กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสะเตงนอก


“ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ม.7 บ้านนิบงบารู ”

ตำบลสะเตงนอก อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา

หัวหน้าโครงการ
นางสาวรอฮานี จารู

ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ม.7 บ้านนิบงบารู

ที่อยู่ ตำบลสะเตงนอก อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา จังหวัด ยะลา

รหัสโครงการ 62-l4143-02-38 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 10 มกราคม 2562 ถึง 30 กันยายน 2562


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ม.7 บ้านนิบงบารู จังหวัดยะลา" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลสะเตงนอก อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสะเตงนอก ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ม.7 บ้านนิบงบารู



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ม.7 บ้านนิบงบารู " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลสะเตงนอก อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา รหัสโครงการ 62-l4143-02-38 ระยะเวลาการดำเนินงาน 10 มกราคม 2562 - 30 กันยายน 2562 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 30,000.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสะเตงนอก เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคซึ่งทั่วโลกกำลังให้ความสนใจอย่างยิ่ง เนื่องจากตัวเลขของผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ในปัจจุบันพบว่ามีผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงทั้งสิ้น 189 ล้านคน และคาดว่าในอีก 20 ปี ข้างหน้าจะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นถึง 324 ล้านคน ที่น่าเป็นห่วงคือผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ส่วนใหญ่เสียชีวิตจากภาวะโรคแทรกซ้อน ซึ่งเป็นสิ่งที่สามารถป้องกันและควบคุมได้ อีกทั้งยังพบว่า อายุเฉลี่ยของการเริ่มต้นป่วยเป็นโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงนั้นน้อยลงเรื่อยๆ และมีแนวโน้มจะลุกลามไปถึงเด็กในอนาคตอันใกล้ด้วยวิถีการดำรงชีวิตที่เปลี่ยนไป โดยเฉพาะเรื่องพฤติกรรมการรับประทานอาหาร โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง นอกจากจะเป็นโรคที่รักษาไม่หายแล้ว ยังเชื่อมโยงไปสู่ โรคแทรกซ้อนอื่นๆ อีกมากมาย เช่น โรคอ้วน โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคไต เป็นต้น สำหรับสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรคคือ “พันธุกรรม” และ “สิ่งแวดล้อม” ในส่วนของพันธุกรรมนั้นเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญขึ้นเรื่อยๆ เมื่อมีอายุมากขึ้น ขณะที่สิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยเสี่ยงที่เริ่มต้นตั้งแต่ในครรภ์แม่ แม้พันธุกรรมจะเป็นสิ่งที่แก้ไขไม่ได้ แต่ก็สามารถควบคุมปัจจัยเรื่องอาหารและสิ่งแวดล้อม เพื่อป้องกันการเกิดโรคดังกล่าวได้มีผลการวิจัยหลายชิ้นชี้ให้เห็นว่า การควบคุมอาหารอย่างดี รวมถึงการออกกำลังกายเป็นประจำ ส่งผลโดยตรงต่อการป้องกันโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง โดยเฉพาะคนที่มีความเสี่ยงสูงทางพันธุกรรม อีกทั้งยังเป็นการควบคุมโรคและป้องกันโรคแทรกซ้อนในผู้ป่วย เพราะการควบคุมอาหารอย่างถูกต้อง และเหมาะสม จะช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและระดับความดันโลหิตได้ การดูแลตนเอง การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการรับประทานอาหาร และการออกกำลังกายของประชาชนกลุ่มเสี่ยงในเขตพื้นที่ หมู่ที่ 7 บ้านนิบงบารู ตำบลสะเตงนอก อำเภอเมือง จังหวัดยะลา ยังไม่ดีเท่าที่ควร เนื่องจากยังมีกลุ่มเสี่ยงที่พัฒนาไปเป็นกลุ่มป่วย ด้วยสาเหตุดังกล่าวทางอาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 7 ตำบลสะเตงนอก อำเภอเมือง จังหวัดยะลา ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเกี่ยวกับการดูแลตนเอง อาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 7 ตำบลสะเตงนอก อำเภอเมือง จังหวัดยะลา จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ม.7 บ้านนิบงบารู ต.สะเตงนอกอ.เมือง จ.ยะลา ปีงบประมาณ 2562 ขึ้น เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงไม่กลายเป็นกลุ่มป่วย ห่างไกลโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง รวมทั้งภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. 1. เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงรู้วิธีการดูแลสุขภาพตนเองในเบื้องต้น
  2. 2. เพื่อส่งเสริมให้กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง ไม่กลายเป็นกลุ่มป่วย

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. อบรมให้ความรู้ และสาธิตการออกกำลังกายโดยผ้าขาวม้า

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 120
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ประชาชนกลุ่มเสี่ยง มีความรู้ และทัศนคติที่เหมาะสม ในเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
  2. กลุ่มเสี่ยง ที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม และไม่กลายเป็นกลุ่มป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
  3. อัตราการเกิดโรคเรื้อรังลดลง

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. อบรมให้ความรู้ และสาธิตการออกกำลังกายโดยผ้าขาวม้า

วันที่ 15 สิงหาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

1.จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติโครงการ 2.ประชาสัมพันธ์โครงการแก่กลุ่มเป้าหมาย 3.จัดกิจกรรม - กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เรื่องอาหาร และพฤติกรรมการดูแลตนเองในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง - กิจกรรมที่ 2 การออกกำลังกาย โดยการให้ความรู้เรื่องการออกกำลังกายที่ถูกต้อง และสาธิตการออกกำลังกาย โดยใช้ผ้าขาวม้า (โดยในการอบรมแบ่งกลุ่มเป้าหมายเป็น 2 รุ่นๆละ 1 วันๆละ 60 คน)

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.ประชาชนกลุ่มเสี่ยง มีความรู้ และทัศนคติที่เหมาะสม ในเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 2.กลุ่มเสี่ยง ที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม และไม่กลายเป็นกลุ่มป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง 3.อัตราการเกิดโรคเรื้อรังลดลง

 

120 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

จากการดำเนินโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงหมู่ 7 บ้านนิบงบารู เป้าหมายทั้งหมด จำนวน 120 คน โดยได้จัดกิจกรรมจัดอบรมให้ความรู้เรื่อง 3 อ. อาหาร อารมณ์ ออกกำลังกาย 2 ส. สุรา สูบบุหรี่ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ระหว่างกัน และสาธิตวิธีการออกกำลังกายโดยใช้ผ้าขาวม้าแก่ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ทั้งเพศชายและเพศหญิง พบว่าคนในชุมชนเข้าใจเรื่องการดูแลสุขภาพของตนเองเป็นอย่างดี ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ แล้วจะทำให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง ป้องกันไม่ให้เกิดโรคต่างๆ เช่นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคอ้วน โรคเครียดและโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด นอกจากนี้ชุมชนยังมีส่วนร่วมที่ดีในการเข้าร่วมกิจกรรม แกนนำชุมชนมีความรู้ เข้าใจและให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 1. เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงรู้วิธีการดูแลสุขภาพตนเองในเบื้องต้น
ตัวชี้วัด : กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงรู้วิธีการดูแลสุขภาพตนเองในเบื้องต้น มากกว่าร้อยละ 80
0.00

 

2 2. เพื่อส่งเสริมให้กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง ไม่กลายเป็นกลุ่มป่วย
ตัวชี้วัด : กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง ไม่กลายเป็นกลุ่มป่วย ร้อยละ 80
0.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 120 120
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 120 120
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1. เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงรู้วิธีการดูแลสุขภาพตนเองในเบื้องต้น (2) 2. เพื่อส่งเสริมให้กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง  ไม่กลายเป็นกลุ่มป่วย

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) อบรมให้ความรู้ และสาธิตการออกกำลังกายโดยผ้าขาวม้า

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ม.7 บ้านนิบงบารู จังหวัด ยะลา

รหัสโครงการ 62-l4143-02-38

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นางสาวรอฮานี จารู )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด