กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพห่างไกลโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง(NCDs)
รหัสโครงการ 62-L2479-2-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านไอสะเตีย
วันที่อนุมัติ 20 ธันวาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 16,470.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวพัฒมีซัม ตาเย๊ะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบูกิต อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง
60.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคความดันโลหิตสูงเป็น 1 ในสาเหตุสำคัญที่ทำให้ประชากรทั่วโลกตายก่อนวัยอันควรและเป็นปัญหาที่กำลังมีความรุนแรงมากขึ้นทั้งในประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศเศรษฐกิจใหม่ซึ่งภาวะความดันโลหิตสูงจะไม่มีสัญญาณเตือนหรืออาการแสดงให้เห็นจึงมักถูกเรียกว่าเป็น “ฆาตกรเงียบ”(Silent killer)ผู้ป่วยจำนวนมากเป็นโรคนี้โดยไม่รู้ตัวมาก่อนว่ามีภาวะความดันโลหิตสูงซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาจะทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดสมองตามมา
สถานการณ์ความดันโลหิตสูงในประเทศไทยจากข้อมูลสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขพบว่าอัตราการป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงต่อประชากร100,000 คนในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ.2556-2560)เพิ่มขึ้นจาก 12,342.14 เป็น 14,926.47 และจากข้อมูลศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขพบว่าอัตราการป่วยรายใหม่ด้วยโรคความดันโลหิตสูงต่อประชากร100,000 คนในรอบ 3 ปีที่ผ่านมา(พ.ศ. 2558- 2560 )เพิ่มขึ้นจาก916.89 เป็น1,353.01 สำหรับสถานการณ์ความดันโลหิตสูงในอำเภอเจาะไอร้องจากข้อมูลศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขพบว่าอัตราการป่วยรายใหม่ด้วยโรคความดันโลหิตสูงในรอบ 2 ปีที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 4.59 เป็นร้อยละ 4.70 จากสถานการณ์ของโรคความดันโลหิตสูงที่มีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านไอสะเตียจึงได้ให้ความสำคัญในการเพิ่มการคัดกรองค้นหาและยืนยันการวินิจฉัยภาวะความดันโลหิตสูงจึงได้มีการจัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพห่างไกลโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs)เพื่อส่งเสริมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและติดตามวัดความดันโลหิตที่บ้านเพื่อลดผู้ป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่จากกลุ่มที่สงสัยป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงอีกทั้งหากพบว่าป่วยจะได้รับการยืนยันการวินิจฉัยภาวะความดันโลหิตสูงและเข้าสู่ระบบการรักษาต่อไปได้อย่างทันท่วงทีเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดสมองตามมา

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

60.00 100.00
2 เพื่อให้อสม.มีความรู้และมีสมรรถนะในการดำเนินการดูแลและติดตามกลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูงที่บ้าน

ร้อยละ 80 ของอสม.มีสมรรถนะในการดูแลและติดตามกลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูงที่บ้านอยู่ในระดับดี

60.00 100.00
3 เพื่อให้กลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูงมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและตระหนักในการดูแลสุขภาพ

ร้อยละ80 อัตราการเกิดโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ลดลง

60.00 100.00
4 เพื่อให้กลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูงในพื้นที่รับผิดชอบได้รับการวัดความดันโลหิตที่บ้าน

ร้อยละ 80 อัตราการเกิดโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ลดลง

60.00 100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 94 16,470.00 2 16,470.00
25 ก.ค. 62 อบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติในกลุ่มอสม. 34 2,550.00 2,550.00
26 ก.ค. 62 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในกลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูง 60 13,920.00 13,920.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. อสม.ในเขตพื้นที่บริการมีความรู้และมีสมรรถนะสามารถดำเนินการดูแลและติดตามกลุ่มสงสัยป่วย ความดันโลหิตสูงที่บ้าน ๒. ประชากรกลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูงมีความรู้ความเข้าใจและตระหนักในการดูแลสุขภาพ ๓. กลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูงได้รับการวัดความดันที่บ้าน ๔. ลดผู้ป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่จากกลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 พ.ย. 2554 00:00 น.