กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการบริโภคปลอดภัย ฟันสวยสดใส ใส่ใจสุขภาพ
รหัสโครงการ 60-L5294-3-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนหน่วยงานที่มีหน้ารับผิดชอบเกี่ยวกับเด็ก ผู้สูงอายุ และคนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศพดบ้านวังเจริญราษฎร์
วันที่อนุมัติ 23 ธันวาคม 2559
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ธันวาคม 2559 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 54,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางวิไลวรรณ อย่างดี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ศพด บ้านวังเจริญราษฏร์ตำบลนาทอน อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 7.032,99.743place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

อาหารคือสิ่งที่มีประโยชน์ต่อร่างกายและสมองเมื่อรับประทานเข้าไปจะนำไปเลี้ยงสมองและส่วนต่างๆของร่างกาย การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์จะต้องรัประทานให้ครบ๕หมู่ การได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนและเพียงพอต่อร่างกายเด็กก็เจริญเติบโตได้อย่างเต็มศักยภาพ แต่ถ้าน้ำหนักและส่วนสูงไม่ตามเกณฑ์มาตรฐานสาธารณสุข เด็กร่างกายอ่อนแอ เจ็บไข้ได้ป่วยได้ง่าย ซึ่งมีปัจจัยต่างๆ ได้แก่การบริโภคอาหารของเด็กไม่ถูกต้องตามโภชนาการ โดยเฉพาะขนมกรุบกรอบการรับประทานอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะ ถ้าหากรับประทานไม่ถูกสัดส่วนก็จะนำไปสู่การเกิดโรคเหงือกและฟันผุได้ อาหารที่มีคาร์โบไฮเดรต น้ำตาล และแป้งสูง จะเป็นปัจจัยสำคัญในการเกิดกรดแบคทีเรียที่ไปทำลายเคลือบฟัน ในที่สุดแล้ว กรดเหล่านี้ก็จะทำให้เคลือบฟันเสื่อม และทำให้เกิดฟันผุสุขภาพในช่องปากนั้นมีความสัมพันธ์กับสุขภาพร่างกาย การดูแลรักษาสุขภาพช่องปากให้ดีจึงมีผลต่อการมีสุขภาพกายที่ดีด้วยปัญหาสุขภาพในช่องปากมีหลายสาเหตุ โรคและความผิดปกติในช่องปากของเด็กเล็กมีหลายประการทั้งนี้อาจมาจากพฤติกรรมด้านสุขภาพของเด็กนักเรียนที่เสี่ยงต่อการป่วยด้วยโรคในช่องปาก แต่ปัญหาที่ชัดเจนที่สุดคือโรคฟันผุ พบว่า โดยมากแล้วเด็กเป็นโรคฟันผุตั้งแต่ก่อนอายุ ๑ ขวบ และเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วมากในช่วงเด็กอายุ ๑-๓ ขวบเนื่องจาก พฤติกรรมการการบริโภคขนมหวานเหนียวติดฟัน พฤติกรรมการกินนมจากขวดที่เป็นสาเหตุของโรคฟันผุแต่ไม่คิดว่านมที่ตกค้างในช่องปาก ขณะที่เด็กนอนหลับจะเป็นผลให้เกิดโรคฟันผุ และขาดการดูแลเอาใจใส่ของเด็กนักเรียนและผู้ปกครองเด็กในการดูแลสุขภาพช่องปาก และการที่เด็กมีฟันผุผู้ใหญ่กลับคิดว่าเป็นเรื่องธรรมดา แต่จริงแล้วฟันผุเป็นเรื่องอันตราย เพราะเด็กมีภูมิต้านทานน้อย แม้จะไม่อันตรายถึงแก่ชีวิตแต่ก็ทำให้เด็กเจ็บปวดทรมาน เสียสุขภาพ
สำหรับประเทศไทยโรคฟันผุในเด็กเล็กยังคงเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะเด็กในเขตชนบทสาเหตุการเกิดโรคฟันผุส่วนหนึ่งมาจากการที่เด็กรับประทานอาหารที่มีรสหวาน และการติดหวานของเด็ก ซึ่งในปัจจุบันพบว่าคนไทยบริโภคน้ำตาลเฉลี่ยคนละ ๓๑.๑ กิโลกรัมต่อปี เพิ่มมากขึ้นกว่าเมื่อ ๑๐ ปีที่แล้วและมากกว่ามาตรฐานที่ควรบริโภคถึงเกือบ ๓ เท่า การศึกษาในเด็กเล็กที่มารับวัคซีนโรงพยาบาลตำรวจ เมื่อ ปี พ.ศ. ๒๕๔๑ พบว่าคุณแม่กว่าร้อยละ ๑๗ เลือก นมรสหวานให้แก่ลูก และการศึกษาในจังหวัดแห่งหนึ่งในปี พ.ศ. ๒๕๔๓ พบว่า ผู้ปกครองถึงกว่าร้อยละ ๖๒ เติมน้ำตาลรูปแบบต่างๆ เพิ่มไปในนมให้เด็ก รากฐานสำคัญที่สุดหนึ่งของการติดหวานอยู่ที่แบบแผนการบริโภคอาหารและเครื่องดื่มของเด็กตั้งแต่ช่วงแรกของชีวิตแบบแผนการบริโภคของเด็กได้ถูกสร้างขึ้นตั้งแต่อายุ๖ เดือนซึ่งได้รับอิทธิพลจากแม่และผู้เลี้ยงดูเป็นสำคัญ การสัมภาษณ์ทรรศนะของพ่อแม่เกี่ยวกับการดื่มนมของเด็ก พ่อแม่มักให้ความสำคัญกับการให้เด็กได้ดื่มนมมากๆ และคิดว่าความหวานช่วยให้เด็กดื่มนมได้มากขึ้น ซึ่งพ่อแม่ให้ความสำคัญมากกว่าผลเสียต่อสุขภาพด้านอื่น การทำให้เด็กคุ้นเคยกับความหวานตั้งแต่ทารกเป็นการเพาะเชื้อการติดหวานที่มีประสิทธิภาพยิ่งเพราะเมื่อเด็กโตขึ้นและเริ่มจะมีส่วนในการเลือกอาหารเองได้แล้วเด็กก็จะเลือกบริโภคอาหารหวานและจะเพิ่มความหวานมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆไปจนโต การห้ามจะเป็นไปได้ยาก เพราะโดยธรรมชาติเด็กยิ่งชอบของหวานอยู่แล้ว พ่อแม่หรือผู้เลี้ยงเด็กจึงมีส่วนสำคัญที่สุด ในการปลูกฝังพฤติกรรมดังกล่าว และจะมีผลไปจนถึงบริโภคนิสัยในอนาคต การควบคุมอาหารหวานของเด็กนับเป็นเรื่องที่น่าหนักใจสำหรับผู้ปกครอง ยิ่งเด็กที่เลี้ยงดูโดยปู่ย่าตายาย เด็กที่ไม่ได้เลี้ยงนมแม่ ยิ่งมีโอกาสได้กินน้ำตาลมากขึ้น
และจากการสำรวจเกี่ยวกับเรื่องโภชนาการการรับประทานอาหารที่ส่งผลดีต่อสุขภาพสุขภาพช่องปาก ของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านวังเจริญราษฎร์พบว่าประมาณร้อยละ19 ของผู้เรียนที่มีด้านโภชนาการเด็กน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ ผอม เริ่มอ้วน อ้วน เตี้ย และปัญหาเกี่ยวกับฟันผุ ประมาณร้อยละ50 ของผู้เรียน ทำให้เกิดปัญหาหรือส่งผลกระทบในหลายด้าน ไม่ว่าจะทำให้ปวดฟัน พูดไม่ชัด เกิดความไม่มั่นใจในการพูด การยิ้ม รวมไปถึงการบดเคี้ยวอาหารไม่สะดวก หรือไม่สามารถรับประทานอาหารหรือผลไม้ที่มีเนื้อแข็ง เช่น แอปเปิ้ล ฝรั่ง แตงกวา ถั่วฝักยาว เป็นต้น
ดังนั้น ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านวังเจริญราษฎร์ จึงมีแนวคิดเรื่องโครงการ “บริโภคปลอดภัย ฟันสวยสดใส ใส่ใจสุขภาพ” ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านวังเจริญราษฎร์ เพื่อส่งเสริมความรู้ในเรื่องโภชนาการการรับประทานอาหารที่ส่งผลดีต่อสุขภาพและการดูแลสุขภาพปากและฟัน การสอนให้เด็กดูแลสุขภาพปากและฟันอย่างถูกต้องตั้งแต่เด็กเป็นการลงทุนในสุขภาพที่สามารถปันผลให้ได้ตลอดชีวิต ครูและผู้ปกครองสามารถสร้างแบบอย่างที่ดีให้กับเด็ก โดยร่วมมือกับสาธารณสุขอำเภอทุ่งหว้า รพ.สต.บ้านวังตง องค์การบริหารส่วนตำบลนาทอน และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านวังเจริญราษฎร์ในการส่งเสริมสุขภาพต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการส่งเสริมสุขภาพภาวะโภชนาการเด็กและพัฒนาการเด็กปฐมวัย

ผู้ปกครองเด็ก ได้รับความรู้เกี่ยวกับการดูแลและส่งเสริมสุขภาพอนามัยของเด็กปฐมวัยทุกคน

2 เพื่อให้ครูผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครอง ได้ความรู้และฝึกทักษะในการดูแลสุขภาพและ พัฒนาการของเด็ก

-ครูผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครอง ได้ความรู้และส่งเสริมการดูแลสุขภาพและ การส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก ร้อยละ๘๐

3 เพื่อส่งเสริมให้เด็กรู้จักการแปรงฟันที่ถูกวิธีและตระหนักถึงความสำคัญของการแปรงฟันและรักษาสุขภาพช่องปากของตนเองสามารถนำมาความรู้ใช้ในชีวิตประจำวันได้

เด็กรู้จักการแปรงฟันที่ถูกวิธีและตระหนักถึงความสำคัญของการแปรงฟัน ร้อยละ๘๐

4 .เพื่อให้ผู้ปกครองและเด็กตระหนักถึงอันตรายจากขนมกรุบกรอบ ของหวานและดูแลเอาใจใส่สุขภาพร่างกายและสุขภาพช่องปากและฟันของเด็ก

ผู้ปกครองและเด็กตระหนักถึงอันตรายจากขนมกรุบกรอบและของหวานและดูแลเอาใจใส่สุขภาพร่างกายและสุขภาพช่องปากและฟันของเด็ก ร้อยละ๘๐

5 .เพื่อให้เกิดระบบเฝ้าระวังภาวะฟันผุในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอย่างต่อเนื่อง

มีระบบเฝ้าระวังภาวะฟันผุในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอย่างต่อเนื่อง

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑.ประชุมชี้แจงครูผู้ดูแลเด็กและคณะกรรมการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเพื่อร่วมกันวางแผนการดำเนินงาน
2.ประชุมชี้แจงโครงการ““บริโภคปลอดภัย ฟันสวยสดใส ใส่ใจสุขภาพ” กับผู้ปกครองของกลุ่มเป้าหมาย 3. เจ้าหน้าที่รพ.สต.บ้านวังตงให้ความรู้แก่เด็กในการดูแลสุขภาพช่องปากและตรวจสภาวะช่องปากเด็ก 4. เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยวิทยากรให้ข้อมูลความรู้แก่ผู้ปกครอง เด็ก และผู้ดูแลเด็ก อบรมการดูแลสุขภาพของเด็กและการส่งเสริมพัฒนาการเด็กเล็ก 5. กิจกรรม“น้ำหนัก-ส่วนสูง สมส่วน” 6.กิจกรรม “ลด-เลิก ขนมกรุบกรอบ”
7. เจ้าหน้าที่ทันตกรรมจากโรงพยาบาลทุ่งหว้ามาให้ความรู้แก่ผู้ปกครองและเด็กเรื่องการดูแลสุขภาพปากและฟันและการรับประทานอาหารดีมีประโยชน์สำหรับเด็ก 8. กิจกรรม “กินเสร็จแปรง ฟันแข็งแรงทุกคน” 9. กิจกรรม “ดื่มนมจืดทุกวัน ฟ.ฟันแข็งแรง” 10. กิจกรรม “บ๊ายบ่าย ขวดนม” 11. กิจกรรมจัดทำตัวอย่างอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการต่อเด็กอนุบาล ๓-5 ขวบ 12. เวทีรายงานผลการจัดกิจกรรม“บริโภคปลอดภัย ฟันสวยสดใส ใส่ใจสุขภาพ” เมื่อสิ้นสุดโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาการเด็กปฐมวัย 2. ผู้ปกครองและครูได้ความรู้และฝึกทักษะในการดูแลเด็กเกี่ยวกับสุขภาพและพัฒนาการของเด็ก 3.เด็กรู้จักการแปรงฟันที่ถูกวิธีและตระหนักถึงความสำคัญของการแปรงฟันและรักษาสุขภาพช่องปากของตนเองสามารถนำมาความรู้ใช้ในชีวิตประจำวันได้
4. ผู้ปกครองตระหนักถึงอันตรายจากขนมกรุบกรอบและของหวานและดูแลเอาใจใส่สุขภาพในช่องปากและฟันของเด็ก 5. เกิดระบบเฝ้าระวังภาวะฟันผุในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอย่างต่อเนื่อง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 มี.ค. 2560 09:55 น.