโดยการตรวจคัดกรองทำ Pap Smear และเพื่อให้ได้รับการรักษาที่ถูกต้องตามมาตรฐานทันท่วงที

ผู้ป่วยโรคมะเร็งปากมดลูกระยะแรกทุกรายได้รับการตรวจคัดกรองทำ Pap Smear และได้รับการรักษาที่ถูกต้องตามมาตรฐาน

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑. สำรวจกลุ่มเป้าหมายในเขตพื้นที่รับผิดชอบ ๒. เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติดำเนินการ ๑. ประชุมชี้แจงโครงการแก่ อสม. และประสานงานกับหน่วยงานหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องเพื่อขอสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ ๒. จัดอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย จำนวน ๒ รุ่น
๓. จัดทำหนังสือเชิญรับบริการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก มอบหมายให้ อสม. แจ้ง กลุ่มเป้าหมายเป็นรายบุคคล ๔. ดำเนินการให้บริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ตาม วัน เวลาที่กำหนดณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงายติดตามผลการตรวจ และส่งต่อเข้ารับการรักษาที่ถูกต้องตามมาตรฐานทันท่วงทีในรายที่พบความผิดปกติ ๕. ติดตามเยี่ยมและสรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. สตรีอายุ ๓๐ - ๖๐ ปี มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องมะเร็งปากมดลูกและสามารถดูแลสุขภาพตนเองด้วยการตรวจ Pap Smear ครอบคลุมตามเป้าหมาย ๒. สามารถค้นหาผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกในระยะแรกและส่งตัวเข้ารับการรักษาอย่างรวดเร็วถูกต้องได้มาตรฐาน ๓. อัตราป่วยตายด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกในสตรีกลุ่มเป้าหมายลดลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 มี.ค. 2560 14:20 น.