กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาและส่งเสริมสุขภาพเด็กอายุ 0-5 ปี
รหัสโครงการ 62-2986-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลตะโละแมะนา
วันที่อนุมัติ 11 มีนาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2562 - 31 มีนาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 11 เมษายน 2562
งบประมาณ 29,100.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายรุซฟัยซาล อุเมะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตะโละแมะนา อำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.604,101.401place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนหญิงฝากครรภ์ที่สามารถฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง(คน)
10.00
2 จำนวนหญิงคลอดได้รับการตรวจและเยี่ยมหลังคลอด(คน)
13.00
3 จำนวนหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการคัดกรองและป้องกันโรคทาลัสซีเมีย (คน)
26.00
4 จำนวนแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ระยะเวลา 6 เดือน(คน)
13.00
5 จำนวนหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีภาวะซีด(คน)
6.00
6 จำนวนหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม(คน)
635.00
7 จำนวนหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีภาวะตั้งครรภ์วัยรุ่น(อายุน้อยกว่า 20 ปี) (คน)
2.00
8 จำนวนหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์(คน)
22.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เด็กเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า และเป็นอนาคตที่สำคัญของชาติ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จะต้องเริ่มต้นจากเด็ก โดยเฉพาะในช่วงแรกเกิด - 5 ปี วึ่งเป็นช่วงที่เริ่มมีการพัฒนาในด้านต่างๆอย่างรวดเร็ว เด็กในวัยนี้ถ้าได้รับการเลี้ยงดูที่เหมาะสม และมีการส่งเสริมพัฒนาการที่ดีในแต่ละด้าน จะทำให้เด็กเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต พัฒนาการเด็กเกิดจากการเปลี่ยนแปลงหลายด้านผสมผสานกัน โดยพัฒนาการทุกด้านไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจและสังคม ล้วนมีความสำคัญและเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันหมด การเปลี่ยนแปลงของพัฒนาการด้านหนึ่งย่อมมีผลให้ให้พัฒนาการอีกด้านหนึ่งเปลี่ยนแปลงไปด้วย การกินอาหารถูกต้องเหมาะสมและพอเพียงจะทำให้มีโภชนาการดี และนำไปสู่การมีสุขภาพดีใ ในทางตรงกันข้ามหากกินอาหารที่ไม่มีประโยชน์ไม่เพียงพอจะทำให้ขาดสารอาหาร หรือถ้ากินอาหารมากเกินไป ก็จะทำให้เป็นโรคอ้วนหรือโภชนาการเกิน "โภชนาการ" จึงเป็นเรื่องขิงการกิน "อาหาร" ที่ร่างกายเรานำ "สารอาหาร" จากอาหารไปใช้ประโยชน์และดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างเป็นสุข อาหารและโภชนาการเป็นพื้นฐานสำคัญยิ่งต่อสุขภาพ โดยเฉพาะในเด็กวัยก่อนเรียนเป็นวัยที่อยู่ในระยะสำคัญของชีวิต เป็นวัยรากฐานของพัฒนาการ การเจริญเติบโต จึงเป็นวัยที่มีความสำคัญเหมาะสมที่สุดในการวางพื้นฐานเพื่อยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยเฉพาะในระยะ 3 ปี แรกของชีวิต เป็นระยะที่ร่างกายและสมองมีการเจริยเติบโตอย่างรวดเร็วจำเป็นต้องได้รับการเลี้ยงดูที่ดีที่สุดเพื่อส่งเสริมพัฒนาการรอบด้าน อาหารและภาวะโภชนาการที่ดีเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาของเด็กวัยก่อนวัยเรียน การจะรับประทานได้ดีเด็กต้องไม่มีปัญหาเรื่องฟัน ดังนั้นจึงต้องส่งเสริมและดูแลฟันควบคู่ไปด้วย ส่วนการที่จะให้เด็กมีสุขภาพดีต้องปราศจากดรคภัยไข้เจ็บจึงต้องเน้นการป้องกันโดยการส่งเสริมให้เด็กได้รับวัคซีนให้ครบตามเกณฑ์ด้วย จังหวัดปัตตานีมีนโยบายเด็กปัตตานีมีสุขภาพดี โดยให้มีความพร้อมทั้ง 4 ด้าน คือ มีพัฒนาการสมวัย โภชนาการสมส่วน ฟันไม่ผุ และการได้รับวัคซีนครบตามเกณฎ์ สาธารณสุขอำเภอทุ่งยางแดงมีการดำเนินงานเพื่อตอบสนองนโยบายจังหวัดและกระทรวงสาธารณสุขเช่นกัน ตำบลตะโละแมะนา อำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี จึงได้มีการทบทวน วิเคราะห์ข้อมูลเด็ก 0 - 5 ปี ในปี 2561 พบว่า เด็กมีพัฒนาการสมวัย จำนวน 207 ราย คิดเป็นร้อยละ 88.84 เด็กสงสัยพัฒนาล่าช้า จำนวน 24 ราย คิดเป็นร้อยละ 10.30 เด็กมีพัฒนาการล่าช้า จำนวน 2 รายคิดเป็นร้อยละ 0.86 เด็โภชนาการดีสมส่วน จำนวน 130 ราย คิดเป็นร้อยละ 39.88 เด็กเตี้ย จำนวน 253 ราย คิดเป็นร้อยละ 17.53 เด็กได้รับการตรวจฟันและทาฟลูออไรด์วานิช จำนวน 203 ราย คิดเป้นร้อยละ 86.75 เด็กได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ จำนวน 41 ราย คิดเป็นร้อยละ 57.75 จะเห็นว่าเด็กในตำบลคะดละแมะนา มีปัญหาทั้งด้านพัฒนาการ โภชนาการและวัคซีน ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมากที่จะต้องรีบแก้ไข สำหรับในปีนี้ นอกจากเน้นการติดตามเด็กให้มารับวัคซีนให้ครบตามเกณฑ์แล้ว ทางศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลตะโละแมะนาจะบูรณาการเรื่องของพัฒนาการและโภชนาการไปพร้อมๆกัน     ศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลตะโละแมะนาจึงได้รับกลยุทธ์ โดยการมุ่งเน้นปรับเปลี่ยนทัศนคติของผู้ปกครองให้นำบุตรมารับบริการที่คลินิกเด็กดี และทำงานเชิงรุกในชุมชนให้มากขึ้น มีการรณรงค์ให้ผู้ปกครองเห็นความสำคัญของเด็กให้มีความพร้อมทั้ง 4 ด้าน โดยการเพิ่มแรงจูงใจแก่ผู้ปกครองและใช้พลังขับเคลื่อนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และเสริมแรงจูงใจ ด้วยการจัดทำแต้มสะสมคะแนนมาแลกของรางวัล โดยหวังว่าจะทำให้เด้กตะโละมีความสมบูรณ์ครบถ้วนทุกด้าน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง

จำนวนหญิงฝากครรภ์ที่สามารถฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง(คน)

10.00 20.00
2 เพื่อส่งเสริมหญิงตั้งครรภ์อย่างมีคุณภาพ ลดการผิดปกติจากการตั้งครรภ์

จำนวนหญิงคลอดได้รับการตรวจและเยี่ยมหลังคลอด(คน)

13.00 20.00
3 เพื่อป้องกันโรคทาลัสซีเมีย

จำนวนหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการคัดกรองและป้องกันโรคทาลัสซีเมีย (คน)

26.00 35.00
4 เพื่อส่งเสริมแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ระยะเวลา 6 เดือน

จำนวนแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ระยะเวลา 6 เดือน(คน)

13.00 20.00
5 เพื่อลดภาวะซีดในหญิงวัยเจริญพันธุ์

จำนวนหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีภาวะซีด(คน)

6.00 4.00
6 เพื่อส่งเสริมและเตรียมความพร้อมหญิงวัยเจริญพันธุ์

จำนวนหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม(คน)

635.00 500.00
7 เพื่อแก้ปัญหาหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีภาวะตั้งครรภ์วัยรุ่น

จำนวนหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีภาวะตั้งครรภ์วัยรุ่น(อายุน้อยกว่า 20 ปี) (คน)

2.00 0.00
8 เพื่อเพิ่มจำนวนหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์

จำนวนหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์(คน)

22.00 30.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 30.00 0 0.00
8 มี.ค. 62 1. นำเสนอข้อมูลด้านพัฒนาการ โภชนาการ และด้านทันตกรรม ของเด็ก 0-5 ปี 2. ให้ความรู้เรื่องพัฒนาการ โภชนาการ การดูแลสุขภาพในช่องปากและวัคซีน 0 30.00 -

1.จัดทำทะเบียนเด็ก 0-5 ปี 2.ปรับปรุงระบบการดุแลส่งเสริมสุขภาพเด็กด้านพัมนาการ ภาวะโภชนาการ ทันตกรรม วัคซีนร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
3.เพิ่มพุนทักษะของเจ้าหน้าที่และ อสม. ในการตรวจ,ประเมินกระตุ้นพัฒนาการในเด็กโดยการอบรม 4.จัดสถานที่/สิ่งแวดล้อม/จัดหาของเล่น อุปกรณ์ส่งเสริมพัฒนาการเพื่อตรวจประเมินและกระตุ้นส่งเสริมพัฒนาการ 5.จัดให้มีกิจกรรมการให้ความรู้ในรูปแบบของดรงเรียนพ่อแม่ (Focus Group) 6.ร่วมกับเครือข่ายดูแลสุขภาพ (อสม.) เพื่อดำเนินงานในการติดตามเด้กที่มีปัญหา ภาวะทุพโภชนาการ ปัญหาพัฒนาการ 7.ร่วมกับเครือข่ายในการติดตามเด็กให้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ 8.จัดกิจกรรมตรวจสุขภาพเด็กและประกวดหนูน้อยสุขภาพดี 9.ประเมินผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เด็ก 0-5 ปี มีสุขภาพดี
2. ไม่เกิดโรคระบาดที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 มี.ค. 2562 10:32 น.