กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย(โรงเรียนพ่อ แม่) ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กดารุลญันนะห์

กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้ 4 ฐาน 1)ฐานโรคติดต่อ 2)ฐานโภชนาการ 3)ฐานพัฒนาการ 4)ฐานสุขภาพทางช่องปาก25 กรกฎาคม 2562
25
กรกฎาคม 2562รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนเทศบาลตำบลฉลุง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้ 4 ฐาน 1)ฐานโรคติดต่อ 2)ฐานโภชนาการ 3)ฐานพัฒนาการ 4)ฐานสุขภาพทางช่องปาก

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้ปกครองนักเรียนเข้าร่วมโครงการทั้งหมด จำนวน 70 คน คิดเป็นร้อยละ 100 1.1 วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 ผู้ปกครองของเด็กปฐมวัยมีความรู้ความเข้าใจในด้านการดูแลสุขภาพของเด็กในช่วงปฐมวัยในเรื่องพัฒนาการเด็ก โภชนาการโรคติดต่อ และสุขภาพทางช่องปาก มีจำนวนคำถามทั้งหมด 10 ข้อโดยใช้เกณฑ์แปลผลดังนี้ 1.ระดับคะแนน    9-10  แปลผลว่า        มากที่สุด 2.ระดับคะแนน    7-8  แปลผลว่า          มาก       3.ระดับคะแนน    5-6  แปลผลว่า          ปานกลาง       4.ระดับคะแนน    3-4  แปลผลว่า          น้อย       5.ระดับคะแนน    1-2  แปลผลว่า          น้อยที่สุด ตารางการประเมินความรู้ก่อน - หลังการอบรม การแปรผล ทดสอบความรู้ การแปรผล ก่อนการอบรม คิดเป็นร้อยละ หลังการอบรม คิดเป็นร้อยละ มากที่สุด 0 0 48 68.57 มาก 8 11.42 15 21.42 ปานกลาง 29 41.42 7 10 น้อย 30 42.85 0 0 น้อยที่สุด 3 4.28 0 0       รวม 70 100 70 100

จากตารางการประเมินความรู้ก่อน –หลังการอบรม พบว่า ก่อนการอบรม ผู้ปกครองนักเรียนมีความรู้อยู่ในระดับมาก 8 คน คิดเป็นร้อยละ 11.42 ระดับปานกลางจำนวน 29 คน คิดเป็นร้อยละ41.42 ระดับน้อยจำนวน 30 คน คิดเป็นร้อยละ 42.85  และระดับน้อยที่สุดจำนวน 3 คน    คิดเป็นร้อยละ 4.28 หลังการอบรม ผู้ปกครองนักเรียนมีความรู้อยู่ในระดับมากที่สุดจำนวน 48 คน คิดเป็นร้อยละ 68.57 อยู่ในระดับมาก 15 คน คิดเป็นร้อยละ 21.42 ระดับปานกลางจำนวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 10
ตารางเปรียบเทียบคะแนนก่อน -หลังการอบรม ก่อนการอบรม หลังการอบรม คะแนนที่ได้ จำนวนคน คิดเป็นร้อยละ คะแนนที่ได้ จำนวนคน คิดเป็นร้อยละ 8 5 7.14 10 22 31.42 7 3 4.28 9 26 37.14 6 15 21.42 8 11 15.71 5 14 20.00 7 4 5.71 4 17 24.28 6 6 8.57 3 13 18.57 5 1 1.42 2 2 2.85 4 0 0 1 1 1.42 3 0 0

                  จากตารางเปรียบเทียบคะแนนก่อน –หลังอบรม พบว่า ก่อนการอบรม ผู้ปกครองนักเรียนได้คะแนนสูงสุดที่ 8 คะแนน จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 7.14 รองลงมา 7 คะแนน จำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ4.28 คะแนนน้อยที่สุด 1 จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 1.42 และความถี่ที่ได้มากที่สุดคือ 4 คะแนน จำนวน 17 คน คิดเป็นร้อยละ 24.28 หลังการอบรม ผู้ปกครองนักเรียนได้คะแนนสูงสุดที่ 10 คะแนน จำนวน 22 คน คิดเป็นร้อยละ 31.25 รองลงมา 9 คะแนน จำนวน 26 คน คิดเป็นร้อยละ 37.14คะแนนน้อยที่สุด 5 จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 1.42 และความถี่ที่ได้มากที่สุดคือ 9 คะแนน จำนวน 26 คน คิดเป็นร้อยละ 37.14                   นอกจาการประเมินก่อน –หลังการอบรมแล้วผู้ปกครองนักเรียนได้แบ่งกลุ่มลงมือปฏิบัติ    ในเรื่องสุขภาพทางช่องปาก พัฒนาการเด็ก โภชนาการและโรคติดต่อ เช่น การแปรงฟันให้ถูกวิธี          การย้อมสีฟัน  การประเมินพัฒนาการเด็กตามแบบประเมินคู่มือเฝ้าระวัง การสาธิตเมนูอาหารบำรุงสมองเด็กปฐมวัย และการสังเกตอาการเบื้องต้นของโรคติดต่อ การสาธิตการล้างมือเจ็ดขั้นตอนที่ถูกวิธี และการลงพื้นที่กำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายครบถ้วนทุกคน คิดเป็นร้อยละ 100                 จึงสรุปได้ว่าผู้ปกครองนักเรียนมีความรู้เรื่องสุขภาพทางช่องปาก พัฒนาการเด็ก โภชนาการและโรคติดต่อ คิดเป็นร้อยละ 100 บรรลุวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 1.2 วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยมีความรู้ในการเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการ
เด็กปฐมวัยการวัดและประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญมากทั้งนี้เนื่องจากผู้ปกครองจะได้รู้ล่วงหน้าหากเด็กมีปัญหาด้านพัฒนาการและผู้ปกครองจะได้เตรียมการให้ความช่วยเหลือหรือสนับสนุนเด็กปฐมวัยให้มีพัฒนาการตามวัยหากผู้ปกครองปล่อยไว้ไม่สนใจการวัดการประเมินพัฒนาการเด็กก็อารทำให้เด็กมีปัญหาด้านพัฒนาการและผู้ปกครองอาจไม่สามารถแก้ไขได้อย่างทันท่วงที การวัดพัฒนาการเด็กนั้นต้องรวมเอาทุกๆกิจกรรมที่จะสามารถแสดงให้เห็นถึงพัฒนาการของเด็กในทุกๆด้าน ซึ่งผู้ปกครองสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการของบุตรหลานตนเองที่บ้านได้อย่างถูกต้อง 1.3 .วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยมีความรู้ในการคัดเลือกอาหารและเตรียมอาหาร ให้กับเด็กถูกต้องตามหลักโภชนาการในการกระตุ้นพัฒนาการเด็กปฐมวัย การได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนและเพียงพอต่อความต้องการจะช่วยให้ร่ายกายเด็กเจริญเติบโต เต็มศักยภาพผู้ปกครองจึงควรให้ความสำคัญกับการเลือกโภชนาการที่เหมาะสมให้กับลูกในวัย ระหว่าง 1-6 ปี หรือวัยก่อนเรียนจึงควรได้รับอาหารมื้อหลัก 3 มื้อ ที่มีคุณค่าครบ 5 หมู่ และหลากหลายอาหารว่างไม่เกินวันละ 2 มื้อ และให้เด็กดื่มนมวันล่ะ 2-3 แก้ว             โภชนาการที่เหมาะสม นับเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยเสริมพัฒนาการของลูกน้อย เพราะในช่วงขวบปีแรก เด็กจะมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ทั้งทางร่างกายและสมอง โดยเฉพาะการเจริญเติบโตของสมอง ยังเป็นไปอย่างรวดเร็ว จนถึงอายุ 2 ขวบ อาหารสำหรับเด็กวัยก่อนวัยเรียน จึงเป็นการวางรากฐานชีวิตที่ดีสำหรับเด็ก ทั้งในขณะที่อยู่ในวัยนี้ และระยะต่อไป การขาดอาหารในระยะนี้ จะส่งผลให้เด็กมีสติปัญญาการเรียนรู้ด้อยลง การเจริญเติบโตชะงัก ทำให้ร่างกายแคระแกรน ไม่แข็งแรง เจ็บป่วย และติดเชื้อง่าย มีอัตราการเสียชีวิตสูง พ่อแม่จึงควรให้ความสำคัญกับการเลือกอาหารอย่างถูกต้อง และเพียงพอกับความต้องการตามวัยด้วย         1.4. วัตถุประสงค์ข้อที่ 4 ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยรู้จักสังเกตอาการเบื้องต้นของโรคติดต่อชนิดต่างๆและสามารถป้องกันการเกิดโรค สำหรับพัฒนาการที่ดีในเด็กปฐมวัย             การป้องกันโรคที่ได้ผลดีและคุ้มค่าที่สุด คือการป้องกันในระยะก่อนได้รับเชื้อ ได่แก่การส่งเสริมสุขภาพ การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค โดยเด็กต้องได้รับวัคซีนป้องกันโรคครบตามเกณฑ์ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด ได้รับอาหารที่หลากหลายครบ 5 หมู่ ในสัดส่วนที่เหมาะสม ทั้ง 3 มื้อ ดื่มน้ำสะอาดได้รับการดูแลเรื่องสุขอนามัยส่วนบุคคล เน้นความสะอาดของที่อยู่อาศัย เครื่องใช้ส่วนตัว สิ่งแวดล้อมที่ถูกสุขลักษณะ สะอาดไม่แออัด อากาศถ่ายเทสะดวก การป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ดีคือ อย่าให้ยุงกัด และอย่าให้ยุงเกิด ด้วยการจำกัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายให้หมดสิ้น       1.5.วัตถุประสงค์ข้อที่ 5 ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยมีความรู้ในเรื่องการดูแลสุขภาพทางช่องปากการแปรงฟันที่ถูกวิธี             ผู้ปกครองควรดูแลฟันน้ำนมของลูกน้อยเป็นอย่างดี ถึงแม้ว่าอีกหน่อยฟันน้ำนมก็จะหลุดไปเอง แต่กว่าจะถึงเวลานั้น ฟันน้ำนมจะมีบทบาทสำคัญในการช่วยให้เด็กสามารถเคี้ยว กัด และพูดชัด นอกจากนี้ ฟันน้ำนมยังสร้างพื้นที่เตรียมไว้สำหรับฟันแท้ และช่วยให้ฟันแท้งอกขึ้นมาในตำแหน่งที่เหมาะสมด้วยเมื่อลูกอายุครบ 6 ขวบ ฟันน้ำนมจะเริ่มหลุด ดังนั้น ควรปล่อยให้ลูกโยกฟันจนกระทั่งฟันหลุดออกมาเอง ซึ่งวิธีนี้จะช่วยลดความเจ็บปวดและเลือดออกจากฟันหักได้ฟันฟุเกิดจากการปล่อยให้อาหารที่มีน้ำตาลตกค้างอยู่ในช่องปากเป็นเวลานาน แบคทีเรียที่อาศัยอยู่บนฟันของคุณจะกินเศษอาหารเหล่านี้ และปล่อยกรดออกมาทำลายเคลือบฟัน ระหว่างมื้ออาหารหรือของว่าง น้ำลายจะชะล้างกรดเหล่านี้ออกไป แต่หากลูกของคุณรับประทานอาหารอยู่ตลอดเวลา เวลาในการชะล้างกรดเหล่านี้อาจจะไม่พอคุณสามารถแปรงฟันให้ลูกได้เมื่ออายุครบ 2 ขวบ แต่ควรบีบยาสีฟันปริมาณน้อย (เท่าเมล็ดถั่วเขียว) เท่านั้น                              เด็กเล็กมักจะชอบกลืนยาสีฟันตอนแปรงฟันและไม่ยอมบ้วนออกมา ดังนั้นจึงควรให้ลูกแปรงฟันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์เมื่อลูกโตพอแล้วเท่านั้นและควรมีผู้ใหญ่ดูแลขณะแปรงฟัน
            อาหารที่ถูกสัดส่วนมีความสำคัญต่อความแข็งแรงและความสามารถในการต่อต้านฟันผุของเด็ก นอกจากการรับประทานวิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็นแล้ว ควรให้แน่ใจว่าเด็กได้รับปริมาณแคลเซี่ยมและ ฟอสฟอรัสท รวมถึงปริมาณฟลูออไรด์ในระดับที่เหมาะสม ถ้าฟลูออไรด์คือสิ่งที่ดีที่สุดในการป้องกันฟันผุของเด็ก การรับประทานอาหารว่างบ่อยๆ ก็ถือเป็นศัตรูที่สำคัญที่สุดเช่นกัน โดยอาหารประเภทแป้งและน้ำตาลที่พบในอาหารว่างหลายๆ ชนิด เช่น คุกกี้ ลูกอม ผลไม้แห้ง น้ำอัดลม และมันฝรั่งทอดกรอบ เศษของอาหารเหล่านี้เมื่อรวมตัวกับคราบแบคทีเรียในช่องปากก็จะทำให้เกิดกรดซึ่งจะทำลายผิวเคลือบฟันและนำไปสู่ฟันผุได้ การจู่โจมของคราบแบคทีเรียสามารถอยู่ได้นานถึง 20 นาทีหลังจากมื้ออาหาร และแม้ว่าจะเป็นเพียงแค่คำเล็กๆ ก็สามารถทำให้เกิดกรดแบคทีเรียได้เช่นกัน ดังนั้น การจำกัดหรือลดจำนวนครั้งของอาหารว่างจึงเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ดีที่สุดในการป้องการปัญหาฟันผุ