กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาการดูแลดูแลผู้ป่วยจิตรเวชโดยผู้ดูแลและภาคีเครือข่ายในชุมชน
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโต๊ะเด็ง
วันที่อนุมัติ 1 ธันวาคม 2559
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 4 สิงหาคม 2560 - 4 สิงหาคม 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 28,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ รพ.สต.โต๊ะเด็
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโต๊ะเด็ง อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.116,101.849place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานคนพิการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 0.00
รวมงบประมาณ 0.00

คำเตือน : รวมงบประมาณของทุกงวด (0.00 บาท) ไม่เท่ากับ งบประมาณโครงการ (28,800.00 บาท)

stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันจำนวนผู้ป่วยทางจิตมีแนวโน้มเพิ่มจำนวนมากขึ้นกรมสุขภาพจิตกระทรวงสาธารณสุขรายงานว่าในปี 2557 มีจำนวนผู้ป่วยทางจิตที่มารับบริการโรงพยาบาลสังกัดกรมสุขภาพจิตทั่วประเทศ จำนวน 1,152,033 คน สภาพเช่นนี้เนื่องจากปัญหาด้านสังคม เศรษฐกิจ ของประชาชน มีความยุ่งยาก และซับซ้อนมากขึ้น ทำให้มีผลต่อการปรับตัวของประชาชน และที่สำคัญยังส่งผลให้ผู้ป่วยทางจิตซึ่งมีปัญหาการปรับตัวอยู่แล้วขาดปัจจัยการดูแลช่วยเหลือให้สามารถรักษาภาวะสุขภาพ และอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างมีคุณภาพ แม้ในกระบวนการบำบัดรักษาผู้ป่วยทางจิตในโรงพยาบาลมีเป้าหมายให้ผู้ป่วยสามารถ ดำรงชีวิตร่วมกับครอบครัวและชุมชนได้มากขึ้น โดยได้เพิ่มประสิทธิภาพในการบำบัดรักษาทั้งด้านการให้ยาและการบำบัดด้านจิตสังคม แต่ผลสำเร็จจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยทางจิต หากได้รับการดูแลต่อเนื่องและได้ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันเช่นคนทั่วไปจากสมาชิกในชุมชน ภายหลังการบำบัดรักษาหรือผู้ป่วยกลับสู่ชุมชนแล้วยังมีอุปสรรคเนื่องจากภายหลังการจำหน่ายจากโรงพยาบาล ผู้ป่วยกลุ่มนี้ส่วนใหญ่ยังขาดโอกาสจากชุมชนในการพัฒนาศักยภาพของตนเองให้สามารถมีชีวิตในสังคมเช่นคนทั่วไป ซึ่งอุปสรรคส่วนหนึ่งมีสาเหตุมาจากตัวผู้ป่วยเอง เช่น การขาดความมั่นใจในการดำเนินชีวิตร่วมกับครอบครัวและผู้อื่น นอกจากนี้สังคมแวดล้อมยังขาดความรู้ ความเข้าใจหรือไม่เห็นความสำคัญของผู้ที่เจ็บป่วยทางจิตที่นับวันจะมีจำนวนและมีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น บุคคลในชุมชนรู้สึกกลัว รังเกียจ ไม่เชื่อมั่นในความสามารถของผู้ป่วย มีทัศนคติในทางลบต่อบุคคลที่เจ็บป่วย สภาพเหล่านี้ยิ่งทำให้ผู้ป่วยทางจิตไม่ได้รับการยอมรับจากสังคมและขาดโอกาสในการพัฒนาตนเองในการอยู่ร่วมในสังคมมากยิ่งขึ้นส่งผลให้ผู้ป่วยทางจิตเหล่านี้กลายเป็น ภาระหรือเป็นปัญหาของครอบครัวและสังคมในที่สุด โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโต๊ะเด็งมีผู้ป่วยทางจิตเวชจํานวน 24ราย มีผู้ดูแลใกล้ชิด 30 รายจากการสํารวจข้อมูลเบื้องต้น และศึกษาแฟ้มประวัติครอบครัว พบว่า สาเหตุเกิดจากปัญหาครอบครัว8 ราย คิดเป็นร้อยละ 33.33จากปัญหายาเสพติด จํานวน3 ราย คิดเป็นร้อยละ 12.5และเกิดจากพันธุกรรม จํานวน6ราย คิดเป็นร้อยละ 25.00 และโรคทางจิตเวชอื่นๆ อีก 7 ราย(สมองเสื่อม ลมชัก ) คิดเป็นร้อยละ 29.16 จากการติดตามเยี่ยมบ้านของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขพบปัญหาดังนี้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่1.เพื่อให้ผู้ดูแลมีความรู้และทักษะในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่บ้านได้เหมาะสม

1.ประเมินผลความรู้ พฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย ก่อน – หลังการอบรม

2 ข้อที่2.ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชนของตนเอง

1.ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชนของตนเอง

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ระยะก่อนดำเนินงาน 1. ประชุมคณะทำงานเพื่อชี้แจงโครงการและกำหนดบทบาทความรับผิดชอบ 2. เขียนโครงการเสนอเพื่อขออนุมัติ 3.ประสานชี้แจงการดำเนินโครงการ ระยะดำเนินงาน 1. ปรับปรุงและพัฒนาระบบข้อมูลผู้ป่วยจิตเวชและพัฒนาคลินิกให้คำปรึกษาผู้ป่วยในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโต๊ะเด็ง . จัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเวชและภาคีเครือข่ายในเรื่องการดูแลผู้ป่วยจิตเวชทั้งระบบ 3. ออกติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยจิตเวชร่วมกับอสม.และภาคีเครือข่ายในชุมชน ระยะหลังดำเนินงาน 1.ประเมินผลการดำเนินโครงการ 2.สรุปผลและรายงานผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้ดูแลมีความรู้และทักษะในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่บ้านได้เหมาะสม 2. ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชนของตนเอง 3.ผู้ป่วยจิตเวชในชุมชนได้รับการดูแล ไม่ขาดยา ลดอันตรายจากอาการก้าวร้าว ชุมชนปลอดภัย 4. ผู้ป่วยจิตเวชรายใหม่ได้รับการค้นหา ช่วยเหลือ รักษาอย่างถูกต้อง ไม่เป็นภาระของชุมชน 5. มีระบบข้อมูลผู้ป่วยจิตเวชที่เป็นปัจจุบัน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 มี.ค. 2560 10:52 น.