กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาศักยภาพบริหารจัดการกองทุนตำบลนาทอน
รหัสโครงการ 60-L5294-4-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 4 สนับสนุนการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ สำนักงานเลขาฯกองทุน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สำนักเลขากองทุนฯ
วันที่อนุมัติ 23 ธันวาคม 2559
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 13 มกราคม 2560 -
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 98,760.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายกูดนัย ราเหม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาทอน อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 7.032,99.743place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่นับเป็นนวัตกรรมที่สำคัญในระบบสุขภาพของประเทศไทยในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมดูแลสุขภาพของประชาชนจากหลายภาคส่วนในสังคม โดยมี องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นกลไกสำคัญในการประสานหน่วยงานองค์กรและภาคีเครือข่ายในพื้นที่เข้ามาร่วมค้นหาปัญหาและความต้องการของประชาชน ร่วมวางแผนและส่งเสริมให้เกิดการร่วมกิจกรรมด้านสุขภาพ โดยสามารถติดตามประเมินผลการดำเนินงานให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมกับประชาชน นอกจากมีเจตนารมณ์ในการสร้างการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เข้ามาใีบทบาทในการดูแลสุขภาพของประชาชนในพื้นที่แล้วยังสนับสนุนให้ประชาชนได้แสดงบทบาทในการพึ่งตนเองด้านสุขภาพและส่งเสริมให้บุคลากรด้านสาฤธารณสุขในพื้นที่ได้แสดงบทบาทในการสนับสุนประชาชนในการดูแลสุขภาพตนเอง ทั้งนี้ยังส่งเสริมให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข่องเกิดความตระหนักต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชน สามารถดุแลสุขภาพได้ด้วยตนเองและการสร้างกลไกในสังคมที่จะต้องเข้ามาร่วมกันแก้ปัญหาต่างๆที่มีผลต่อสุขภาพให้ลุล่วง สำหรับองคืกรปกครองส่วนท้องถิ่นในบทบัญญัติของพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พศ. 2545 มาตรา 13(3) มาตรา18 (4) (8) (9) และมาตรา 47 ได้กำหนดให้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติสนับสนุนประสานและกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสขภาพมนระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ได้ตามความพร้อม ความเหมาะสมและความต้องการเพื่อสร้างหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้แก่บุคคลในพื้นที่ โดยให้ได้รับค่าใช้จ่ายจากกองทุนฯรวมถึงสนับสนุนและกำหนดหลักเกณฑ์ให้องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน และภาคเอกชนที่ไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาผลกำไรดำเนินงานและบริหารจัดการเงินทุนในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ได้ตามความพร้อม ความเหมาะสม และความต้องการ โดยส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมเพื่อสร้างหลักประกันสุขภาพสุขภาพแห่งชาติให้แก่บุคคลในพื้นทีี่ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจึงไ้มีการประชุมระดมความคิดเห้นจากหน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและผู้ที่เกี่ยข้องเพื่อยกร่างหลักเกณฑ์การสนับสนุนให้องค์การบริหารส่วนตำบลและเทศบาลดำเนินงานบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลนาทอนได้เข้าร่วมทำบันทึกข้อตกลงกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เมื่อวันที่ 8 มกราคมา 2551 และได้ดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพอบต.นาทอนมาแล้วเป็นเวลา 9 ปี
กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลนาทอน จึงได้จัดทำโครงการพฒนศักยภาพกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลนาทอน ประจำปี 2560 ขึ้น เพื่อเป็นการพัฒนากองทุนฯให้ดำเนินงานไปตามวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งกองทุนฯ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ คณะทำงาน

ร้อยละ 80 คณะกรรมการ คณะอนุกรรมการและคณะทำงาน มีการความรู้เพิ่มขึ้น

2 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการอนุมัติและจัดทำแผนงาน/โครงการหรือกิจกรรมให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ

ร้อยละ80 คณะกรรมการ คณะอนุกรรมการมีประสิทธิภาพในการอนุมัติและจัดทำแผนงาน/โครงการหรือกิจกรรมให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ คณะทำงาน

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการอนุมัติและจัดทำแผนงาน/โครงการหรือกิจกรรมให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ

รวม 0 0.00 0 0.00

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

1 ขั้นตอนวางแผนงาน - ร่วมกันประชุมวางแผน กไหนดร่างวาระในการประชุม จำนวนคณะกรรรมการ คณะอนุกรรมการ ที่เข้าร่วมการพัฒนาศักยภาพ - กำหนดวันดำเนินการจำนวน 1ครั้ง/ปี - จัดเวที/กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 2 ขั้นตอนการดำเนินการ - ติดต่อประสานงานกับคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ เพื่อกำหนดนัดหมาย - จัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์ประกอบการดำเนินงาน - จัดเตรียมค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน - จัดเตรียมสถานที่ในการประชุม และประสานงานสถานที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ 3 ดำเนินการจัดประชุมตามแผนงานและวาระที่กำหนด - จัดอบรมให้ความรู้คณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ คณะทำงาน จำนวน 44 คน - ศึกษาดงานเพื่อพัฒนาศักยภาพ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 คณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ คณะทำงาน มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานและบริหารจดการกองทุนฯ 2 โครงการหรือกิจกรรมที่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 มี.ค. 2560 11:55 น.