กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมการใช้สมุนไพรเพื่อสุขภาพ ปีงบประมาณ 2562
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสามัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นไทร
วันที่อนุมัติ 10 เมษายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2562 - 31 กรกฎาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 22,890.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสมศักดิ์ ปุรินทราภิบาล
พี่เลี้ยงโครงการ นางกชกานต์ คงชู
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาโหนด อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 95 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ประชาชนมีปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับระบบกล้ามเนื้อ ระบบไหลเวียนโลหิต
2.00
2 ประชาชนขาดทักษะการนำสมุนไพรในท้องถิ่นที่มามาประยุกต์ใช้เป็นยาสมุนไพรเพื่อสุขภาพ
2.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

พืชสมุนไพร เป็นผลผลิตจากธรรมชาติ ที่มนุษย์รู้จักนำมาใช้เป็นประโยชน์ เพื่อการรักษาโรคภัยไข้เจ็บตั้งแต่โบราณกาลแล้ว แต่หลังจากที่ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ มีการพัฒนาเจริญก้าวหน้ามากขึ้น มีการสังเคราะห์ และผลิตยาจากสารเคมี ในรูปที่ใช้ประโยชน์ได้ง่าย สะดวกสบายในการใช้มากกว่าสมุนไพร ทำให้ความนิยมใช้ยาสมุนไพรลดลงมาเป็นอันมาก เป็นเหตุให้ความรู้วิทยาการด้านสมุนไพรขาดการพัฒนา ไม่เจริญก้าวหน้าเท่าที่ควร ในปัจจุบันทั่วโลกได้ยอมรับแล้วว่าผลที่ได้จากการสกัดสมุนไพร ให้คุณประโยชน์ดีกว่ายา ที่ได้จากการสังเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ประกอบกับในประเทศไทยเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ อันอุดมสมบูรณ์ มีพืชต่าง ๆ ที่ใช้เป็นสมุนไพรได้อย่างมากมายนับหมื่นชนิด ยังขาดก็แต่เพียงการค้นคว้าวิจัยในทางที่เป็นวิทยาศาสตร์มากขึ้นเท่านั้น ความตื่นตัวที่จะพัฒนาความรู้ด้านพืชสมุนไพร จึงเริ่มขึ้นอีกครั้งหนึ่ง มีการเริ่มต้นนโยบายสาธารณสุขขั้นมูลฐานอย่างเป็นทางการของประเทศไทยในปี พ.ศ. 2522 โดยเพิ่มโครงการสาธารณสุขขั้นมูลฐานเข้าในแผนพัฒนาการสาธารณสุข ตามแผนพัฒนา การเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2520-2524) ต่อเนื่องจนถึงแผนพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2535-2539) โดยมี กลวิธีการพัฒนาสมุนไพรและการแพทย์แผนไทยในงานสาธารณสุขมูลฐาน คือ สนับสนุนและพัฒนาวิชาการและเทคโนโลยีพื้นบ้านอันได้แก่ การแพทย์แผนไทย เภสัช กรรมแผนไทย การนวดไทย สมุนไพร และเทคโนโลยีพื้นบ้าน เพื่อใช้ประโยชน์ในการแก้ไขปัญหา สุขภาพของชุมชนสนับสนุนและส่งเสริมการดูแลรักษาสุขภาพของตนเอง โดยใช้ สมุนไพร การแพทย์พื้นบ้าน การนวดไทย ในระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชน ให้เป็นไปอย่างถูกต้องเป็นระบบสามารถปรับประสานการดูแลสุขภาพแผนปัจจุบันได้ อาจกล่าวได้ว่าสมุนไพรสำหรับสาธารณสุขมูลฐานคือสมุนไพรที่ใช้ในการส่งเสริมสุขภาพ และการรักษาโรค/อาการเจ็บป่วยเบื้องต้น เพื่อให้ประชาชนสามารถพึ่งตนเองได้มากขึ้น ซึ่งปัจจุบันจาการสำรวจปัญหาสุขภาพของประชาชนในตำบลนาโหนดพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ที่มีปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับระบบกล้ามเนื้อ ระบบไหลเวียนโลหิต ยังขาดทักษะการนำสมุนไพรในท้องถิ่นที่มีมาประยุกต์ใช้เป็นยาสมุนไพรเพื่อสุขภาพ ทางคณะผู้จัดทำจึงคิดค้นโครงการส่งเสริมการใช้สมุนไพรเพื่อสุขภาพ เพื่อส่งเสริมและกระตุ้นให้ประชาชนในตำบลนาโหนด สามารถนำทักษะความรู้ที่ได้มาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสุขภาพของตนเองและสมาชิกในครอบครัวต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้แกนนำ อสม. มีความรู้ในเรื่องสมุนไพรและนำความรู้ที่ได้ไปเผยแพร่ให้กับคนในชุมชนต่อไป

1.แกนนำอสม.มีความรู้ในเรื่องสมุนไพรเพิ่มมากขึ้น ร้อยละ 80 2.ประชาชนเล็งเห็นความสำคัญของงานแพทย์แผนไทย ซึ่งเป็นอีกศาสตร์หนึ่งในการนำมาใช้ดูแลสุขภาพ

2.00 90.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 22,890.00 0 0.00
??/??/???? จัดกิจกรรมทำลูกประคบสมุนไพร 0 22,890.00 -

อบรมให้ความรู้เรื่องสมุนไพรในสาธารณสุขมูลฐาน -อบรมให้ความรู้การทำลูกประคบสมุนไพรและการใช้น้ำสมุนไพร -แลกเปลี่ยนความรู้ในกลุ่ม อสม .(ซัก-ถาม) -สอนการทำลูกประคบและลงมือปฏิบัติ 4.สรุปผลและติดตามผลการดำเนินงาน 5.ประเมินผลโครงการปีงบประมาณ 2562 เพื่อค้นหาปัญหาและดำเนินการแก้ไขในปีงบประมาณ 2563 ต่อไป

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.แกนนำอสม.มีความรู้ในเรื่องสมุนไพรเพิ่มมากขึ้น ร้อยละ 80 2.ประชาชนเล็งเห็นความสำคัญของงานแพทย์แผนไทย ซึ่งเป็นอีกศาสตร์หนึ่งในการนำมาใช้ดูแลสุขภาพ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 มี.ค. 2562 00:00 น.