กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการใส่ใจสุขภาพ ห่างไกลโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ปี 2562
รหัสโครงการ 62-L5231-01-08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.ควนรู
วันที่อนุมัติ 15 มกราคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 48,020.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ รพ.สต.ควนรู
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลควนรู อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.183,100.313place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานยาสูบ , แผนงานสิ่งเสพติด , แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สภาพปัจจุบันปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดปัญหาสาธารณสุขส่วนใหญ่มีสาเหตุจากประชาชนมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม ทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชนซึ่งได้จากสถานการณ์ของปัญหาสาธารณสุขที่เป็นอยู่ในปัจจุบันที่พบว่ากลุ่มโรค Metabolic โดยเฉพาะโรคอ้วนลงพุง ความดันโลหิตสูง เบาหวาน กำลังเป็นปัญหาสำคัญในทุกพื้นที่ อีกทั้งยังมีแนวโน้มเป็นปัญหาต่อเนื่องในอนาคต ปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดปัญหากลุ่มโรค Metabolic ได้แก่ การสูบบุหรี่ การดื่มที่มีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การขาดการออกกำลังกาย การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง การรับประทานผักและผลไม้ไม่เพียงพอ ตลอดจนสภาพปัญหาทางจิตใจ อารมณ์ และความเครียดการเสริมสร้างให้ประชาชนมีพฤติกรรมที่ดีสามารถจัดการลดความเสี่ยงของตนเองได้จะเป็นกลไกพื้นฐานที่สำคัญของการป้องกันและควบคุมโรคโดยเฉพาะกลุ่มที่มีความเสี่ยง ซึ่งการสร้างความรู้ ความเข้าใจเพียงอย่างเดียวอาจไม่มีผลเพียงพอที่จะทำให้เกิดความตระหนักในการเปลี่ยนแปลงสุขภาพได้ การจัดกิจกรรมฝึกทักษะและการเสริมสร้างพลังแก่กลุ่มเป้าหมายจึงจำเป็นต้องควบคู่กับการให้ความรู้ ความเข้าใจนำไปสู่การปฏิบัติ นอกจากนี้การสร้างสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมทั้งในครอบครัว และชุมชนก็จะส่งผลให้ประชาชนตระหนักและมีพฤติกรรมที่ดีได้ ดังนั้นจึงสมควรอ่างยิ่งที่จะเร่งการทำงานเชิงรุกในชุมชนเพื่อตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานในกลุ่มผู้ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป และให้การวินิจฉัยโรคในระยะเริ่มต้น รวมทั้งการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อป้องกันการเกิดโรคและป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ต่อไป ซึ่งทาง โรงพยาบาลส่งเสรมสุขภาพตำบลควนรู จัดตั้งคลินิก DPAC ในหน่วยงานเพื่อให้บริการคลินิกผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ซึ่งผู้ป่วยโรคเรื้อรังส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุศักยภาพในการดูแลตนเองไม่เต็มที่เนื่องจากปัจจัยหลาย ๆ อย่าง เพื่อให้ควบคุมโรคได้และลดภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นควรมีการส่งเสริมศักยภาพในการดูแลตนเองเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ในการทำให้ประชาชนมีสุขภาพดี โดยทั่วหน้า ผลจากการดำเนินงานตรวจคัดกรองภาวะสุขภาพของประชาชนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนรู ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 ที่ผ่านมาจากกลุ่มเป้าหมาย 1,070 ราย พบว่า มีผู้มาคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน จำนวน 1,024 คิดเป็นร้อยละ 95.70 ผู้มีภาวะเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 47 คน คิดเป็นร้อยละ 4.50 ผู้มีภาวะเสี่ยงสูงโรคเบาหวาน จำนวน 45 คน คิดเป็นร้อยละ 4.30
จากสภาพปัญหาดังกล่าว  ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนรู ได้เล็งเห็นถึงแนวโน้มที่จะมีผู้ป่วยโรคเรื้อรังรายใหม่เพิ่มขึ้นอีกถ้าหากไม่มีการแก้ปัญหาจากต้นตอที่แท้จริง จึงเกิดโครงการส่งเสริมการคัดกรองและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเบาหวานและความดันโลหิตสูงเชิงรุก ขึ้นในประชาชนกลุ่มเสี่ยงทุกกลุ่มอายุ เพื่อเตรียมความพร้อมในการรู้จักการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ผิดๆที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคในอนาคต ให้มีความรู้และสามารถดุแลตนเองและคนในครอบครัว เกิดพฤติกรรมที่ดีและสามารถลดอัตราการเกิดโรคเรื้อรังเพิ่มได้ในระยะยาว

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1 เพื่อค้นหาผู้ป่วยและกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงในพื้นที่ และส่งต่อผู้ป่วยรับการรักษาโดยพบแพทย์ทุกราย
  1. ผู้ป่วย (ผู้ที่มีค่าระดับน้ำตาลในเลือดและ/ความดันโลหิตสูง อยู่ในโซนสีแดง ของวงจรปิงปอง 7 สี) ร้อยละ 100 ได้รับการการส่งต่อพบแพทย์ทุกราย
0.00
2 ข้อที่ 2 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง มีความรู้ด้านสุขภาพในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค
  1. กลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง มีความรู้ด้านสุขภาพเพิ่มขึ้น ร้อยละ 90
0.00
3 ข้อที่ 3 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง มีพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพ สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด/ความดันโลหิตได้
  1. กลุ่มเสี่ยงที่ได้รับการอบรมความรู้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด/ความดันโลหิตสูงได้ ร้อยละ 90
0.00
4 ข้อที่ 4 เพื่อลดภาวการณ์ป่วยด้วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
  1. กลุ่มเสี่ยงที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด/ความดันโลหิตสูงได้รับการส่งพบแพทย์ทุกราย ร้อยละ 100
0.00
5 ข้อที่ 5 เพื่อให้เกิดกิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในทุกหมู่บ้าน เช่น กิจกรรมการออกกำลังกาย การรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพของคนในหมู่บ้าน การปลูกผักกินเองของคนในหมู่บ้าน ฯลฯ และมีหมู่บ้านต้นแบบอย่างน้อย 1 หมู่บ้าน
  1. ทุกหมู่บ้าน ( 4 หมู่บ้าน ) มีกิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคนในชุมชน และมีหมู่บ้านที่ได้รับการคัดเลือกเป็นหมู่บ้านต้นแบบในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างน้อย 1 หมู่บ้าน
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 48.00 0 0.00
1 ต.ค. 61 - 30 มิ.ย. 62 คัดกรองและค้นหาผู้ป่วย 0 0.00 -
1 ต.ค. 61 - 31 พ.ค. 61 จัดกรรมรณรงค์ตรวจภาวะแทรกซ้อนของโรค HT-DM 0 0.00 -
1 ม.ค. 62 สรุปผล 0 0.00 -
1 มี.ค. 62 - 30 มิ.ย. 62 จัดกิจกรรมสัญจร 0 48.00 -
1 - 30 มิ.ย. 62 จัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 0 0.00 -
1 - 30 ก.ย. 62 นิเทศ ประเมินผล 0 0.00 -

๑. กิจกรรมการคัดกรองค้นหาผู้ป่วย/กลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานดันโลหิตสูง - ดำเนินการคัดกรองในพื้นที่ทั้ง 4 หมู่ในเขตรับผิดชอบ โดยมี อสม. และเจ้าหน้าที่ร่วมในการดำเนินการคัดกรองฯ ๒. จัดกิจกรรมสัญจรปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
- จัดอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ใน ๑ หมู่บ้าน โดยแยกอบรมครั้งละ 1 หมู่บ้าน - ติดตามกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานความดันโลหิตสูงในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเองโดยอสม. และเจ้าหน้าที่ ลงติดตามซ้ำในรายที่ไม่สามารถควบคุมระดับความเสี่ยงได้ - สุ่มติดตามกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเอง ๓. ดำเนินการส่งต่อพบแพทย์ - ส่งต่อพบแพทย์ในกลุ่มเสี่ยงผู้ที่มีค่าระดับน้ำตาลในเลือดและ/ความดันโลหิตสูง ๔. จัดกิจกรรมหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรม - ดำเนินการจัดหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤตกรรม ๑ หมู่บ้านในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมคนในชุมชนโดยเจ้าหน้าที่ จะลงประเมินผลงานในพื้นที่ หมู่บ้าน ซึ่งหมู่บ้านจะต้องดำเนินกิจกรรมการปรับเปลี่ยนอยู่ตลอดทั้งปี - ดำเนินการจัดการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพของคนในหมู่บ้าน - ดำเนินการจัดสาธิตเมนูอาหารเพื่อสุขภาพของคนในหมู่บ้าน ๕ จัดกิจกรรมรณรงค์ตรวจภาวะแทรกซ้อนของโรค HT-DM - ดำเนินการตรวจตาด้วยเครื่อง fundus - ดำเนินการตรวจเท้า - ดำเนินการตรวจฟัน - ดำเนินการเจาะเลือดประจำปี ๖. นิเทศ ติดตามสนับสนุน ประเมินผล และสรุปผล

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงมาตรฐานตามเกณฑ์
  2. กลุ่มเสี่ยงได้รับการเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3 อ. 2 ส. และมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องเหมาะสมอย่างต่อเนื่อง
  3. อัตราการเกิดโรคแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานลดลง
  4. หมู่บ้านเป้าหมายสามารถกำหนดแนวทางการป้องกันและควบคุมโรคMetabolicได้ถูกต้อง เหมาะสมโดยใช้กระบวนการชุมชนเป็นฐาน และหมู่บ้านมีความเข้มแข็ง สามารถสร้างมาตรการดูแลสุขภาพของประชาชนในชุมชนเองได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 มี.ค. 2562 16:46 น.